เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ "แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้" บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย
ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค "ข้าว" คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง
ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
เรื่องราวของการพบร่องรอยชุมชนโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 2,500 ปี ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี การขุดค้นครั้งนั้นทำให้รู้เส้นทางการเชื่อมต่อของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันแบบชุมชน และช่วงนี้มีการติดต่อกันของผู้คน มีการสัญจรแลกเปลี่ยนสินค้ากันทางน้ำ จึงทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่า อดีตลพบุรีเคยเป็นเมืองชายทะเล หลักฐานที่พบจากการขุดค้นใน 2 แหล่งโบราณคดีคือ "แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้" บริเวณที่ขุดพบ ปัจจุบันคือที่ตั้งของวัดพรหมทินใต้ ที่นี่เราพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่มีพัฒนาการการอยู่อาศัยของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยเหล็กในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี เข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนจะกลับมาเป็นสมัยปัจจุบัน เมื่อราว 100 กว่าปีมานี้ การขุดค้นครั้งนี้พบตราประทับรูปวัว ที่ทำจากดินเผา ซึ่งเป็นวัฒนธรรมอินเดีย แล้ววัฒธรรมต่างถิ่นที่มีอายุนับพัน ๆ ปี นอกจากนี้ยังพบ พระพุทธรูปแกะสลักจากหินสีดำ ประทับยืน พร้อมพระบริวาร บนหลังสัตว์ประหลาดนั้นรูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แต่มีเขา บิดเป็นเกลียว งอเข้าหากันคล้ายเขาโค มีชื่อเรียกว่า "พระพนัสบดี" มีอายุประมาณ 1,300 - 1,200 ปี และอีกหนึ่งแหล่งโบราณคดีที่ขุดพบหลักฐานไม่ห่างกันมากนัก คือ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว" พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับคนในยุคนั้น ทั้งวิถีชีวิตว่าด้วยเรื่องพิธีกรรมสำหรับคนตาย, เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ เช่น ลูกปัดจากแก้ว, จากหิน หรือที่ทำขึ้นจากส่วนหน้าอกของเต่าและเปลือกหอย
ความพิเศษของแหล่งโบราณบ้านพรหมทินใต้ในแง่เศรษฐกิจ นักโบราณคดีมองว่ามีการติดต่อกับต่างประเทศทั้งในภาคของการนำเข้า เช่น เครื่องประดับและของใช้ ส่วนในภาคการส่งออก จะเป็นพวกแร่และพืชทางการเกษตรในทุกชั้นวัฒนธรรม ที่แหล่งโบราณคดีบ้านพรหมทินใต้และที่บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี มักพบโลหะที่ถูกแปรรูปเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ไม่ได้เน้นทำเป็นอาวุธ ส่วนใหญ่ทำเครื่องประดับและเสื้อผ้า จึงบ่งบอกถึงสภาพสังคม ที่รักสวยรักงามและวัฒนธรรมในการแต่งกาย ที่สำคัญในเกือบทุกชั้นดิน หรือชั้นวัฒนธรรม มักพบเมล็ดข้าว, เปลือกข้าว และต้นข้าว ซึ่งหมายความว่า ในการปฏิวัติ หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในแต่ละยุค "ข้าว" คืออาวุธสำคัญในการปฏิวัติสังคมนั่นเอง
ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live