พื้นที่ซ้อนทับของ พระราชวัง กับ ทัณฑสถานสมัย ร.5 สู่การเป็นสวนสาธารณะเชิงประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ที่เริ่มการก่อสร้างเมื่อ 13 พ.ค.67 ผ่านเรื่องราวต่างๆ ศูนย์ข่าวไทยพีบีเอสภาคเหนือ ได้พูดคุยกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ความคาดหวัง และอนาคตของเวียงแก้ว
เชียงใหม่ อดีตศูนย์กลางอาณาจักรล้านนา คำถามว่า “หอคำ” หรือพระราชวังกษัตริย์ตั้งอยู่ที่ไหน? จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และแผนที่นครเชียงใหม่ 2436 รวมถึงการขุดค้นทางโบราณคดี ทำให้ปรากฏหลักฐานความมีอยู่จริง นำมาสู่การออกแบบสวนสาธารณะเชิงประวัติศาสตร์
"หม่อมเป็ดสวรรค์" กลอนเพลงยาวเนื้อหาระบุวิถีชีวิตผู้หญิงในวังเล่าถึงคำโบราณ "เล่นเพื่อน" หรือคู่รักระหว่างเพศหญิงในราชสำนักระหว่าง "หม่อมสุด-หม่อมขำ" ถือเป็นหลักฐานที่เอ่ยถึง LGBTQIA+ ชิ้นแรกในประเทศไทย ล่าสุดถูกดัดแปลงเป็นละครเตรียมออนแอร์ทาง Thai PBS
นักโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ และท้องถิ่น ลงพื้นที่สำรวจ "รูปสลัก" บนเขากระเจียว อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ หลังชาวบ้านเข้าไปหาเห็ด ระบุพบภาพสลักโบราณ ขณะที่หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ยังไม่ชี้ชัด ขอรอข้อมูลก่อน
กระแสแต่งไทยไปเที่ยวคงยิงยาวถึงสงกรานต์และไปได้ตลอดปี ส่วนหนึ่งของความฮิตมาจากการแต่งตามละครย้อนยุค พาดูภาพบรรยากาศงานวังลพบุรีที่ปิดฉากไปแล้วและที่กำลังเปิดให้ชมคือ งานพระราชวังพญาไทย ที่ราชเทวี เหมือนกันตรงที่เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์และชวนคนแต่งชุดไทย
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
บางบัวทองเป็นชุมชนเก่าที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีผู้คนอยู่อาศัยมากนัก จนกระทั่งใน ร. 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการขุดคลอง เพื่อเปิดพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร ให้ราษฎรสามารถลงหุ้นเพื่อแบ่งที่ดินไปเป็นของตน ทำให้มีผู้คนหลากหลายศาสนา เข้ามาจับจอง
หลังจากเมืองสงขลา หรือ ซิงกอรา ที่หัวเขาแดงในสมัยกรุงศรีอยุธยาถูกทําลายลงไปแล้ว ประชาชนที่เคยอาศัยอยู่ในเมืองส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่บริเวณฝั่งแหลมสนซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของหัวเขาแดง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 มีผู้คนเข้ามาอาศัยหนาแน่นขึ้น แต่พื้นที่แหลมสนคับแคบไม่สามารถขยับขยายเมืองได้ และประสบปัญหาขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภค จึงทำให้มีการย้ายเมืองข้ามฟากทะเลสาบสงขลามายังฝั่งตำบลบ่อยาง
ย้อนไปดูเรื่องราวสงขลาในอดีต บ้านเมืองบนปลายแผ่นดินคาบสมุทรสทิงพระที่เรียกว่า “หัวเขาแดง” ในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา พื้นที่ตรงนี้ถือได้ว่าเป็นจุดยุธศาสตร์สำคัญในเส้นทางทางการค้า บนคาบสมุทรมลายู และเป็นชัยภูมิที่ดีเหมาะสมในการทำท่าเรือ เป็นสถานีการค้าขนาดใหญ่ เป็นที่รู้จักจากโลกตะวันตก ในนาม “ซิงกอรา”
พื้นที่รอบลุ่มทะเลสาบสงขลา มีการเริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนที่เป็นหลักแหล่งมาตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล แต่เรื่องราวของการเกิดขึ้นของเมืองโคกเมืองวัดเขียนบางแก้วและเมืองสทิงพระ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 นั้นกลับเลือนลางหายไป ในความเป็นจริงแล้ว...ประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานี้ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่หลายภาคส่วน อาจจะยังไม่เห็นความสำคัญ
“เมืองชลบุรี” คงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลายคนชื่นชอบ ทั้งเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญที่มีความโดดเด่นในหลายด้าน ทั้งยังอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ทว่าคุณรู้จักเมืองแห่งนี้มากแค่ไหน รากจากสู่เราขอพาคุณผู้ชมตามติด “ตังตัง” พิธีกรสาวไปทำความรู้จัก “ชลบุรี” ตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ที่โคกพนมดี ทวารวดี ต่อเนื่องปลายกรุงศรีอยุธยาที่เมืองบางปลาสร้อย บางพระ บางละมุง จนถึง “ชลบุรี” ในปัจจุบัน
ย้อนประวัติศาสตร์ “ปากน้ำประแส” อ.แกลง จ.ระยอง ชุมชนที่มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ผ่านความรุ่งเรืองและร่วงโรย ทั้งในฐานะเมืองท่าสำคัญสู่ยุคแรกเริ่มของการประมงเชิงพาณิชย์ จนกลับมาอีกครั้งในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่มีรากทางประวัติศาสตร์และทรัพยากรทางธรรมชาติที่น่าค้นหา “ประแส” ในปัจจุบันและอนาคตจะก้าวต่อไปอย่างไร ?