หมู่บ้านกลางหุบเขาที่คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนยูนนาน และเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู อาชีพหลักคือ การทำไร่ โดยการทำไร่ของชาวบ้านที่นี่จะปลูกทุกอย่างผสมผสาน ทั้งข้าวไร่, ข้าวโพด, ถั่ว, ฟักทอง, ทานตะวัน ซึ่งพืชสำคัญที่ชาวบ้านจะขาดไม่ได้เลย นั่นก็คือ “อัฟฟู หรือ แตงดอย”
“แตงดอย” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวบ้าน มากกว่าแค่เป็นผักที่ปลูกไว้กินแล้ว ยังเป็นเรื่องความผูกพันกับวิถีแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนกันมาด้วย และแตงดอยก็มีบทบาทในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน การไหว้บรรพบุรุษ เพื่อบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ที่ได้เพาะปลูกเอาไว้ เมื่อหน้าเก็บเกี่ยวจะมีผลผลิตเยอะมาก ชาวบ้านจึงใช้ วิถีดั้งเดิมในการเก็บอาหารแบบตู้เย็นธรรมชาติด้วยการเอาแตงฝังดิน ซึ่งทุกคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะทำเป็น เพราะเรียนรู้กันมาต่อจากพ่อแม่ “ชัชวาล หลียา” ผู้นำทางจิตวิญญาณและเป็นผู้ที่พยายามรักษาขนบดั้งเดิมของหมู่บ้านเอาไว้ บอกว่า จุดที่ฝังแตงจะเลือกใต้ต้นไม้เพื่อสังเกตง่าย และมีพื้นที่ลาดชันเพื่อไม่ให้น้ำขัง โดยรูปแบบการฝังนั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบขุดเป็นหลุมและขุดเป็นโพรง ซึ่งการขุดเป็นโพรงจะดีกว่าเพราะดินไม่โดนแตงโดยตรง จะทำให้เก็บแตงไว้ได้นาน หลังจากขุดหลุมแล้วจะรองด้วยฟางหรือหญ้าคา เพื่อป้องกันความชื้นแล้วค่อยใส่แตง 2 - 3 ลูกต่อหลุม จากนั้นปิดด้วยฟางอีกรอบแล้วปิดปากหลุมด้วยดิน ปักไม้เป็นสัญลักษณ์ไว้ จะมีการฝังทั้งหัวไร่, กลางไร่ และท้ายไร่ เพราะจะสะดวกเมื่อมาทำงานในไร่ หากอยู่ส่วนไหนของไร่ก็เปิดหลุมออกมากินได้ จึงเป็นดั่งคลังอาหาร หรือตู้เย็นธรรมชาตินั่นเอง
ชาวบ้านที่นี่ยังทำ “ข้าวทิพย์” ที่มีส่วนผสมของข้าวสุก, ข้าวโพด, เผือก และมัน ซึ่งดูแล้วก็เหมือนข้าวธัญพืช แต่ที่น่ารักก็คือทุกสิ่งที่เอามาผสมในข้าวทิพย์นั้น ชาวลีซูเป็นผู้เพาะปลูกเองทั้งสิ้น และอีกชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายโมจิ เรียกกันว่า “ข้าวปุ๊ก” วิธีทำต้องค่อย ๆ นวด ค่อย ๆ ตำจนเหนียวนุ่มอร่อย น่ารับประทาน มักทำไว้ให้ลูกหลานติดตัวไว้รับประทานระหว่างเดินทางไกลบ้าน เสมือนว่าข้าวปุ๊กเป็นข้าวที่แทนความรัก ความห่วงใยของคนในครอบครัว
ติดตามชมเรื่องราววิถีโบราณที่สร้างความรัก ความผูกพันในครอบครัวดี ๆ ได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
หมู่บ้านกลางหุบเขาที่คนส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนยูนนาน และเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู อาชีพหลักคือ การทำไร่ โดยการทำไร่ของชาวบ้านที่นี่จะปลูกทุกอย่างผสมผสาน ทั้งข้าวไร่, ข้าวโพด, ถั่ว, ฟักทอง, ทานตะวัน ซึ่งพืชสำคัญที่ชาวบ้านจะขาดไม่ได้เลย นั่นก็คือ “อัฟฟู หรือ แตงดอย”
“แตงดอย” เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวบ้าน มากกว่าแค่เป็นผักที่ปลูกไว้กินแล้ว ยังเป็นเรื่องความผูกพันกับวิถีแบบดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนกันมาด้วย และแตงดอยก็มีบทบาทในงานพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น ตรุษจีน การไหว้บรรพบุรุษ เพื่อบ่งบอกความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ที่ได้เพาะปลูกเอาไว้ เมื่อหน้าเก็บเกี่ยวจะมีผลผลิตเยอะมาก ชาวบ้านจึงใช้ วิถีดั้งเดิมในการเก็บอาหารแบบตู้เย็นธรรมชาติด้วยการเอาแตงฝังดิน ซึ่งทุกคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะทำเป็น เพราะเรียนรู้กันมาต่อจากพ่อแม่ “ชัชวาล หลียา” ผู้นำทางจิตวิญญาณและเป็นผู้ที่พยายามรักษาขนบดั้งเดิมของหมู่บ้านเอาไว้ บอกว่า จุดที่ฝังแตงจะเลือกใต้ต้นไม้เพื่อสังเกตง่าย และมีพื้นที่ลาดชันเพื่อไม่ให้น้ำขัง โดยรูปแบบการฝังนั้นมีอยู่ 2 แบบ แบบขุดเป็นหลุมและขุดเป็นโพรง ซึ่งการขุดเป็นโพรงจะดีกว่าเพราะดินไม่โดนแตงโดยตรง จะทำให้เก็บแตงไว้ได้นาน หลังจากขุดหลุมแล้วจะรองด้วยฟางหรือหญ้าคา เพื่อป้องกันความชื้นแล้วค่อยใส่แตง 2 - 3 ลูกต่อหลุม จากนั้นปิดด้วยฟางอีกรอบแล้วปิดปากหลุมด้วยดิน ปักไม้เป็นสัญลักษณ์ไว้ จะมีการฝังทั้งหัวไร่, กลางไร่ และท้ายไร่ เพราะจะสะดวกเมื่อมาทำงานในไร่ หากอยู่ส่วนไหนของไร่ก็เปิดหลุมออกมากินได้ จึงเป็นดั่งคลังอาหาร หรือตู้เย็นธรรมชาตินั่นเอง
ชาวบ้านที่นี่ยังทำ “ข้าวทิพย์” ที่มีส่วนผสมของข้าวสุก, ข้าวโพด, เผือก และมัน ซึ่งดูแล้วก็เหมือนข้าวธัญพืช แต่ที่น่ารักก็คือทุกสิ่งที่เอามาผสมในข้าวทิพย์นั้น ชาวลีซูเป็นผู้เพาะปลูกเองทั้งสิ้น และอีกชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายโมจิ เรียกกันว่า “ข้าวปุ๊ก” วิธีทำต้องค่อย ๆ นวด ค่อย ๆ ตำจนเหนียวนุ่มอร่อย น่ารับประทาน มักทำไว้ให้ลูกหลานติดตัวไว้รับประทานระหว่างเดินทางไกลบ้าน เสมือนว่าข้าวปุ๊กเป็นข้าวที่แทนความรัก ความห่วงใยของคนในครอบครัว
ติดตามชมเรื่องราววิถีโบราณที่สร้างความรัก ความผูกพันในครอบครัวดี ๆ ได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2562 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live