เดือนหน้า "คลัง" เตรียมทบทวนเกณฑ์ผู้เข้าร่วม "โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ธ.กรุงเทพ ถอดบทเรียนพบว่า รบ.มีแนวโน้มใช้งบประมาณดำเนินโครงการแจกเงินผู้มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หวังเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่แก้ปัญหาความยากจนไม่ได้
ที่ผ่านมารัฐโอนเงินหมื่นให้กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปแล้วกว่า 7.4 ล้านคน โดยรัฐเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ แต่นักวิชาการมองว่าเกิดแค่ "ลมพัดผ่าน" จังหวะพอดี ร้านสะดวกซื้อชื่อดังเริ่มให้สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร
การเติบโตของชุมชนแออัด ขยายตัวไปพร้อม ๆ กับความเจริญของเมือง นับตั้งแต่มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่หนึ่ง เมื่อปี 2504 - 2509 การพัฒนาประเทศ ทำให้เมืองเกิดความต้องการ แรงงานจำนวนมาก ดึงดูดผู้คนจากต่างจังหวัดให้เข้ามาหางานทำ จึงเกิดการสร้างที่พักอาศัยอย่างง่าย รวมตัวกันอยู่เป็นชุมชนที่บ้านหลังคาเกยกัน
ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งวัดดัชนีความยากจน 5 มิติ คือ สุขภาพ ความเป็นอยู่ การศึกษา รายได้ และการเข้าถึงบริการรัฐ ข้อมูล TPMAP ปี 2566 ระบุว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีคนจน 15,605 คน มากที่สุดในประเทศไทย รองลงมาคือ จ.อุดรธานี 12,117 คน, บุรีรัมย์ 10,935 คน, เชียงราย 9,564 คน และนครศรีธรรมราช 9,179 คน
ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากอยู่ในสลัมกลางกรุง “ข้าว” เด็กสาววัย 17 ต้องสู้ทุกทางเพื่อให้ตัวเองได้เรียนหนังสือ โดยมีหวังว่าการศึกษาจะพาครอบครัวอีก 7 คน ไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ออกจากชีวิตสลัมกลางกรุงให้ได้...แต่แม้จะเรียนฟรี ทุกอย่างในชีวิตก็ยังต้องมีค่าใช้จ่าย ทว่ายิ่งเวลาผ่านไป ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษายิ่งเพิ่มขึ้น สวนทางกับเงินที่หาได้ยาก อนาคตทางการศึกษาอาจดับลงพร้อมความหวังที่จะพาครอบครัวหลุดพ้นจากความยากจน