พูดถึงประเด็นการสร้างชุมชนเมืองสุขภาวะ ภายใต้การขับเคลื่อนของภาคประชาชน ว่าในส่วนของคนเมืองนั้นมองเห็นปัญหาอะไร และอยากเสนอแนวทางการแก้ไขอย่างไร กับตัวแทนจากสภาเมืองคนรุ่นใหม่ . ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyHealingCities
มาพูดถึงการพัฒนาสุขภาวะในชุมชนเมืองประเด็นของสุขภาพ ถ้าพูดถึงการสร้างเสริมสุขภาวะในชุมชนเมืองถือเป็นความท้าทายที่สำคัญในการทำงาน เพราะมีแนวโน้มว่าในอนาคตผู้คนจะหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้นตามการเติบโตของเศรษฐกิจ ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพที่เกิดจากความเหลื่อมล้ำ ความแออัด ความไม่เท่าเทียมของรายได้ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม . ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyHealingCities
เรื่องราวของการสร้างชุมชนเมืองสุขภาวะ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและสุขภาพ ปัจจุบันสังคมเมืองมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ และสุขภาพ แต่ในความเจริญก้าวหน้าของเมืองใหญ่นั้นกลับตอบสนองความต้องการของกลุ่มชนชั้นกลางขึ้นไป ทำให้เกิดช่องว่างในสังคมเมืองสุขภาวะ จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างไร ติดตามในนครฮีลใจ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "นครฮีลใจ" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyHealingCities
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 9 จะพาไปย่ำ "กรุงเตหะราน" ประเทศอิหร่าน ที่นั่นมี “แท็กซี่” อารมณ์ดีที่แจกลูกอมและช็อคโกแลตให้กับผู้โดยสาร บางวันยังมีบริการพิเศษหาคู่ให้กับคนโสดอีกด้วย จากนั้นไปย่ำกันต่อที่ "เมืองโบโกต้า" ประเทศโคลอมเบีย ที่มีคนกลุ่มหนึ่งออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ชื่อ “เซเว่น” ขึ้นมา เพื่อให้เช่าสำหรับการเดินทางระยะสั้น โดยหวังว่ารถยนต์นี้จะแก้ปัญหาการจราจรและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของชาวเมือง
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 12 จะพาไปย่ำมหานคร "กรุงเม็กซิโกซิตี้" ประเทศเม็กซิโก ที่นั่นกำลังเผชิญภาวะขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง จึงได้มีคนกลุ่มหนึ่งสอนวิธีการกักเก็บน้ำจากธรรมชาติ เพื่อให้ทุกบ้านมีน้ำใช้.. จากนั้นไปย่ำกันต่อที่ “กรุงบัวโนสไอเรส” ประเทศอาร์เจนตินา พวกเขาต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมอย่างหนัก ส่วนหนึ่งเกิดจากธรรมชาติ แต่ก็มีหลายพื้นที่ที่พบว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นการกระทำของมนุษย์
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 12 จะพาไปย่ำมหานคร "กรุงปารีส" ที่ใครจะเชื่อ ว่าในกรุงปารีสผู้คนจะสามารถปลูกผักและเลี้ยงผึ้งไว้ทานเองได้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว กับ "สวนผักใจกลางเมือง" แล้วพวกเขาทำได้อย่างไร เช่นเดียวกับ "เมืองเมเดยีน" โคลอมเบีย ก็มีคนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันปลูกผักในสวนใจกลางเมือง พร้อมพัฒนาพื้นที่สาธารณะไปด้วย
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 11 จะพาไปย่ำมหานคร “โตเกียว” ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี "พยาบาล" คนหนึ่ง ที่ให้ความช่วยเหลือผู้สูงวัย โดย เชื่อว่า พวกเขาควรได้ใช้ชีวิตในแบบที่ต้องการและมีคุณค่ากับสังคม จากนั้นไปย่ำกันต่อที่ เมือง “จอร์จทาวน์” รัฐปีนัง มาเลเซีย มีอาสาสมัครกลุ่มหนึ่งได้ให้ความช่วยเหลือกับคนไร้บ้าน โดยแจกอาหารและดูแลความเป็นอยู่ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 10 จะพาไปย่ำ "กรุงฮานอย" ประเทศเวียดนาม ที่มีสถาปัตยกรรมเก่าแก่แต่กำลังชำรุดเสื่อมโทรม คนกลุ่มหนึ่งจึงได้ร่วมมือกับเทศบาลฮานอย วางแผนเพื่อปรับปรุงย่านเมืองเก่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เข้ากับยุคสมัย อีกเมืองที่จะย่ำกันต่อไปคือ "ลอส แอนเจลิส" ย่านหนึ่งในเมืองที่ชื่อ บอยล์ไฮตส์ (Boyle Heights) ถือเป็นแหล่งเสื่อมโทรม แต่กลับมีศิลปินกลุ่มพัฒนาชุมชนแห่งนี้ ให้กลายเป็นแหล่งศิลปะอันงดงามอย่างไม่น่าเชื่อ
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 8 จะพาไปย่ำ "เมืองฮัมบูร์ก" ประเทศเยอรมนี ที่นี่ได้เกิด Fab Lab (แฟ๊บแล็บ) สถานที่ที่เปิดโอกาสให้ชาวเมืองฮัมบูร์กได้สร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ โดยใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีระดับโรงงาน.. จากนั้นไปย่ำกันต่อที่ "กรุงอัมมาน" ประเทศจอร์แดน ที่ลักษณะภูมิประเทศของเมือง ทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดและวัฒนธรรม คณะละครเวทีกลุ่มหนึ่ง จึงหวังใช้ละครเวทีเพื่อเชื่อมคนทั้่งสองพื้นที่เข้าด้วยกัน
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 7 จะพาไปย่ำ "เซินเจิ้น" ประเทศจีน เมืองที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว มีแรงงานที่เดินทางจากชนบทมาขายแรงงานในเมืองใหญ่ แต่ใช่ว่าผู้คนที่นี่จะมีความสุข และย้ายไปย่ำกันต่อที่ "เมืองเนเปิลส์" ประเทศอิตาลี เมืองแห่งหุบเขาที่แฝงไว้ด้วยอันตราย เพราะภูเขาไฟวิสุเวียสมีโอกาสจะปะทุขึ้นมา แต่สำหรับผู้คนที่เกิด เติบโต และอาศัยอยู่ที่นี่ พวกเขาไม่เคยกลัว แถมยังตกหลุมรักภูเขาไฟวิสุเวียสแห่งนี้
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 6 จะพาไปย่ำ "เกาะฮ่องกง" ที่นั่นมีความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการปกป้องแหล่งประวัติศาสตร์และอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่อยู่ใจกลางเมือง จากนั้นย้ายไปย่ำ เมือง "ซันโฮเซ" ประเทศคอสตาริกา ที่มีพิพิธภัณฑ์นำเครื่องดนตรีโบราณมาสร้างผลงานโดยนักดนตรีสมัยใหม่
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 5 จะพาคุณไปรู้จักกลุ่มคนที่รวมตัวกันสร้างสรรค์งานศิลปะแนว "กราฟฟิตี้" วาดลวดลาย สร้างสีสันให้ถนน และบ้านเรือนในแหล่งเสื่อมโทรมให้กลายเป็นงานศิลปะ จากนั้นไปยังเมืองโทรอนโต เมืองที่เปิดกว้างให้กับผู้อพยพ แต่ก็มีไม่น้อยที่พวกเขาต้องเจอการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม จึงมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามผลักดันให้ผู้อพยพได้รับสิทธิการจ้างงานที่เป็นธรรม เพื่อลดช่องว่างของความแตกต่างทางเชื้อชาติ
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 4 วันนี้เราจะไปย่ำมหานคร ริโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ไปเรียนรู้การรณรงค์ให้คนในชุมชนได้รู้คุณค่าของอาหาร และไม่ทิ้งอาหารให้เป็นขยะ และมาต่อกันที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ปลูกผักและเลี้ยงปลาโดยไม่ใช้สารเคมีเพื่อให้ทุกคนได้รับประทานที่ปลอดภัย
Big Cities ย่ำมาหานคร ตอนที่ 3 จะพาคุณเดินทางไปยัง กรุงเบอร์ลิน รู้จักการรวมตัวสร้างหมู่บ้านทางเลือกที่เรียกว่า “ รูนดริงค์” กลับมาเอเชียที่ เกาหลีใต้ ที่มี "ฮังโคเจ" ที่มีความหมายว่า บ้านกระจายความสุข กับแนวคิด "ลงขันซื้อบ้านอยู่ด้วยกันของกลุ่มคนที่ไม่ใช่เครือญาติ"