"ฐากร" ชี้แจงปมโหวต "เห็นด้วย" แพทองธาร ชินวัตร นั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ยืนยันยังอยู่ในพรรคร่วมฝ่ายค้าน ไม่มีดีล-ไม่ใช่งูเห่า แต่โหวตให้ประเทศเดินหน้าไปต่อ ขณะที่คุณหญิงสุดารัตน์" ชี้ สส.ทำขัดจุดยืน-อุดมการณ์พรรค ผิดมารยาทพรรคร่วมฝ่ายค้าน
การเดินสายหาเสียงช่วยผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ในสนามเลือกตั้ง "นาย อบจ.อุดรธานี" ถ้าย้อนกลับไปประมวลคำปราศรัย ที่นายทักษิณ ชินวัตร ใช้เป็นกลยุทธ์หาเสียง คือการเชื่อมต่อ ระหว่างการเมืองท้องถิ่นกับการเมืองระดับชาติ พร้อมชูนโยบายรัฐบาล ว่า ท้องถิ่นจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนด้วย
แค่เริ่มต้นรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ก็ต้องเจอกับบรรดานักร้องตั้งแต่เริ่มต้น แม้จะคัดกรองคุณสมบัติด้านจริยธรรมอย่างเข้มข้น แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะมีความปลอดภัย ความเสี่ยงด้านกฎหมาย ของรัฐบาลชุดนี้มีอะไรบ้าง วิเคราะห์กันต่อ รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
มองทิศทางการเมืองหลังจากนี้อย่างไร การจัดโผ ครม.อุ๊งอิ๊ง1จะจบลงอย่างไร การตรวจสอบจริยธรรมรัฐมนตรีเข้นข้น จะยังมีปัญหาซ้ำรอย อดีตนายกฯ เศรษฐ ทวีสิน หรือไม่ และเสถียรภาพของรัฐบาลหลังจากนี้ ติดตามการวิเคราะห์จาก จตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน
ในสภาเมื่อวานยังมีฉากซักถามดุเดือดเกิดขึ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องตอบคำถามอีกครั้ง ยืนยันการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษานอกเรือนจำ เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และไม่ได้มีการมีการช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยากาศการประชุมสภาฯ วาระกระทู้ถามทั่วไป ของนายรังสิมันต์ โรม เริ่มครุกรุ่นตั้งแต่ยังไม่เริ่มถาม ด้วย สส. เพื่อไทย 2-3 คน ออกตัวประท้วงการตั้งกระทู้ห้ามพาดพิงอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร แล้วก็มีการประท้วงเป็นระยะ ซึ่งเป็นหการถามของ นายรังสิมันต์ โรม เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเพิ่มเติมการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษานอกเรือนจำ ซึ่งตั้งกระทู้ถามตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยย้ำถามเรื่องมาตรฐานทางกระบวนการยุติธรรมการพักรักษาตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชั้น 14 ในโรงพยาบาลตำรวจ เหตุใดถึงรักษาที่ห้องพิเศษและถามรายชื่อแพทย์ผู้ประเมินการรักษา ซึ่งพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ยืนยันไม่ได้เลือกปฏิบัติ และไม่ได้มีการช่วยเหลือนายทักษิณ ชี้จากปัญหานักโทษล้นคุกจึงต้องมีมาตรการแก้ไขและดำเนินการดำเนินการตามระเบียบคุมขังนอกเรือนจำซึ่งโรงพยาบาลเข้าเงื่อนไข ทิ้งท้ายว่าบุญคุณกับการทำกฏหมายขอเลือกทำถูกกฎหมายแม้ส่วนตัวจะรู้จักกับอดีตนายกทักษิณแต่ไม่เคยเข้าพบเนื่องจากจะต้องวางตัวให้เหมาะสม
งานการเมืองข้ามประเทศ ขับเคลื่อนโดยคนลูก แต่งานการเมืองในประเทศน่าลุ้นว่าจะขับเคลื่อนโดยคนพ่อหรือไม่ ? เพราะก่อนหน้านี้ นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ตอบชัดว่ามีโอกาสที่จะได้ลงพื้นที่ร่วมกับ อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร หากเป็นเช่นนี้ เท่ากับเปิดทางไว้ล่วงหน้า คอการเมืองฟันธงแล้วว่า ได้เห็นแน่
หนึ่งในคู่แข่งสำคัญของพรรคเพื่อไทย ไม่เฉพาะในพื้นที่เชียงใหม่ คือ พรรคก้าวไกล การเลือกตั้งครั้งล่าสุด "ก้าวไกล" ชิงพื้นที่ไข่แดงของ "เพื่อไทย" ในจังหวัดเชียงใหม่มาได้ 7 จาก 10 เขต การปรากฎตัวของทักษิณ จึงสะท้อนความหมายทางการเมือง นั่นคือ การประกาศกลับมา และการเช็กกระแส
นอกจากการกลับมาเชียงใหม่ของ "ทักษิณ" เป็นการประกาศให้ทั้งประเทศรู้ว่า "ทักษิณและเพื่อไทย" กลับมาแล้ว อีกเรื่องคือ สถานการณ์การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ศ.เกียรติคุณ ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่ มองหากจะเรียกคะแนนเสียงกลับคืนมาได้ "เพื่อไทย" ต้องมาพร้อมกับอะไรใหม่ ๆ
รูปคู่ระหว่าง "มหวรรณ กะวัง" อดีตดีเจกลุ่มคนเสื้อแดง กับ "ทักษิณ ชินวัตร" บ่งบอกถึงความรักที่มีต่ออดีตนายกฯ ยอมควักเงินส่วนตัวบินไกลถึงดูไบ เพื่อพบกับทักษิณ และยังเป็นเพื่อนร่วมรุ่น ม.ปลาย กับ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นั่นอาจทำให้ยิ่งรู้สึกผูกพัน และเคารพตระกูลชินวัตร แม้วันนี้เสื้อแดงบางส่วนอาจเปลี่ยนเฉดและปันใจให้นักการเมืองคนอื่นก็ตาม
เรื่องของครอบครัวชินวัตรที่คนสนใจกันตอนนี้ นอกเหนือจากความเคลื่อนไหวของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร ยังมีอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เพิ่งพ้นมลทินจากคำพิพากษาคดีโรดโชว์สร้างอนาคตไทย 2020 มาหมาด ๆ ล่าสุด หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แพทองธาร ชินวัตร ก็ยอมรับว่าครอบครัวดีใจกัน แต่ในความเป็นน้าหลาน พอรู้ผลก็คุยกันทันที แพทองธาร บอกเล่ากับนักข่าวว่า ที่ผ่านมา สงสาร "ยิ่งลักษณ์" เพราะเสียเวลาไปเยอะ ทั้งครอบครัวและประเทศชาติ และยังเชื่อว่า ถ้ายิ่งลักษณ์ ได้บริหารประเทศต่อไป จะเป็นผลดีมากกว่า ส่วนความคืบหน้าอาการ ทักษิณ ชินวัตร หลังได้รับการพักโทษมาอยู่บ้านจันทร์ส่องหล้า แพทองธาร เปิดเผยว่าอาการดีขึ้น มีความสุข โดยที่บ้านก็สลับกันพาหลาน ๆ ไปหา ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า ทักษิณ จะเดินทางไปที่จังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงกลางเดือนนี้ แพทองธาร กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่คอนเฟิร์ม แต่ก็มีการพูดถึงว่า อยากจะไปเชียงใหม่ เนื่องจากไม่ได้ไปนานแล้ว เชียงใหม่ถือเป็นบ้านเกิด
แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า ขณะนี้ดีลพา “ทักษิณ” กลับบ้าน มีเบื้องหลังหรือข้อตกลงอย่างไร และระหว่างการพักโทษจะจัดวางสถานะทางการเมืองของตนเองไว้ในระนาบไหน ประเมินกระแสมวลชนต่อต้านอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร รวมถึงแนวโน้มการสลายความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต หลังการกลับบ้านของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะทำให้กระแสต่อต้านถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งหรือไม่ จะเป็นเรื่องที่ยาก ง่าย แค่ไหน และใครคือ "ศัตรูตัวจริง" ของทักษิณ และพรรคเพื่อไทย พูดคุยกับ • ถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำกลุ่ม กปปส. • ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (พธม.)
วิเคราะห์ทิศทางการเมืองของประเทศไทย ประเมินกระแสมวลชนต่อต้านอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และแนวโน้มการสลายความขัดแย้งทางการเมืองในอดีต ภายหลังนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กลับมาอยู่บ้านจันทร์ส่องหล้า จะเป็นอย่างไร ท่ามกลางกระแสมวลชนที่มีทั้งฝ่ายหนุนและต่อต้าน หลายคนเชื่อว่ามีดีลลับบางอย่าง ทำให้ความไม่ลงรอยกันระหว่างเขาและคู่ขัดแย้ง กำลังถึงบทสรุป แต่ก็ยังวางใจไม่ได้เพราะการเมืองกำลังเข้าสู่โหมด “สามก๊ก” พูดคุยกับ • ถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำกลุ่ม กปปส. • ผศ.ดร. สุริยะใส กตะศิลา อดีตแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ (พธม.)
แม้จะได้รับการพักโทษ กลับไปพักฟื้นที่บ้าน แต่นายทักษิณ ชินวัตร ยังมีอีกคดีที่ต้องเข้าสู่กระบวนการ คือ คดีอาญาตามมาตรา 112 ซึ่งวันนี้ (19 ก.พ. 67) พนักงานสอบสวน ปอท. นำตัวส่งต่อสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 8 ตามหมายจับ เบื้องต้น อัยการสูงสุด พิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของนายทักษิณ โดยสั่งให้สอบสวนเพิ่มเติม พร้อมนัดฟังคำสั่งคดี 10 เม.ย.นี้
"ทักษิณ" เผชิญกับการต่อสู้ทางการเมืองและกฎหมายมายาวนาน หลายคนเชื่อว่าดีลลับบางอย่าง ทำให้ความไม่ลงรอยกันระหว่างเขาและคู่ขัดแย้ง กำลังถึงบทสรุป แต่หันไปดูอดีตพรรคการเมืองพันธมิตรอย่างก้าวไกล เหมือนจะมองตัวเองว่าต้องต่อสู้ในนิติสงคราม ซึ่งว่ากันก็เป็นฉากคล้ายกับที่ ทักษิณ และ ไทยรักไทย ผ่านมาก่อนความเคลื่อนไหวของพรรคก้าวไกล เมื่อวานจัดกิจกรรมทำความเข้าใจ เพื่อสื่อสารว่าพรรคก้าวไกลไม่ใช่ภัยคุกคามของสังคม แต่คือสะพานเชื่อมระหว่างอดีตกับอนาคต
กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการพักโทษและกลับเข้าบ้านจันทร์ส่องหล้าในรอบ 17 ปี เมื่อวานนี้ (18 ก.พ. 67) นั้น ด้านประชาชนอยากให้นายทักษิณ กลับมาช่วยรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างนางวันทนา โอทอง หรือ ป้านา หนึ่งในกลุ่มคนเสื้อแดงบ้านโป่ง ที่เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัว ขณะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่หาเสียงเลือกตั้งเมื่อกลางเดือน มี.ค. 66 บอกว่า รู้สึกดีใจ ที่นายทักษิณได้รับความยุติธรรม และยังหวังว่านายทักษิณจะเข้ามาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาพรรคเพื่อไทยและช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ขณะ นางกัลยานี จูปรางค์ อดีตแกนนำเสื้อเหลือง จ.พระนครศรีอยุธยา บอกว่า อยากให้นายทักษิณ ช่วยส่งเสริมดูแลประเทศชาติบ้านเมืองให้ดีขึ้น เพื่อเศรษฐกิจให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้ รวมทั้งช่วยกันปกป้องสถาบัน
ก่อนที่จะได้กลับเข้าบ้านและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว นายทักษิณ ชินวัตร ใช้เวลายาวนานถึง 17 ปี นับจากออกเดินทางหลบหนีคดีในต่างประเทศ แต่จากนี้ แม้จะได้ใช้ชีวิตอย่างปกติทั่วไป แต่ก็ยังอยู่ในช่วงคุมประพฤติ ตามเงื่อนไขการ "พักโทษ" รวม 6 เดือน ท่ามกลางการจับจ้อง ถึงการเข้ามามีบทบาททางการเมือง
ทุกฝ่ายต่างจับตาการได้รับพักโทษของนายทักษิณ ชินวัตร จะมีผลกระทบทางการเมืองอย่างไรบ้าง โดยแกนนำพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่าสามารถทำได้ กฎหมายไม่ได้ห้าม ขณะที่ นายชัยธวัช ตุลาธน ผู้นำฝ่ายค้าน เตือนว่า รัฐบาลต้องระมัดระวังอย่าทำให้การเมืองมีสภาวะเสมือนมีนายกรัฐมนตรี 2 คน