กมธ.ตำรวจ ได้ขึ้นชั้น 14 ติดตามอาการ "ทักษิณ" แต่ไม่ได้เข้าเจอตัว ขณะที่ เจ้าหน้าที่พยาบาล ยืนยัน ให้การดูแลรักษา มีภาวะหัวใจรั่ว ขณะที่ "ชัยชนะ" เผยทำหน้าที่ตามกรอบ รธน. ชี้ รพ.ตำรวจ ทำเต็มที่ โยนกรมราชทัณฑ์ตอบ "ทักษิณ" รักษาตัวอยู่จริงหรือไม่
ในสภาเมื่อวานยังมีฉากซักถามดุเดือดเกิดขึ้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต้องตอบคำถามอีกครั้ง ยืนยันการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษานอกเรือนจำ เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และไม่ได้มีการมีการช่วยเหลือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี บรรยากาศการประชุมสภาฯ วาระกระทู้ถามทั่วไป ของนายรังสิมันต์ โรม เริ่มครุกรุ่นตั้งแต่ยังไม่เริ่มถาม ด้วย สส. เพื่อไทย 2-3 คน ออกตัวประท้วงการตั้งกระทู้ห้ามพาดพิงอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร แล้วก็มีการประท้วงเป็นระยะ ซึ่งเป็นหการถามของ นายรังสิมันต์ โรม เกี่ยวกับข้อเท็จจริงเพิ่มเติมการส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษานอกเรือนจำ ซึ่งตั้งกระทู้ถามตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยย้ำถามเรื่องมาตรฐานทางกระบวนการยุติธรรมการพักรักษาตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีที่ชั้น 14 ในโรงพยาบาลตำรวจ เหตุใดถึงรักษาที่ห้องพิเศษและถามรายชื่อแพทย์ผู้ประเมินการรักษา ซึ่งพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง ยืนยันไม่ได้เลือกปฏิบัติ และไม่ได้มีการช่วยเหลือนายทักษิณ ชี้จากปัญหานักโทษล้นคุกจึงต้องมีมาตรการแก้ไขและดำเนินการดำเนินการตามระเบียบคุมขังนอกเรือนจำซึ่งโรงพยาบาลเข้าเงื่อนไข ทิ้งท้ายว่าบุญคุณกับการทำกฏหมายขอเลือกทำถูกกฎหมายแม้ส่วนตัวจะรู้จักกับอดีตนายกทักษิณแต่ไม่เคยเข้าพบเนื่องจากจะต้องวางตัวให้เหมาะสม
แม้นายทักษิณ ชินวัตร จะยืนยันแล้วว่า "ป่วยจริง" และบอกว่า "อาการดีขึ้นแล้ว" แต่คนการเมืองอย่าง นายสมชาย แสวงการ และนายรังสิมันต์ โรม ยังเคลือบแคลงสงสัย เมื่อได้เห็นภาพการลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อสัปดาห์ก่อน ขณะเดียวกัน นายสมชาย ยังเรียกร้องให้ ป.ป.ช. รับไต่ส่วนคำร้องให้สอบนายกรัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับกรณีการอนุญาตให้ นายทักษิณ เข้ารักษาในโรงพยาบาลตำรวจนาน 180 วัน
นักวิเคราะห์หลายคนหยิบเอาความเคลื่อนไหวของ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ไปผู้โยงกับการบริหารนโยบายของรัฐบาล ว่าต่อจากนี้ไปหากสถานการณ์เบาบางลง เราอาจได้เห็นการขอคำแนะนำจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ในเรื่องการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายเรือธงอย่าง ซอฟต์พาวเวอร์และเงินดิจิทัล แนวคิดนี้ไม่ใช่ของใหม่ ตอนนายกฯ เศรษฐา เข้ารับตำแหน่ง ก็มีเปรย ๆ ว่าอาจต้องขอคำชี้แนะจากผู้มีประสบการณ์ ก็คือบรรดาอดีตผู้นำประเทศ ไม่ใช่แค่ ทักษิณ
ก่อนที่จะได้กลับเข้าบ้านและใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัว นายทักษิณ ชินวัตร ใช้เวลายาวนานถึง 17 ปี นับจากออกเดินทางหลบหนีคดีในต่างประเทศ แต่จากนี้ แม้จะได้ใช้ชีวิตอย่างปกติทั่วไป แต่ก็ยังอยู่ในช่วงคุมประพฤติ ตามเงื่อนไขการ "พักโทษ" รวม 6 เดือน ท่ามกลางการจับจ้อง ถึงการเข้ามามีบทบาททางการเมือง
วันนี้ (15 ก.พ. 67) น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการเตรียมต้อนรับนายทักษิณ ชินวัตร หลังได้รับการพักโทษตามที่มีกระแสข่าวว่า เป็นวันที่ 18 ก.พ.นี้ ว่า ตอนนี้ให้หลาน ๆ เขียนการ์ด อย่างไรก็ตาม คิดว่าครอบครัวจะไปต้อนรับกันทุกคนที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ทั้งนี้ ถ้าคุณหมอไม่ต้องตรวจอาการต่อจะออกวันที่ 18 ก.พ. เลยหรือไม่ น.ส.แพทองธาร กล่าวว่า ค่ะ ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น
พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม อธิบายว่า เดิม #ทักษิณ มีโทษจำคุก 1 ปี ซึ่งตามเงื่อนไขของการพักโทษต้องครบเกณฑ์จำคุก 1 ใน 3 โดยปัจจุบัน 'ทักษิณ' จำคุกแล้ว 6 เดือน ถือว่าเข้าหลักเกณฑ์-ระเบียบกรมราชทัณฑ์ จับสัญญาณการเมือง หลัง "พักโทษ" อดีตนายกฯ ทักษิณ พร้อมประเมินความสัมพันธ์ 3 ฝ่าย คือ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และขั้วอนุรักษนิยม พูดคุยกับ - รศ.สุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง - รศ.พรชัย เทพปัญญาอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแห