ปิดตำนานโฉนดถุงกล้วยแขกวัดสวนแก้ว ทนายอนันต์ชัย ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่าง "วัดสวนแก้ว - ทายาทเจ้าของที่ดิน" ได้ข้อสรุปโดยช่วยลดจ่ายค่าเสียหาย จาก 1.96 ล้านบาท เหลือ 1.9 ล้านบาท แบ่งจ่าย 4 งวด และให้รื้อถอนอนุสาาวรีย์สิ่งปลูกสร้าง
เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และ ปปป. บุกจับ เจ้าหน้าที่รังวัด สำนักงานที่ดิน จ.ชลบุรี เรียกรับเงิน 50,000 บาท แลกกับการออกโฉนดที่ดิน 25 แปลง และพบเงินสดอีก 30,000 บาทซุกซ่อนในรถยนต์เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ตำรวจคุมตัวไปลงบันทึกการจับกุมแจ้งดำเนินคดี 4 ข้อหา
เรื่องของที่ดินทำกินนั้น ถ้าไม่ใช่ที่ดินที่ตัวเองมีกรรมสิทธิ์มาตั้งแต่แรก หรือได้รับตกทอดเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษ ก็จำเป็นต้องตรวจสอบเงื่อนไข หรือเอกสารสิทธิ์ และทำความเข้าใจให้ถูกต้องอย่างลึกซึ้ง ไม่เช่นนั้นอยู่ ๆ ก็อาจถูกเจ้าของเดิม หรือใครไม่รู้มาแอบอ้างหมายจะยึดครอง แล้วทำให้เราเสียสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินผืนนั้นไปได้ จากกรณีที่เกิดขึ้นกับที่ดินประเภท ภบท.5 และ ส.ป.ก.ในทางกฎหมายมีข้อกำหนดอย่างไร และจะมีแนวทางออกในเรื่องที่เกิดขึ้นอบ่างไรบ้าง ร่วมพูดคุยกับ ทนายพีท พีรภัทร ฝอยทอง . ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
กระทู้ถาม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ฯ 3 คำถาม ในเรื่อง ส.ป.ก.และอุทยานฯ เจ้าตัวก็ตอบทั้ง 3 คำถาม แถมมีอารมณ์ร่วมสูงซะด้วย เนื้อหาสาระที่ปรากฏออกมาประชาชนที่รับชมการประชุมสภาฯ ก็ได้รับทราบกันทั่วแล้ว แต่เป็นคำตอบที่เคลียร์ทุกประเด็นแล้วหรือยัง ผู้แทนที่ตั้งคำถามคาดหวังอะไรมากกว่านี้หรือไม่ พูดคุยกับประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน สส.อภิชาติ ศิริสุนทร ผู้ตั้งกระทู้ถามสด รัฐมนตรีเกษตรฯ ในเรื่องนี้
กว่า 2 สัปดาห์ที่ปัญหาข้อพิพาทที่ดิน ส.ป.ก. เขาใหญ่ กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึง ซึ่งเรื่องนี้ว่าตามจริงเป็นข้อพิพาทระหว่าง ส.ป.ก. กับกรมอุทยานฯ จึงไม่แปลกที่จะถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างกระทรวงทรัพยากรฯ กับกระทรวงเกษตรฯ เกิดอะไรขึ้นกับพรรคพลังประชารัฐ ?
กรณีที่ดินแปลงทำเลทองใกล้เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา เนื้อที่กว่า 10 ไร่ ถูกแผ้วถางตั้งแต่ปี 2565 จุดนี้อยู่ไม่ห่างจากที่ตั้งของรีสอร์ต และคอนโดหรู ราคาที่ดินมีโฉนดแถบนี้จึงสูงถึงไร่ละ 30 ล้านบาท พบปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 ในพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการจัดสรรที่ทำกินโดยชอบหรือไม่ เพราะทั้ง 2 หน่วยงานต่างยึดแนวเขตจากแผนที่คนละฉบับ ทำให้กรมแผนที่ทหาร เข้ามาเป็นหน่วยงานกลางที่พิสูจน์ว่าที่ดินแปลงที่ออกเอกสารสิทธิ์อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด คาดใช้เวลา 3 สัปดาห์ จึงจะรู้ผล
การให้ต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย สามารถซื้อที่ดินสำหรับที่อยู่อาศัย แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีเงินมาลงทุน 40 ล้านบาท ไม่น้อยกว่า 3 ปีนั้น ถูกพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์ จนภาครัฐต้องยอมถอนร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อพิจารณาใหม่ ทำไมถึงถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นกฎหมายขายชาติ ? หากมองในมิติเศรษฐศาสตร์และเศรษฐกิจนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร ?
เมื่อมีร่างกฎหมายเปิดทางให้ต่างชาติที่มาลงทุนในประเทศไทย สามารถซื้อที่ดินสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีเงินมาลงทุนในเมืองไทยจำนวน 40 ล้านบาท เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี หลายคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แล้วนโยบายดังกล่าวภาครัฐต้องการอะไร ? มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอย่างไร ?
เขตวัฒนธรรมพิเศษกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกะเหรี่ยง ถูกกำหนดขึ้นปี พ.ศ. 2553 โดยคณะรัฐมนตรี พร้อมสัญญาจะส่งเสริมวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงแก้ไขปัญหาการทับซ้อนเขตที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยกับเขตพื้นที่ป่า แต่ผ่านมา 11 ปี กลับถูกกดทับจากกฎหมายและประกาศเขตพื้นที่ทับซ้อนเพิ่มขึ้น