ความสูญเสียจากเหตุเครนถล่ม บานปลายเป็นการเรียกร้องค่าชดเชย ตึงเครียด ยืดเยื้อ เจรจากว่า 7 ชั่วโมง ก่อนนายจ้างยอมจ่าย ศพละ 1.6 ล้าน ต่อเนื่องเช้าวันนี้แรงงานรวมตัวเรียกร้องสวัสดิการ ขณะที่พบโรงงานทุนจีนที่เปิดเป็นแห่งที่ 2 ในระยอง ทุนจดทะเบียน 6,000 ล้าน
ค่ำวานนี้ (16 ส.ค. 67) แรงงานชาวเมียนมากว่า 700 คน รวมตัวกันประท้วงแสดงความไม่พอใจนายทุนชาวจีนเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ในเขตอุตสาหกรรมนิคมโรจน ต.หัวหว้า อ.ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เพราะไม่ได้รับเงินค่าแรงงานมา 2 เดือนแล้ว แต่ยังถูกบังคับให้ทำงานทุกวัน จนแรงงานไม่มีเงินซื้ออาหารกิน ต้องอยู่อย่างอด ๆ อยาก ๆ เบื้องต้นนายทุนชาวจีนจะขอจ่ายเงินให้กับแรงงานไปก่อนคนละ 500 บาท แต่แรงงานไม่ยอมอยากให้จ่ายเงินเดือนที่ค้างอยู่ทั้งหมด และยังคงปิดทางเข้าออกพื้นที่ก่อสร้างไม่ยอมให้นายทุนชาวจีน และหัวหน้าคนงานออกไปด้านนอก จะอนุญาตเฉพาะคนไทยเท่านั้น ซึ่งค่าแรงที่ติดไว้รวมแล้วประมาณ 10 ล้านบาท
ปัญหาทุนจีนทะลักเข้าไทย ทำให้วานนี้ (9 ส.ค. 67) กระทรวงพาณิชย์ เรียกประชุม 5 หน่วยงาน หามาตรการควบคุม อย่างกรณีล่าสุด แอปพลิเคชัน TEMU ไทยไม่สามารถจัดเก็บภาษีออนไลน์ได้ เพราะบริษัทไม่ได้อยู่ในประเทศ ในมุมของผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกระหว่างประเทศมองว่าเป็น เป็นการแก้ไขที่ช้าเกินไป
ชาวสวนทุเรียนอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งทำสวนทุเรียนส่งออกมานานกว่า 10 ปี ปลูกและดูแลเองทุกขั้นตอน สะท้อนว่าปัจจุบันการทำสวนทุเรียนเปลี่ยนไป ระยะหลังมีกลุ่มทุนจีนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในจังหวัด เพื่อปลูกทุเรียนส่งออกเอง ที่ผ่านมา เคยมีกลุ่มทุนจีนติดต่อเพื่อร่วมทุน แต่ปฏิเสธ เช่นเดียวกับ เจ้าของล้งทุเรียน สะท้อนตรงกันว่า ที่อำเภอท่าใหม่ มีนายทุนชาวจีนมาติดต่อเช่นกัน โดยเสนอเงินลงทุนให้ แต่ปฏิเสธ เพราะไม่มั่นใจว่าจะมีปัญหาในอนาคตหรือไม่ สำหรับรูปแบบการร่วมลงทุนของกลุ่มทุนจีนและชาวสวนทุเรียน เริ่มจากติดต่อขอซื้อทุเรียน เพื่อส่งออกเป็นประจำ เมื่อเกิดความคุ้นเคย จากนั้นจะชักชวนให้ร่วมลงทุน บางกรณีใช้วิธีแต่งงานกับคนไทย เพื่อซื้อที่ดิน หรือนำญาติ คนในครอบครัว มาจดทะเบียนเป็นหุ้นส่วน โดยให้คนไทยถือหุ้น 51% ต่างชาติ 49% ตามที่กฎหมายกำหนด
ทุนจีนที่รุกคืบกว้านซื้อที่ดิน และเช่า เพื่อปลูกทุเรียนในหลายจังหวัดทางภาคตะวันออก ไม่ได้สร้างความกังวลใจให้เพียงเกษตรกร แต่นักวิชาการ ก็ประเมินว่า ในอนาคตหากมีการขยายเวลาให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้เป็นเวลานาน ก็จะเป็นปัจจัยที่เอื้อให้ทุนจีน ผูกขาดธุรกิจทุเรียนไทยแบบครบวงจร
นายชลธี นุ่มหนู นายกสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคตะวันออก เผยว่า รูปแบบทุนจีนที่เข้ามาประกอบธุรกิจทุเรียน มีคนไทยรับเป็นเจ้าของ แต่เขาจะเข้ามาควบคุม ตั้งแต่สวนทุเรียน ล้ง ทุเรียน จนระบบการขนส่งไปต่างประเทศ ทั้งนี้ เมื่อทุนจีนเข้ามากว้านซื้อที่ดินในพื้นที่ภาคตะวันออกเพื่อปลูกทุเรียนมากขึ้น ทำให้ชาวสวนมีปัญหาการแย่งน้ำ จนเกิดภาวะขาดแคลนน้ำที่ใช้นำมาหล่อเลี้ยง นายชลธีต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาสำรวจการถือครองที่ดิน และควรมีกฎหมายควบคุมให้เข้มข้นมากกว่านี้ เพราะเกรงว่าผลไม้ขึ้นชื่อของภาคตะวันออก อาจอยู่ในมือของต่างชาติ คล้ายกับกรณีทัวร์ศูนย์เหรียญ
ควันหลงจากงานสถาปนิก 2567 มีการพูดกลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาร่วมจัดงานแสดงสินค้าด้านสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่มาจากจีน ซึ่ง “ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ” กรรมการผู้จัดการบริษัท ตลาด ดอท คอม กรุ๊ป จำกัด ตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มธุรกิจจีนจะเข้ามารุกตลาดสถาปนิกไทยเต็มรูปแบบ ไม่เพียงแต่ขายผ่านตัวแทนจำหน่ายเช่นเดิมและราคาถูกมาก ภาวุธ มองอีกว่า สิ่งที่น่ากังวลคือ สินค้าจีนราคาถูกกว่าสินค้าไทย แต่คุณภาพใกล้เคียงกัน จึงจะเกิดการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น หากยังไม่มีแนวทางรับมือหรือแก้ไข วงการสถาปนิกไทยจะสู้จีนไม่ได้
จากการที่นักท่องเที่ยวจีน นิยมมาเที่ยวประเทศไทยเป็น อย่างมาก จนทำให้นักธุรกิจชาวจีนบางกลุ่ม มองเห็นโอกาส ในการมาลงทุนทำธุรกิจกับคนจีนที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย แต่ปัญหาที่ตามมากับกลุ่มทุนเหล่านี้คือ การมาทำธุรกิจผิดกฎหมาย หรือการมาทำธุรกิจต้องห้ามต่าง ๆ แล้ว เราควรรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร ?
ธุรกิจนายหน้ารับจ้างอุ้มบุญ-สวมบัตรของกลุ่มทุนจีนสีเทา เริ่มต้นจากคดีอุ้มเรียกค่าไถ่ของคนจีนด้วยกัน ตอนนี้ตำรวจขยายผลพบชาวจีนกว่า 20 คน มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของนายหน้าหญิงจีนสัญชาติไทยทุกคนถือ "บัตรสีชมพู" หรือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย บัตรนี้ถูกมองว่าใช้เป็นใบเบิกทางอยู่ต่อในประเทศไทย ควบคู่กับการขอวีซ่าอุปการะบุตรสัญชาติไทย หนึ่งในวิธีการฟอกสัญชาติให้ทุนจีนสีเทาในอนาคต