การปกครองภายใต้รัฐบาลทหารยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ หากมาวิเคราะห์การปกครองของเมียนมาในมุมมองทางประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และความขัดแย้งที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงความคิดเห็นมุมมองของนักวิชาการด้านกฏหมายมหาชน ต่อเมียนมา
นับตั้งแต่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารเมื่อ 3 ปีที่แล้ว "ออง ซาน ซู จี" ก็ถูกควบคุมตัวและต้องโทษจำคุกนานถึง 27 ปีจากกว่า 10 ข้อหา แต่จนถึงปัจจุบันแทบไม่มีใครได้พบตัวอดีตผู้นำรัฐบาลพลเรือนคนนี้เลย ล่าสุดมีข่าวว่าทางการย้ายเธอออกจากเรือนจำไปกักตัวที่บ้านพักแทน
แม้จะยังบอกไม่ได้ว่าเมียนมาจะรับข้อเรียกร้องของทูตพิเศษอาเซียน ที่ขอไม่ให้ขัง "ออง ซาน ซู จี" ในเรือนจำ หรือไม่ แต่สื่อมวลชนอาวุโสที่ติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิด คาดการณ์ว่าเดือนหน้ารัฐมนตรีอาเซียนที่เข้าไปเยือนเมียนมา อาจจะได้พบ "ออง ซาน ซู จี"
ผู้นำรัฐทหารเมียนมาพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีจีนในเมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน ซึ่งจีนใช้โอกาสนี้ย้ำถึงการสนับสนุนเมียนมาของจีน นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาเดินทางไปจีน นับตั้งแต่ก่อรัฐประหารเมื่อต้นปี 2021 และทำให้ประเทศตกอยู่ในห้วงความรุนแรงมาตั้งแต่นั้น
พุดคุยกับ #นพดลปัทมะ ถึงสถานการณ์การสู้รบ ระหว่างกองกำลังฝ่ายต่อต้านกับรัฐบาลทหารเมียนมาที่มีแนวโน้มบานปลาย ไทยซึ่งเป็นประเทศที่ต้องรับกลุ่มคนเหล่านี้จะมีแผนการรองรับอย่างไร ? ชมรายการจับตาสถานการณ์ ที่ www.thaipbs.or.th/program/khaoTieng/episodes/101001
3 ปี หลังจากมีการ #รัฐประหาร รัฐบาลพลเรือน ที่นำโดย ออง ซาน ซู จี โดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ทำให้ทั่วโลกมุ่งความสนใจตรงไปที่เมียนมามากขึ้น จนมาถึงวันนี้ ความขัดแย้งใน #เมียนมา ก็ยังทวีความรุนแรง จากการสู้รบ ระหว่าง ชนกลุ่มน้อย กับ #รัฐบาลทหารเมียนมา