สำรวจความเป็นมาในอีกมุมของวังหน้ากับการวางรากฐานการศึกษาด้านนาฏกรรม จากการตั้ง “โรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์” สู่ “โรงเรียนนาฏศิลป” และพัฒนาเป็น “วิทยาลัยนาฏศิลป” อันเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตครูและบุคลากรสายอาชีพ ในด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และมีการขยาย “วิทยาลัยนาฏศิลป” ออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ยังคงสำรวจเรื่องราวในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ “วังหน้า” โดยมีใจความอยู่ที่การเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นบ้านเมืองในยุคสยามใหม่ ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา สยามเกิดการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาบ้านเมืองอย่างเด่นชัด ทั้งจากการเข้ามาของชาติตะวันตก รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ จนเรียกได้ว่า นี่คือจุดเริ่มต้นของยุคสยามใหม่ การเปลี่ยนผ่านในห่วงเวลาเหล่านั้นมีเสน่ห์ที่น่าสนใจมากมายเกิดขึ้น
“วังหน้า” หรือพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งปัจจุบัน คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอดีตนั้นถือเป็นต้นกำเนิดของงานศิลป์ในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโขนและละคร จากรากสู่เราชวนทุกคนมาทำรู้จักกับ “วังหน้า” ในหลากหลายความหมาย ความสำคัญ และบทบาทหน้าที่ในอดีต แม้ว่าในช่วงต้นรัชสมัยดังกล่าวยังมีการรบ - การศึกอยู่ แต่ศิลปะการละครในช่วงเวลานั้นกลับเป็นยุคที่รุ่งโรจน์และเฟื่องฟู เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ?
ฟังมุมมอง “คุณใหม่ สิริกิติยา เจนเซน” คุณค่าของประวัติศาสตร์ และภารกิจความเป็นผู้อำนวยการโครงการวังหน้า เพื่อทำให้คนเข้าถึงประวัติศาสตร์ อย่างมีชีวิตชีวา ติดตามชมในรายการตอบโจทย์ วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2561 เวลา 21.40 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live