ที่ผ่านมารัฐโอนเงินหมื่นให้กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปแล้วกว่า 7.4 ล้านคน โดยรัฐเชื่อว่าโครงการนี้จะทำให้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ แต่นักวิชาการมองว่าเกิดแค่ "ลมพัดผ่าน" จังหวะพอดี ร้านสะดวกซื้อชื่อดังเริ่มให้สแกนจ่ายผ่านแอปฯ ธนาคาร
จ่ายเงิน 10,000 บาท ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ วันที่ 3 คึกคัก ผู้รับเงินบางส่วนเตรียมนำเงินไปใช้หนี้ ขณะที่คลังเผย 26 ก.ย.โอนเงินไม่สำเร็จ 141,062 คน รวม 2 วัน 190,445 คน แนะผู้มีสิทธิเร่งผูกบัญชีพร้อมเพย์ แก้ไขบัญชี ภายใน 18 ต.ค.นี้
กลุ่มผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถือเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้การแจกเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จากรัฐบาล ซึ่งมีอยู่ประมาณ 13.5 ล้านคน แต่มีข้อมูลที่ระบุว่าจากจำนวนนี้มีถึง 80% ไม่ได้จนจริง แล้วแบบนี้จะแก้ปัญหาความยากจนได้จริงหรือไม่
นโยบายเรือธง ของรัฐบาลเศรษฐา เริ่มวันแรก แอป "ทางรัฐ" ก็เกิดปัญหา ติด ๆ ขัด ๆ จนแอปล่มในที่สุด สารพัน "หัวจะปวด" กับการลงทะเบียนผ่านแอป "ทางรัฐ" นี่ยังไม่นับรวมวันแจกเงิน ที่ไม่แน่ชัดว่าประชาชน จะได้เงินดิจิทัลเดือนไหน ? หรือมันจะเกี่ยวข้องกับที่มาของเงิน ? มาฟัง ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส วิเคราะห์ ในรายการ มุมการเมือง
วันนี้ (31 ก.ค. 67) นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.การคลัง กล่าวถึงกรณีที่แอปพลิเคชันทางรัฐล่ม ประชาชนไม่สามารถเข้าลงทะเบียนยืนยันตัวตนได้ว่า ระบบไม่ได้ล่ม หรือปิดระบบเพราะมีปัญหา แต่จะมีการปิด เพื่ออัปเดตเวอร์ชัน หรือรีเซตระบบ ในคืนนี้ (31 ก.ค. 67) เวลา 19.00 - 22.00น. เพื่อเชื่อมต่อกับระบบทะเบียนราษฎร์ เลขบัตรประชาชน และหน้าตาของผู้ลงทะเบียน ว่าตรงกันหรือไม่ และจะเปิดให้ประชาชน เริ่มลงทะเบียนรับสิทธิ์ พรุ่งนี้ (1 ส.ค. 67) เวลา 08.00 น.
ก่อนการประชุมพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม มีความเคลื่อนไหวจากทางฝ่ายค้าน ที่นำร่างกฎหมายนี่มาถกเถียงกันในที่ประชุมวิปก่อนแล้ว เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ 2 ประเด็นที่ฝ่ายค้านเกาะติดเรื่อยมา นั่นคือการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ และการผลักดันโครงการเงินดิจิทัล ซึ่งกฎหมายที่กำลังจะพิจารณากันก็เกี่ยวกับ 2 เรื่องนี้
เผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช. กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี จะแถลงความคืบหน้าโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ด้วยตัวเอง วันที่ 24 กรกฎาคม โดยจะทราบถึงวัน-เวลาที่ประชาชน และร้านค้าลงทะเบียน รวมถึงสินค้าที่สามารถซื้อได้ และยังย้ำถึงความจำเป็นที่รัฐบาล ต้องเตรียมแผนรองรับ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ภายหลังจากที่มีการประชุมหารือไปหลายรอบสุดท้ายได้ข้อสรุปเป็นหลักการ ของโครงการเงื่อนไขผู้ที่ได้รับ 50 ล้านคน อายุ 16 ปีขึ้นไป มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 840,000 บาท มีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท และจะต้องมีการลงทะเบียนผ่าน Application บน Smartphone ส่วนการใช้จ่าย จะใช้จ่ายในเขตอำเภอตามทะเบียนบ้าน และใช้ในร้านค้าปลีกขนาดเล็ก โดยรายละเอียดกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นผู้กำหนดว่าร้านค้าขนาดเล็กหมายถึงร้านใดบ้าง และประชาชนมีกรอบนี้เวลาการใช้จ่ายเงิน 10,000 บาทภายใน 6 เดือน เพื่อให้จบในโครงการ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยืนยันแหล่งที่มาของเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่จะเริ่มต้นโครงการในปีนี้ ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หากต้องการดูแผนงาน ขอให้เป็นไปตามกระบวนการ ติดตามข่าวสำคัญ สถานการณ์เด่นในรอบวันกับ #ThaiPBS ได้ที่ www.thaipbs.or.th/news
รัฐบาลภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน เปิดแถลงข่าวความชัดเจนโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ว่าจะถึงมือประชาชน 50 ล้านคน ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ด้วยแหล่งที่มางบประมาณ 3 แหล่ง คือดึงจากงบปี 67 จำนวน 175,000 ล้าน งบปี 68 อีก 152,700 ล้าน และ ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท ยังคงเงื่อนไขคนรับสิทธิ์ ร้านสะดวกซื้อร่วมได้ โดยประชาชนจะใช้จ่ายเงินดิจิทัลผ่านช่องทาง "ซูเปอร์แอปฯ" ที่รัฐบาลจัดทำขึ้นใหม่ การแบ่งที่มาของเงินเป็น 3 กอง เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะการใช้เงินจาก ธ.ก.ส. และจะมีปัญหาในเรื่องของการบริหารงบประมาณไหม พูดคุยกับ รศ. อนุสรณ์ ธรรมใจ ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลฯ ม.หอการค้าไทย
ความชัดเจนเรื่องแหล่งที่มาของเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังนายกฯ แถลงแหล่งเงินทำโครงการ Digital Wallet วงเงิน 5 แสนล้านบาท ดึงจากงบปี 67 จำนวน 175,000 ล้าน งบปี 68 อีก 152,700 ล้าน และ ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท ยังคงเงื่อนไขคนรับสิทธิ์ ร้านสะดวกซื้อร่วมได้ พูดคุยกับ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากการใช้เงินงบประมาณลักษณะนี้ และแนวโน้มกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่
หลังจากรัฐบาลเคาะเดินหน้าแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทโดยจะเริ่มไตรมาส 4 ให้กับ 50 ล้านคนที่จะได้สิทธิ โดยจะพัฒนาระบบ Super App ของรัฐบาลให้สามารถใช้จ่ายได้กับธนาคารอื่น ๆ ในลักษณะ Open Loop แต่ก็มีคำถามว่าทำไมรัฐบาลไม่ใช้แอปฯ เป๋าตัง ที่มีอยู่แล้ว มาใช้ในการแจงเงินดิจิทัลวอลเล็ต พูดคุยกับ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ความชัดเจนเรื่องแหล่งที่มาของเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังนายกฯ แถลงแหล่งเงินทำโครงการ Digital Wallet วงเงิน 5 แสนล้านบาท ดึงจากงบปี 67 จำนวน 175,000 ล้าน งบปี 68 อีก 152,700 ล้าน และ ธ.ก.ส. 172,300 ล้านบาท ยังคงเงื่อนไขคนรับสิทธิ์ ร้านสะดวกซื้อร่วมได้ ด้าน ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวภายหลังจากนายกฯ แถลงนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต บอกว่า อยากฝากรัฐบาล เมื่อยืนยันโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะได้ใช้ในไตรมาส 4 ไม่เลื่อนแน่นอน อยากเห็นแผนงานทั้งหมด
Thai PBS ชวนมาวิเคราะห์ "การประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต" ที่นายกฯ เศรษฐา จะเป็นประธานนั่งหัวโต๊ะ เคาะสรุปรายละเอียดโครงการ และที่มาของเงิน หลังตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนตามข้อเสนอแนะจาก ปปช. และแบงก์ชาติ ความเป็นไปได้อย่างไหน ที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นมากที่สุด