นายกรัฐมตรี ประชุมทวิภาคี "สี จิ้นผิง" ยืนยันสนับสนุนไทยในเวทีระดับโลกทุกมิติ พร้อมแชร์ประสบการณ์อุตสาหกรรมสมัยใหม่ ระหว่างกันเพื่อเศรษฐกิจไทยเติบโต เตรียมเปิดการนำเข้าสินค้าไทยเพิ่ม พร้อมอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากปักกิ่ง ประดิษฐานท้องสนามหลวง 4 ธ.ค.นี้
รับตำแหน่งนายกฯ ได้ประมาณ 2 เดือน แม้จะถูกวิพากวิจารณ์ในหลายด้าน แต่ถ้าดูจากผลโพลล่าสุดของดุสิตโพล น.ส.แพทองธาร ชินวัตรจากพรรคเพื่อไทย กลับได้ใจประชาชนเรื่องแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-เศรษฐกิจ เช่นเดียวกับฝ่ายค้านอย่างนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ จากพรรคประชาชน
นายกรัฐมนตรี ยังคงปฏิบัติภารกิจ ในช่วงการประชุมเอเปค ที่สาธารณรัฐเปรู โดยได้ร่วมหารือกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เพื่อขยายความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจและการค้าการลงทุน ระหว่างกันให้มากขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนสองประเทศ ชมคลิป ข่าวเที่ยง ที่ www.thaipbs.or.th/program/Middaynews/videos/clip
จับตาความเคลื่อนไหวหลังการพบกันระหว่าง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายเนวิน ชิดชอบ จะเป็นการเคลียร์ใจกับประโยค “มันจบแล้วครับนาย” สู่ดีลทางการเมืองเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ วิเคราะห์ไปกับ เสาวลักษณ์ วัฒนศิลป์ บรรณาธิการข่าวการเมือง
แหล่งข่าวในพรรคร่วมรัฐบาล ยอมรับเป็นเรื่องจริง กรณีนายอนุทิน ชาญวีรกูล ควงนายเนวิน ชิดชอบ เข้าบ้านจันทร์ส่องหล้า พบนายทักษิณ ชินวัตร แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่ใช่ครั้งแรก เพราะบุคคลทั้งสอง เจอกันหลายครั้งแล้ว นับแต่พรรคเพื่อไทยกับพรรคภูมิใจไทยจับมือกันจัดตั้งรัฐบาล
"แพทองธาร" นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมด่วน และเตรียมลงพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ พรุ่งนี้ (13 ก.ย. 67) หลังสั่งการบูรณาการช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยเร็วที่สุด พร้อมเตรียมเร่งรัดการเยียวยา และย้ำถึงการแจ้งเตือนภัย ต้องชัดเจนและทันท่วงที
วันนี้ (10 ก.ย. 67) ผศ. สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต มอง 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ไม่มีเรื่องปรองดอง และไม่มีพูดถึงในแผนระยะกลาง และระยะยาว ทั้งที่ตอนตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว บอกว่าตั้งเพื่อการปรองดอง จึงสงสัยนโยบายปรองดองหายไปหลังนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ได้ใบบริสุทธิ์หรือไม่ ผศ. สุริยะใส มองกรณีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ร่วมรัฐบาล ก็แค่ปรองดองในทางการเมือง แต่ในทางประชาชนยังคงร้าวลึกอยู่ ยังไม่ถูกชำระสะสาง ฉะนั้นจึงต้องถามว่าปรองดองเพื่อใคร ข้ามขั้วเพื่อใคร ส่วนกรณีการยื่นคำร้อง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ที่มีการยื่นไปแล้ว 10 กว่าคำร้องนั้น ผศ. สุริยะใส กล่าวว่า มองว่ามีทั้งคำร้องที่มีน้ำหนัก และไม่มีน้ำหนัก ในส่วนคำร้องที่ไม่มีน้ำหนัก สุดท้ายอาจไปสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล ส่วนคำร้องที่มีน้ำหนัก และอาจเป็นอันตราย อาทิ คำร้องครอบงำพรรคการเมือง เป็นต้น
หลายพื้นที่ในประเทศไทยกำลังประสบอุทกภัย ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก ปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำซากทุกปี เหตุส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน อีกส่วนคือแผนบริหารจัดการ พบว่าเรื่องการรับมือภัยพิบัติ น้ำท่วม น้ำแล้ง และการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย ไม่มีใน 10 นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ว่าจะจัดการเรื่องเหล่านี้อย่างไร
นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร กำลังเจอกับโจทย์เดียกันที่อดีตนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ต้องเผชิญ นั่นคือคำร้องเรียนที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งหากศาลพิจารณาข้อกล่าวหาแล้วพบงว่ามีความผิด ก็อาจมีโทษถึงขั้นพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จุดหนึ่งที่ต่างกันระหว่างทั้งสองคน คือ เศรษฐา ทำงานมาเกือบปี ถึงโดนยื่นร้องเรียน แต่กับ นายกฯ แพทองธาร ยังไม่ทันเริ่ม โดนซะแล้ว ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
วันนี้ (7 ก.ย. 67) มี 3 กลุ่มการเมือง ที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มต่อต้านการเมืองระบบเครือญาติ จัดกิจกรรมที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ประกอบด้วย กลุ่มกองทัพธรรม, เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) สำหรับแนวทางการเคลื่อนไหวของทั้ง 3 กลุ่ม ก่อนหน้านี้คือความไม่เท่าเทียมในกระบวนการยุติธรรม จากกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร ไม่เคยเข้าเรือนจำแม้แต่วันเดียว แต่ก่อนหน้านั้นอีก ก็เคยเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มพันธมิตรฯ และ กปปส. ต่อต้าน-คัดค้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ในยุคอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร