ข่าวการพบซาก "ฮวาลดิเมียร์" เบลูกาที่ถูกมนุษย์คาดเดาเอาเองว่าเป็น "วาฬสายลับ" ของรัสเซีย ทำเอาหลายคนสงสัยโลกยุค 5G ยังใช้สัตว์เป็นสายลับกันอยู่หรือ? แต่ในอดีตโครงการคิดค้นสัตว์สายลับกลับมีอยู่จริง และทุ่มงบจริงจังเพื่อสร้างสปายไปกว่า 20 ล้านเหรียญเลยด้วย
การวางยาสลบแมวเพื่อเข้าฉากตายให้สมจริง สำหรับคนรักแมวและคนดูทั่วไปแล้ว คุ้มค่าหรือไม่ดูได้จากเทรนด์ x ที่ #แบนแม่หยัว ขึ้นอันดับ 1 พร้อมเสียงวิจารณ์แบบเอกฉันท์ กรณีนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกหรือไม่ กลายเป็นคำถามที่หลายคนอยากตามต่อ ขณะที่ คนในวงการถ่ายทำบอกว่าที่จริงแล้ว มีทางเลือกอีกหลายทาง หากต้องการถ่ายฉากสัตว์ที่มีความเสี่ยง
ยังคงติดเทรนด์โซเชียล สำหรับ #แบนแม่หยัว จากกรณีมีภาพ "แมว" กระตุก เกร็ง ขณะร่วมเข้าฉากแสด ล่าสุด ช่องวัน 31 ออกแถลงการณ์ ยืนยันคำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยสัตว์เป็นสำคัญ พร้อมมีผู้เชี่ยวชาญดูแล ขณะที่สัตวแพทย์ระบุ การวางยาสลบมีความเสี่ยง ต้องเตรียมตัวสัตว์อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง
สภากรุงเทพมหานครผ่านร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการควบคุมการเลี้ยงสัตว์ โดยกำหนดให้สุนัขและแมวจะต้องฝังไมโครชิป เพื่อระบุตัวตนและใช้สำหรับติดตามตัว พร้อมกำหนดจำนวนสัตว์เลี้ยง ต่อขนาดของพื้นที่อยู่อาศัย เช่น •พื้นที่อาคารชุดหรือห้องเช่า 20-80 ตารางเมตรขึ้นไป จะเลี้ยงได้ไม่เกิน 1 ตัว หรือหากเลี้ยงเกิน จะเลี้ยงได้ไม่เกิน 2 ตัว, •ส่วนที่ดินไม่เกิน 20 ตารางวา จะเลี้ยงได้ไม่เกิน 2 ตัว, •เนื้อที่ดิน 20-50 ตารางวา เลี้ยงได้ไม่เกิน 3 ตัว, •เนื้อที่ดิน 50-100 ตารางวา เลี้ยงได้ไม่เกิน 4 ตัว •เนื้อที่ดิน 100 ตารางวาขึ้นไป เลี้ยงได้ไม่เกิน 6 ตัว ทั้งนี้ จะไม่มีบทลงโทษย้อนหลัง กรณีสัตว์ที่เลี้ยงอยู่เดิมเกินจำนวน แต่หากกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้แล้ว
ถึงแม้ในหมู่คนเลี้ยงแมวมักจะพูดกันติดตลกกันว่า แมวเป็นสัตว์โรคจิต แต่ก็มีผลงานวิจัยพฤติกรรมของแมวว่าแมวนั้นมีพฤติกรรมคล้ายคนที่ป่วยทางจิตด้วย โรคไซโคพาธ จริง ๆ เช่น ขาดความเห็นใจผู้อื่น, ขาดความสำนึกผิด, ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว และเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เราก็มักจะเห็นเป็นเรื่องปกติของแมวแทบทุกตัวอยู่แล้ว แต่ในเมื่อคนก็ป่วยเป็นโรคจิตเภทได้ แมวเองก็ไม่ต่างกัน เพราะเราต่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสมอง มีระบบประสาทกันทั้งสิ้น เพียงแต่พฤติกรรมของแมวที่ป่วยด้วยโรคจิตเภทจะสังเกตได้อย่างไรบ้าง ร่วมพูดคุยกับ นายสัตวแพทย์เกษตร สุเตชะ นายสัตวแพทย์ประจำศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/RuTanKanDai
เรื่องของสุขภาพช่องปากสัตว์เลี้ยงถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากเป็นอวัยวะเริ่มต้นของการนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย หลายคนที่มีสัตว์เลี้ยงอาจไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากพอ ซึ่งจะทำให้สัตว์เลี้ยงมีกลิ่นปากจนส่งผลให้เกิดเป็นโรคอื่น ๆ ได้ ล่าสุดมีข้อมูลว่าสุนัขและแมวหากไม่ได้รับการขูดหินปูนจะมีเสี่ยงเป็นโรคหัวใจซึ่งข้อมูลนี้จะจริงหรือไม่ ? การที่สัตว์เลี้ยงเลียขาเจ้าของจะทำให้เจ้าของติดเชื้อจากแบคทีเรียในช่องปากหรือไม่ จะมีวิธีสังเกตได้อย่างไรว่าสัตว์เลี้ยงมีหินปูนหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ น. สพ.เกษตร สุเตชะ นายสัตวแพทย์ประจำศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือ วัดโพธิ์ เผยวิธีบริหารจัดการให้แมวจร ประมาณ 170 ตัว อาศัยอยู่ในวัดได้โดยไม่รบกวนผู้คน ไม่ทำให้เกิดความสกปรก วัดก็เป็นที่พึ่งให้กับแมวได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่อยากให้ใครนำแมวมาปล่อยที่วัด เพราะหากมากกว่านี้ ก็จะกลายเป็นภาระ
CatsMe! แอปพลิเคชัน AI ในโทรศัพท์มือถือ พัฒนาโดยบริษัทสตาร์ตอัป Carelogy และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Nihon ซึ่งฝึก AI ด้วยภาพแมว 6,000 ภาพ สำหรับช่วยบอกว่าแมวอยู่ในอาการเจ็บปวดหรือไม่ หรือถึงเวลาที่ต้องพาไปหาหมอ แอปฯ นี้มีความแม่นยำมีสูงถึง 95% และน่าจะยิ่งดีขึ้นอีกเมื่อ AI ได้เรียนรู้จากใบหน้าของแมวมากขึ้น
ขนของสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอย่าง สุนัขและแมว นอกจากจะมีความสำคัญในเรื่องความสวยงาม หรือใช้คัดแยกสายพันธุ์แล้ว ปกติขนของพวกมันยังคอยทำหน้าที่รักษาอุณหภูมิในร่างกายให้เหมาะสม แต่พอเข้าสู่ช่วงหน้าร้อนที่ร้อนจัดแบบนี้ ผู้เลี้ยงบางรายอาจกังวลว่าขนที่เยอะมาก ๆ ในสุนัขและแมวบางสายพันธุ์ อาจทำให้พวกมันร้อนมากขึ้น จึงพากันไปโกนขนออกให้โล่งเตียนติดผิวหนัง หวังว่าจะช่วยระบายความร้อนได้ดี เรื่องนี้จะมีข้อเท็จจริงอย่างไร เป็นเรื่องที่ควรทำหรือไม่ ร่วมพูดคุยกับ น.สพ.เกษตร สุเตชะ นายสัตวแพทย์ประจำศูนย์วิจัยและนวัตกรรมทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
เทรนด์ Pet Humanization หรือเลี้ยงสัตว์เป็นลูกกำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจในกลุ่มนี้จะเติบโตได้อีกหรือไม่ ? ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ร่วมพูดคุยในประเด็นนี้กับ ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล