ประเทศไทยพูดถึงแนวคิดเศรษฐกิจ BCG และขับเคลื่อนมาแล้ว โดยเฉพาะประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ในที่ประชุม APEC ปีนี้ก็หยิบยกมาพูดคุยกันต่ออย่างจริงจัง เพราะคาดการณ์ว่า ใน 30 ปีข้างหน้า "ภาวะขาดแคลนอาหารทั่วโลก" จะหนักขึ้น ความต้องการอาหารจะพุ่งสูงถึงร้อยละ 60
ผอ.นิด้าโพล ชี้ ภาพลักษณ์การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปคไม่ใช่ผลงาน และไม่เกื้อหนุนเป็นคะแนนนิยมได้ และในภาวะที่ผลสำรวจชี้ว่า คะแนนนิยมของฝ่ายการเมืองขั้วตรงข้ามรัฐบาลสูงมีโอกาสแลนด์สไลด์ เป็นไปได้ที่นายกฯ จะชิงยุบสภา ไม่เกินเดือน ม.ค.ปี 66
ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าภาครัฐพยายามผลักดันในเรื่องของ soft power เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม ศิลปะ อาหาร เป็นต้น และในการประชุมเอเปคในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดี ที่ประเทศไทยจะได้โปรโมต soft power ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น รัฐบาลได้เลือกนำ “ปลากุเลาจากตากใบ” มาเสิร์ฟขึ้นโต๊ะอาหาร ต้อนรับผู้นำเอเปค ตามคอนเซ็ปต์ Sustainable Thai Gastronomy
เมื่อไม่นานมานี้ เครือข่ายภาคประชาชน จัดเวทีตั้งข้อสังเกตถึงยุทธศาสตร์ BCG ของรัฐบาลว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่เวลานี้ ดูเหมือนจะมีหลายอย่างที่ย้อนแย้งกับเป้าหมาย ที่ต้องการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง สร้างภูมิคุ้มกัน และฟื้นตัวได้เร็ว ด้วยการรักษาและต่อยอดจากทรัพยากร ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี ในมุมภาคประชาชน คาดหวังอยากให้วาระสำคัญที่รัฐบาลตั้งไว้เดินไปอย่างไร ที่คิดว่า ประโยชน์จะเกิดกับคนไทยอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง ชวนพูดคุยกับ ดร.กฤษฎา บุญชัย เลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
การประชุมเอเปคครั้งนี้ มีสำคัญอย่างยิ่งกับประเทศไทย ทั้งการหารือความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการได้แสดงถึงความโดดเด่นในอาหาร ศิลปวัฒนธรรมของไทยต่อผู้นำเขตเศรษฐกิจที่มีประชากรรวมกันถึง 1 ใน 3 ของโลก แต่ต้องยอมรับว่า ในมุมภาคประชาชน ดูเหมือนจะยังมีหลายประเด็นที่เห็นต่าง ซึ่งเวลานี้ ก็มีอย่างน้อย 3 กลุ่ม ที่ขอใช้พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมชุมนุมในช่วงระหว่างการประชุมเอเปค 16-18 พ.ย. 65
การประชุมผู้นำกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค สัปดาห์นี้ไทยพยามผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy เข้าสู่เวทีเอเปก แต่แนวคิดนี้เครือข่ายภาคประชาชนเห็นว่ามีวาระซ่อนเร้น ถูกขับเคลื่อนโดยทุนขนาดใหญ่หลายกลุ่ม ที่เข้าร่วมเป็นกรรมการ ไม่ว่ากลุ่มน้ำตาล อาหาร แอลกอฮอล์ เพื่อกำหนดทิศทางที่ทำให้กลุ่มทุนได้ประโยชน์ หวั่นเป็นการฟอกเขียวและเอื้อประโยชน์กลุ่มทุน
มาดูความพร้อมของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 16-18 พ.ย. 65 เมื่อวานนี้ (14 พ.ย. 65) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยย้ำว่า ขณะนี้มีความพร้อมกว่าร้อยละ 90
เจ้าหน้าที่ตั้งด่านความมั่นคง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในเส้นทางโดยรอบศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC 2022 โดยผู้นำเขตเศรษฐกิจจะร่วมประชุมในระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. 65 นอกจากด่านตรวจ ยังมีมาตรการปิดถนนและตรวจค้น เฝ้าระวังอย่างเข้มงวดอีกด้วย ขณะที่เมื่อวานนี้ (15 พ.ย. 65) เป็นวันสุดท้าย สำหรับเปิดให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การประชุมเอเปค เข้ามาลงทะเบียนเพื่อรับบัตรผ่านเข้า-ออก ตามเส้นทางที่ปิดการจราจรในพื้นที่สถานีตำรวจนครบาลลุมพินี มีประชาชนจำนวนมากเข้ามารอต่อคิว
ด้วยแนวคิดที่จะทำให้ผู้นำเอเปค เกิดความประทับใจและได้ลิ้มรสวัตถุดิบชั้นเลิศที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย ทำให้ในงานเลี้ยงมื้อค่ำรับรองผู้นำ จะมีการรังสรรค์เมนูอาหารฟิวชั่น ที่ผ่านกระบวนการคิดและคัดเลือกมาเป็นอย่างดี โดยเมนูอาหารทุกจาน จะเป็นไปตามแนวคิดหลักของการประชุม คือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล หรือ Open Connect และ Balance
การประชุม APEC เริ่มขึ้นแล้ว ขณะที่การประชุมระดับผู้นำจะเกิดขึ้นในวันที่ 18 และ 19 นี้ แม้จะเป็นเวทีที่ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจ จะมารวมพูดคุยความร่วมมือ การค้าการลงทุน ในหลาย ๆ ครั้งของการประชุม APEC ที่ผ่านมา เราได้เห็นการเคลื่อนไหวของประชาชน ออกมาแสดงจุดยืน ประท้วง เพื่อส่งสารถึงผู้นำต่าง ๆ ติดตามรายงานกับคุณชลัญธร โยธาสมุทร ติดตามชมรายการทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/ThisisThaipbs
วันที่ 18 และ 19 พฤศจิกายนนี้ จะได้เห็นผู้นำเอเปคมาหารือกันที่กรุงเทพมหานคร โดยปีนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพเป็นครั้งที่ 3 การพบกันในครั้งนี้มีความสำคัญอย่างมากในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง เพราะท่ามกลางความตึงเครียดเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครนและวิกฤตพลังงาน ไทยมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน คุณณัฏฐา โกมลวาทิน คุยกับอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคเป็นครั้งที่ 3 ในสัปดาห์หน้า ถือเป็นการประชุมที่เกิดขึ้นท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากปีที่เอเปคก่อตั้งขึ้น เพราะมีความตึงเครียดเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน และวิกฤตเศรษฐกิจโลก แต่ท่ามกลางความต่าง ไทยพยายามนำเสนอวาระด้านสิ่งแวดล้อม คุณณัฏฐา โกมลวาทิน คุยกับอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์
อีกเพียง 4 วัน การประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ APEC จะเปิดฉากขึ้น ฝ่ายความมั่นคงเดินหน้าซักซ้อมรับมือเหตุความวุ่นวาย พร้อมขอให้กลุ่มเคลื่อนไหวไม่ดำเนินการใด ๆ ที่จะกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศ ขณะที่กลุ่มที่ใช้ชื่อว่า ราษฎรหยุดเอเปค ก็ประกาศเดินหน้าเวทีคู่ขนาน ติดตามกับ คุณกัญญาณัฐ์ เตโชติอัศนีย์
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ชุมชนแออัด ที่อยู่ห่างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ไม่กี่ร้อยเมตร ถูกจัดระเบียบให้สวยงามเพื่อต้อนรับการประชุมของผู้นำโลก แต่ในอดีตชุมชนนี้ เคยถูกจัดระเบียบไล่รื้อมาแล้วถึง 2 ครั้ง คุณจิราพร คำภาพันธ์ ไปดูความเปลี่ยนแปลงของชุมชน ซึ่งครั้งนี้ชาวบ้านบอกว่าอาจจะไม่ต้องถึงขั้นนำสังกะสีมาปิดบังชุมชนไว้เหมือนในอดีต ชมย้อนหลังรายการข่าวค่ำมิติใหม่ ได้ทาง www.thaipbs.or.th/EveningNews
การจัดการประชุม APEC ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า นับเป็นการจัดประชุมครั้งที่ 29 ของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิค จากการประชุมนอกรอบของประเทศเขตเศรษฐกิจสำคัญที่ไปร่วมประชุมอาเซียน กลายมาเป็นความร่วมมือเขตเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการค้าเกือบครึ่งหนึ่งของโลก APEC มีความเป็นมาอย่างไร ติดตามรายงานกับ คุณชลัญธร โยธาสมุทร
การปรับปรุงทัศนียภาพหน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานที่จัดงานประชุมเอเปก สร้างกระแสฮือฮาในสังคมออนไลน์ไม่น้อย โดยเฉพาะการรื้อถอนเสาไฟ -จัดระเบียบสารสื่อสาร ทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว คุณจิราพร คำภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอส ไปสำรวจควาเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ตำรวจเตรียมกำลัง 3 หมื่นนาย รักษาความเรียบร้อย การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปก 2022 และกระจายกำลังโดยรอบทั้งพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมลฑล พร้อมเตรียมหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดมาประจำการ และนำสุนัขตำรวจไว้ตรวจจับสิ่งของต้องสงสัย ติดตามชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" ได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/WanmaiThaiPBS
เหตุการณ์ 13 หมู่ป่า ติดถ้ำหลวงเชียงราย เมื่อ 4 ปีที่ผ่านมา มีอาสาสมัครทั้งในและนอกประเทศ ต่างเชื้อชาติและศาสนา อาสาเข้ามาช่วยเหลือ มีวัตถุประสงค์เดียวร่วมกันนำ 13 หมูป่าออกมาจากถ้ำหลวงอย่างปลอดภัย เรื่องราวของ 13 หมูป่า น่าจะเป็นภาพสะท้อนหนึ่งที่สื่อให้เห็นถึงความร่วมมือร่วมใจกันของคนหลากหลายเชื้อชาติ เพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน เช่นเดียวกัน การเดินทางมาประชุมกันของผู้นำจากประเทศต่างๆ ในการประชุมสุดยอดผู้นำที่กำลังจะเกิดขึ้น ติดตามจากรายงาน คุณโกวิทย์ บุญธรรม
ชุมชนวัวลาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่มีชื่อเสียงหลายคนอาจรู้จักในชื่อของชุมชนที่ตั้งของถนนคนเดินในเมืองเชียงใหม่ แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินขึ้นชื่อเชียงใหม่มานานนับร้อยปี และล่าสุดงานศิลปะการ "ดุนโลหะ" ของที่นี่ ได้สร้างชื่อกลายเป็นของที่ระลึกที่สำคัญของการประชุมเอเปค
คุณผู้ชมที่มีธุระ หรือความจำเป็นต้องใช้ถนนรัชดาภิเษก ใกล้กับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ช่วงระหว่างการประชุมเอเปคกลางเดือนนี้ อาจต้องรีบลงทะเบียนภายในวันนี้ หลังตำรวจเตรียมปิดการจราจร และจะอนุญาตเฉพาะรถที่ได้รับอนุญาตผ่านเข้า-ออกเท่านั้น ติดตามชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" ได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/WanmaiThaiPBS
อีกราว 2 สัปดาห์ ผู้นำและผู้แทนจาก 21 เขตเศรษฐกิจ จะมาร่วมประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอแปค ขณะที่เสียงสะท้อนภาคประชาสังคม ผู้แทนภาคการเมืองและกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ การประชุม APEC ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ มองไปไกลกว่าเรื่องธุรกิจ ติดตามรายงานกับคุณชลัญธร โยธาสมุทร ติดตามชมรายการทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/ThisisThaipbs
ช่วง 10 วันในเดือนพฤศจิกายน 8 ถึง 19 พฤศจิกายน สายตาของทั้งโลก ในเชิงการทูต จะจับจ้องมาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะจะมีการประชุมระดับใหญ่ ที่ผู้นำระดับโลกเข้าร่วม คือ ASEAN, G-20 และ APEC โดยทำเนียบขาวยืนยันแล้วว่าไบเดน จะร่วมประชุมที่กัมพูชา และอินโดนีเซีย และส่งรองประธานาธิบดีแฮร์ริส มาไทย ในงานประชุมเอเปค ติดตามชมรายการทันโลก กับ ที่นี่ Thai PBS ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมย้อนหลังได้ทาง http://www.thaipbs.or.th/ThisisThaipbs
ในระหว่างวันที่ 19 - 20 ตุลาคมนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ซึ่งจะหารือเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินและการใช้เทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 250 คน จาก 21 เขตเศรษฐกิจเอเปก และองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ