การย้ายถิ่นของเเรงงานข้ามชาติ
ด้วยสภาพทางเศรษฐกิจ เเละสังคมที่โดดเด่น ทำให้ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ มีเเรงงานข้ามชาติ เข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเเรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่ สัญชาติพม่า ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจมีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่มากถึง 200,000 คน
จาย ชีนะ เเรงงานชาวไทใหญ่คนนี้ จากถิ่นฐานเข้ามาทำงานอยู่ที่เชียงใหม่มานานกว่า 10 ปีเเล้ว ด้วยเหตุผลที่เชื่อว่างานในประเทศไทยจะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเขา เเละครอบครัวดีขึ้น ทุกวันนี้ เขาจึงเช่าที่ดินจากเจ้าของที่รายหนึ่งปลูกดอกไม้เมืองหนาวเลี้ยงชีพ เเละเเบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับเด็กๆ ชาวไทใหญ่ ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ในวันเสาร์ เเละวันอาทิตย์
เช่นเดียวกับ อ่อมฟ้า ดอยลาย ครูอาสาสมัครชาวไทใหญ่คนนี้ กล่าวว่า ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดเชียงใหม่ เพราะต้องการเเสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในการทำงาน เเละความปลอดภัยในชีวิตเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เขาต้องย้ายถิ่นฐานจากบ้านเกิดเข้ามาทำงานที่นี่
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เเละสังคมเป็นสิ่งที่นักวิชาการด้านประชากร เเละสังคมมองว่านี่เป็นปัจจัยที่ดึงดูดเเรงงานข้ามชาติ โดยเฉพาะเเรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านต้องการเข้ามาทำงานเป็นจำนวนมาก เเต่เเนวทางการจัดการเเรงงานข้ามชาติ กลับไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเเรงงานเหล่านี้อยู่
เเนวทางการผลักดันเเรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ ส่งกลับประเทศต้นทาง เเละใช้รูปเเบบการนำเข้าตามเอ็มโอยู เรื่องนี้นักวิชาการด้านประชากร เเละสังคมวิเคราะห์ว่ามาตรการดังกล่าวอาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการผลักดันเเรงงานข้ามชาติจำนวนมากสู่วงจรการค้ามนุษย์ เเละการถูกเอารัดเอาเปรียบที่เป็นผลจากการไม่มีสถานะตามกฎหมาย
เเนวทางการจัดการเเรงงานข้ามชาติที่ยังไม่ครอบคลุม เเละคำนึงถึงผลกระทบทุกด้านเป็นสิ่งที่ภาคประชาสังคมอยากให้รัฐบาลไทย เเละประเทศต้นทางมีการทบทวนมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเเรงงานข้ามชาติให้รอบด้าน โดยร่วมกันศึกษาพิจารณา เเละพัฒนาถึงกระบวนการจ้างเเรงงานข้ามชาติที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง