เตือนเฝ้าระวัง
สศอ. คาดการณ์"จีดีพี"ภาคอุตสาหกรรมปี 2556 ขยายตัวร้อยละ 4.0
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมคาดการณ์การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในปี 2556 โดย จีดีพีจะขยายตัวร้อยละ 4 - 5 ส่วน MPI จะขยายตัวร้อยละ 3.5 - 4.5 เตือนผู้ประกอบการเฝ้าระวังค่าเงินบาทแข็งตัวและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจากวิกฤตเศรษฐกิจ ที่คาดว่ากระทบต่อการส่งออกโดยรวม
ดร.ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คาดการณ์การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในปี 2556คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัวร้อยละ4- 5 ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (ManufacturingProduction Index หรือ MPI) จะขยายตัวร้อยละ 3.5- 4.5 โดยมีปัจจัยบวก คือ การขับเคลื่อนหลักจากการบริโภคและการลงทุนภาครัฐ และการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ อาทิ นโยบายรถยนต์คันแรกการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแรงกดดันด้านราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และการเติบโตประเทศเศรษฐกิจใหม่ภูมิภาคเอเชีย และอาเซียน
แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมที่ผู้ประกอบการจะต้อง เฝ้าระวังไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจากวิกฤตเศรษฐกิจ การแข็งค่าของเงินบาทและค่าแรง 300 บาท ที่มีผลใช้ทั่วประเทศในต้นปีที่ผ่านมา โดยผลจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น1 บาท หรือแข็งค่าขึ้น ร้อยละ 3.26 (จากต้นปี เทียบกับวันที่ 2 ม.ค. 2556)ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งปี 2556 ลดลง 197,618 ล้านบาท ทำให้การส่งออกรวมลดลง ร้อยละ 2.8 และส่งผลให้ GDP อุตสาหกรรม 2556 ลดลงประมาณร้อยละ 1
โดยค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม 3กลุ่ม คือ กลุ่มที่1 การส่งออกมาก และการนำเข้าน้อย ยางเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มที่ 2 การส่งออกมาก และการนำเข้ามาก อุปกรณ์การแพทย์ อัญมณีเครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มที่ 3การส่งออกน้อย และการนำเข้ามากเคมีภัณฑ์ เหล็ก
สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) ในเดือนธันวาคม 2555ขยายตัวร้อยละ 23.4 โดยยังคงได้รับ อานิสงส์จากฐานที่ต่ำในเดือนธันวาคม2554 ที่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่งเริ่มฟื้นตัวจากอุทกภัย ส่งผลให้ ไตรมาสที่ 4/55 ขยายตัวร้อยละ 44.0 และภาพรวมทั้งปี2555 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ทั้งนี้เนื่องจาก การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยในเดือนธ.ค. 2555 ขยายตัวร้อยละ 22.8เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนภาพรวมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปี 2555การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยตลาดส่งออกที่สำคัญที่ยังขยายตัว คือตลาดอาเซียน จีน สหรัฐ
ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าวถึง แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ ปี 2556 ว่า คาดว่าจะมีการขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์ต้องเร่งผลิตเพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า โดยคาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์2,500,000 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.57 การส่งออกรถยนต์ 1,250,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 22.18ส่วนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศคาดว่าจะลดลงร้อยละ 12.31 เนื่องจากสิ้นสุดนโยบายรถยนต์คันแรก
ทั้งนี้สถานการณ์อุตสาหกรรมรายสาขาในปี2556มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมเหล็ก คาดว่าจะมีความต้องการใช้เหล็กปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนจากต่างประเทศเนื่องจากประเทศไทยเป็นฐานการผลิตที่ดี ที่จะกระจายสินค้าไปยังตลาดในภูมิภาคอาเซียนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าการผลิตจะขยายตัวได้ร้อยละ5 เมื่อเทียบกับปี 2555 เนื่องจากมีความต้องการในประเทศเพิ่มขึ้นตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ทำให้กำลังซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น
ส่วนแนวโน้มการผลิตและการส่งออกในปี2556 คาดว่าจะมีปัจจัยลบ อาทิ ความไม่แน่นอนในภาวะ เศรษฐกิจโลกรวมถึงวิกฤตหนี้สาธารณะในกลุ่มสหภาพยุโรป ที่ยังส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคอย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยบวก ซึ่งคาดว่าตลาดอาเซียนจะเติบโตได้ดีและตลาดเกิดใหม่ในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซียอินเดีย และจีน) จะเป็นตลาดสำคัญในการเติบโตของตลาดโลก ดังนั้นจากปัจจัยลบและปัจจัยบวกดังกล่าวจึงคาดว่าการส่งออกในปี 2556 อาจลดลงเล็กน้อยโดยคาดว่าการส่งออกเส้นใยฯ จะลดลงร้อยละ 2.07 เสื้อผ้าสำเร็จรูปจะลดลงร้อยละ 0.42สำหรับผ้าผืน คาดว่าจะส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียน
สำหรับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแนวโน้มการผลิตอุตสาหกรรมอาหารในภาพรวม ปี 2556 คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี2555 ประมาณร้อยละ 5.5 เนื่องจากแม้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศในสหภาพยุโรปจากปัญหาหนี้สาธารณะแต่ผู้บริโภคยังมีกำลังซื้ออยู่และปัญหาไม่น่าจะขยายตัวต่อไปยังตลาดนำเข้าอื่น ๆมากนัก นอกจากนี้การจำหน่ายในประเทศจะยังช่วยประคับประคองภาคอุตสาหกรรมจากระดับการว่างงานที่ต่ำ และมีการปรับค่าแรงและเงินเดือน ส่งผลให้การบริโภคในประเทศยังคงมีการขยายตัวได้ในระดับหนึ่งสำหรับแนวโน้มการส่งออกปี2556 คาดว่า จะขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 4.7