ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

การย้ายถิ่นชาวซาไก ปัจจัยเสี่ยงแพร่ระบาดโรคติดต่อ

16 ก.ค. 56
14:12
524
Logo Thai PBS
การย้ายถิ่นชาวซาไก ปัจจัยเสี่ยงแพร่ระบาดโรคติดต่อ

การติดเชื้อไทฟอยด์ของชาวซาไก จังหวัดสตูล จนมีผู้เสียชีวิต 2 คน และยังป่วยอีก 3 คน ทำให้สาธารณสุขจังหวัดสตูล ต้องเข้าตรวจสอบและนำตัวอย่างน้ำไปเพาะเชื้อ เพื่อหาแนวทางป้องกัน ขณะเดียวกันมีความกังวลว่า การย้ายที่อยู่บ่อยครั้งของชาวซาไก อาจทำให้เชื้อโรคระบาดไปจังหวัดอื่น

สภาพความเป็นอยู่ที่แออัด ของชาวซาไกเกือบ 50 คน ในที่พัก หรือ ทับ 2 แห่งบริเวณน้ำตกบ้านธารปลิว อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคไทรอยด์ ทำให้ชาวซาไกเสียชีวิตแล้ว 2 คน และป่วย 3 คน ทีมแพทย์สาธารณสุข จังหวัดสตูล จึงต้องเข้าช่วยเหลือ และนำตัวอย่างน้ำ บริเวณที่พัก ซึ่งชาวซาไกใช้ดื่มกิน มาตรวจเพาะเชื้อหาสาเหตุ แต่จากการตรวจสอบร่างกายของชาวซาไกเบื้องต้น ไม่พบว่า เป็นโรคไทฟอยด์ ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดธรรมดา จึงไม่ได้เจาะเลือดเพื่อพิสูจน์ แต่ให้ยากินบรรเทาอาการ

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังกังวลว่า การย้ายที่อยู่บ่อยครั้งของชาวซาไก และการเข้าเยี่ยมชมของนักท่องเที่ยว อาจทำให้โรคแพร่ระบาดไปจังหวัดอื่นๆ ทำให้ทางจังหวัดต้องเร่งควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน

กลุ่มชาวซาไกบริเวณเรอยต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด มี 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะตั้งทับถาวรบริเวณหมู่ 9 บ้านราวปลา เมื่อมีอาการป่วยจะเดินเท้ามายังหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ด้านล่างของภูเขาบริเวณหมู่ 10 ตำบลทุ่งหว้าซึ่งอยู่ห่างประมาณ 800 เมตร ส่วนกลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มเฒ่าชา จะตั้งทับชั่วคราว ประมาณ 10 -15วัน ก็จะย้ายสถานที่พักไปเรื่อยๆ ทั้งในอำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง และอำเภอละงู  ซึ่งบางครั้งย้ายไปที่จังหวัดตรัง และพัทลุง ทำให้เมื่อติดโรคจึงยากจะควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ

ทั้งนี้ โรคโรคไทรอยด์ หรือโรคไข้รากสาดน้อย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ติดต่อผ่านทางการรับประทานอาหาร หรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูง ประมาณ 40 องศาเซลเซียส เหงื่อออกมาก กระเพาะและลำไส้อักเสบ ท้องเสียไม่มีเลือดปน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ตกเลือดในลำไส้ สมองอักเสบ และฝีกระจายทั่วร่างกาย ซึ่งจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประมาณการว่า มีผู้ป่วยโรคไทฟอยด์ 21 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต 200,000 รายต่อปี และกว่าร้อยละ 90 ของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ อยู่ในทวีปเอเชีย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง