โดยเหตุผลของมวลชนที่ออกมาประท้วงด้านหน้าโรงแรมพลาซ่า แอทธินี ว่าการตอบรับของนายโทนี่ แบลร์ถือว่าไม่ตรงกับวัตุประสงค์การสร้างความปรองดองในชาติ ขณะที่ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ออกมาระบุก่อนหน้านี้มา จุดประสงค์การเดินทางมาปาฐกถาของนายโทนี่ แบลร์นั้น ก็เพื่อสร้างบรรยากาศความความปรองดองในประเทศอย่างแท้จริง โดยไม่มีการรับค่าตอบแทน
ประชาชนจำนวนหนึ่งที่ออกมาด้านหน้าโรงแรมพลาซ่า แอทธินี เพื่อยื่นหนังสือถึงนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งเป็นองค์ปาฐกในเวทีผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” หรือ Uniting for the Future: Leaning form each other’s experiences โดยระบุว่า ในบางหัวข้ออาจมีกรณีที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างเข้มข้นในตอนนี้ และมองว่าการที่นายโทนี่ แบลร์ตอบรับคำเชิญนั้น อาจจะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการสร้างความปรองดอง ถือว่าเป็นพรีเซนเตอร์สร้างภาพปรองดองนานาชาติให้กับรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งก่อนหน้านี้ นายโทนี่ แบลร์ออกมาปฏิเสธถึงการรับเงินค่าตัว และทางกระทรวงการต่างประเทศก็ออกมาระบุว่า ไม่มีค่าจ้าง แต่ว่ามีเงินช่วยดูแลค่าเดินทาง ที่พัก และค่าของขวัญ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายโทนี่ แบลร์ ได้กล่าวขึ้นปาฐกถาถึงประสบการณ์การเจรจาสันติภาพไปทั่วโลก โดยเฉพาะไอร์แลนด์เหนือกับสหราชอาณาจักร ว่าก่อนที่จะรวมตัวกันได้นั้น ต้องมีการแบ่งอำนาจให้เกิดสมดุล ให้เกิดพื้นที่ของคนทุกกลุ่มสร้างคุณค่าในตัวเอง และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม รวมถึงการสร้างสันติภาพในตะวันออกกลาง ต้องพัฒนามาตรฐานชีวิตให้เท่าเทียมกัน ซึ่งทุกชาติต้องหาสาเหตุถึงรากฐานความขัดแย้งว่ามีที่มาอย่างไร และวิเคราะห์ว่าความแตกต่างมีอยู่ทุกที่ซึ่งอาจจะต้องยอมรับ เพราะประชาธิปไตยนั้นไม่ใช่แค่การลงคะแนนเสียง แต่เป็นการกระจายอำนาจอย่างสมดุล และเป็นการแสดงความเห็นสร้างสรรค์ และการบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน
ขณะเดียวกัน วิทยากรอีก 2 ท่าน คือ นายมาร์ตี อาห์ติซารี อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ และนางฟริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านและที่ปรึกษาอาวุโส Centre for Humanitarian Dialoque (HDC) ได้แสดงความเห็นที่ตรงกันว่า การสร้างความปรองดองได้นั้นต้องสร้างจากความไว้วางใจซึ่งกันและกัน