ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ศาลปกครองนัดอ่านคำพิพากษาคดี บ.เบสท์ริน ฟ้อง ขสมก ยกเลิกสัญญารถเมล์ NGV สัปดาห์หน้า

เศรษฐกิจ
9 มิ.ย. 60
12:37
874
Logo Thai PBS
ศาลปกครองนัดอ่านคำพิพากษาคดี บ.เบสท์ริน ฟ้อง ขสมก ยกเลิกสัญญารถเมล์ NGV สัปดาห์หน้า
ศาลปกครองนัดอ่านคำพิพากษาคดี บ.เบสท์ริน ฟ้อง ขสมก.กระทำผิดสัญญากรณีไม่รับมอบรถเมล์ NGV ในวันที่ 13 มิ.ย.นี้

วันนี้ (9 มิ.ย.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 502/2560 ระหว่าง บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (ขอให้ตรวจรับมอบรถยนต์โดยสารฯ ของผู้ฟ้องคดี) ในวันที่ 13 มิ.ย.2560

ทั้งนี้ บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ฟ้องว่า องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผิดสัญญาซื้อขายและจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) สัญญาเลขที่ ร.50/2559 ลงวันที่ 30 กันยายน 2559 กรณีไม่ตรวจรับรถยนต์โดยสารปรับอากาศจำนวน 390 คัน ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้ส่งมอบตามสัญญา โดยอ้างว่า สำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีรอกรมศุลกากรตรวจสอบเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของสินค้าก่อน อันถือเป็นการอ้างเหตุนอกสัญญาโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็นผู้ฟ้องคดีได้แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีตรวจรับมอบรถยนต์โดยสารดังกล่าวตามสัญญาจำนวนหลายครั้งแต่ผู้ถูกฟ้องคดียังคงเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย

คดีนี้ศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง) มีคำสั่งวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการตรวจรับรถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (NGV) ที่ออกจากอารักขาของศุลกากรแล้วไว้ชั่วคราว ก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และภายหลังการดำเนินการตรวจรับรถยนต์โดยสาร ตามข้อสัญญาอื่น ๆ แล้ว ให้ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติตามสัญญาฯ ต่อไป เนื่องจากศาลได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า รถยนต์โดยสารที่ผู้ฟ้องคดีได้เตรียมส่งมอบให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีนั้น แม้ว่ารถยนต์โดยสารดังกล่าวเจ้าพนักงานศุลกากรจะมีข้อสงสัยว่าไม่ใช่รถยนต์โดยสารที่ประกอบในประเทศมาเลเซีย แต่เป็นรถยนต์โดยสารที่ประกอบที่ประเทศจีนก็ไม่มีผลแตกต่างกันในสาระสำคัญที่จะทำให้สัญญาซื้อขายและจ้างซ่อมแซมบำรุงรักษารถยนต์โดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าชธรรมชาติ (NGV) ไม่อาจใช้บังคับกันได้ และประเด็นดังกล่าวยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นไต่สวน

อีกทั้งเป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในส่วนเนื้อหาของคดี และในชั้นนี้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ผู้ถูกฟ้องคดี ก็มิได้ชี้แจงต่อศาลว่า รถยนต์โดยสารดังกล่าวมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะไม่ตรงตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา หรือไม่ตรงตามข้อกำหนดในสัญญาข้อใดที่เป็นสาระสำคัญ

ดังนั้น การให้ผู้ถูกฟ้องคดีตรวจรับรถยนต์โดยสารไว้ เห็นว่า ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ในทางตรงข้ามกลับจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างการพิจารณาตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ตามมาตรา 264 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบข้อ 77 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 และตามมาตรา 66 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง