ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ทีดีอาร์ไอ" เสนอแนวคิดบรรเทารถติด เส้นทางสร้างรถไฟฟ้า

สังคม
17 ก.ย. 61
18:44
1,703
Logo Thai PBS
"ทีดีอาร์ไอ" เสนอแนวคิดบรรเทารถติด เส้นทางสร้างรถไฟฟ้า
นักวิชาการทีดีอาร์ไอ เสนอแนวคิดแก้ปัญหารถติดเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า ด้วยการใช้รถมินิบัสหรือลดจำนวนป้ายรถเมล์ในจุดก่อสร้างที่สำคัญเพื่อบรรเทารถติด

คำถามคือ เหตุใดต้องสร้างรถไฟฟ้าในเส้นทางที่การจราจรหนาแน่นและเปราะบาง แต่ในมุมหนึ่ง ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่า เส้นทางใดที่รถหนาแน่นซึ่งเมื่อมีรถไฟฟ้าการจราจรในเส้นทางดังกล่าวก็จะดีขึ้น แต่การก่อสร้างรถไฟฟ้าทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ เป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นสายสีเขียว หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต , สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง, สายสีชมพู แคราย - มีนบุรี สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ล้วนแล้วแต่เป็นย่านชุมชนขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัย ศูนย์ราชการ ซึ่งการเดินทางหนาแน่น

 

 

ขณะที่ยอดรถสะสมในกรุงเทพฯ ในปีนี้ (61) ยอดแตะ 10 ล้านคัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) บันทึกความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ในกรุงเทพฯเมื่อปีที่แล้ว (60) ซึ่งยังไม่ได้เปิดโครงการก่อสร้างในเขตฝั่งตะวันออกมากนัก ในช่วงเช้ารถใช้ความเร็วได้ราว 15 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในช่วงเย็นใช้ความเร็วได้ราว 21 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อว่า หากมีการสำรวจในช่วงนี้ความเร็วก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง นอกจากปริมาณการเดินทางที่เท่าเดิมแต่รถเพิ่มมากขึ้นแล้ว ท้องถนนก็จำกัดลง

 

 


ถนนปกติอาจจะมี 2 หรือ 3 ช่องจราจร เมื่อมีการก่อสร้างจึงทำให้ช่องจราจรหายไปทำให้รถส่วนบุคคลและรถสาธารณะต้องมาแบ่งช่องจราจรที่เหลือ และหากช่องจราจรด้านซ้ายสุดกลายเป็นที่จอดรถ อีก 1 ช่องจราจรที่เหลือจึงแทบจะใช้จราจรไม่ได้

 

 

ส่วนใหญ่วิธีการแก้ปัญหาที่พบก็คือ การทำให้ช่องจราจรเล็กลงเพื่อให้ยังมีช่องเดินรถเท่าเดิม แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาใหม่ เพราะเมื่อช่องจราจรเล็กลง รถที่มีขนาดใหญ่ อย่างรถประจำทางที่ออกแบบมาให้บรรทุกผู้โดยสารได้ปริมาณมาก ซึ่งมีขนาดใหญ่ก็จะเป็นปัญหาเพราะช่องจราจรแคบ รวมถึงป้ายจราจรไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ไม่กินพื้นที่ช่องจราจร เมื่อต้องจอดรับผู้ดดยสารจึงทำให้รถติดเป็นแถวยาว

 

 

เมื่อมาผสมกับพฤติกรรมการแย่งผู้โดยสาร คนขับขาดวินัย ไม่จอดเข้าป้าย กลายเป็นการจราจรชะลอติดขัดในทุกช่องทาง แต่หากจะยกเลิกป้ายรถเมล์ก็จะทำให้ต้องเดินไกลขึ้น และประชาชนก็อาจไม่อยากใช้รถเมล์อีก สุดท้ายจึงทำให้ไม่สามารถลดปริมาณการเดินทางในถนนเส้นนั้นๆได้ และยังทำให้ปริมาณรถส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันเพื่อการวิจัยและการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า 

การจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้าง มีความพยายามในการคงช่องจราจรไว้ ให้น้อยกว่าเดิมเล็กน้อยหรือเท่าเดิม เท่าที่เป็นไปได้ ปัญหาเกิดตรงที่ในความพยายามที่จะคงช่องจราจรไว้ หมายถึงว่าหากมีพื้นที่ก่อสร้างช่องทางจราจรจะเล็กลง ซึ่งปัจจุบันช่องจราจรที่เล็กลงได้ตีเส้นจราจรให้เกือบพอดี หรือใหญ่กว่ารถยนต์ส่วนบุคคลเล็กน้อย

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือรถโดยสารขนาดใหญ่ไม่สามารถใส่เข้าไปช่องนั้นได้และก็จะล้นออกมาซึ่งจะกลายเป็นปัญหาทันที บางเส้นทางอาจต้องให้มีเฉพาะรถมินิบัสหรือรถเมล์เล็กแทนที่รถเมล์ใหญ่ ซึ่งน่าจะเป็นข้อเสนอที่น่าจะมีปัญหาระดับหนึ่ง เพราะรถมินิบัสก็มีจำนวนไม่มากนัก และแนวเส้นทางกระจายตัวค่อนข้างมาก ซึ่งหากจะให้วิ่งในเส้นทางที่มีการก่อสร้างเส้นทางเดียวก็อาจจะลำบาก และตัวรถบัสขนาดใหญ่ก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่ารถบัสขนาดเล็ก เพราะว่าสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากกว่า

ขณะที่เรื่องของป้ายรถเมล์ก็มี 2 แนวคิด ในถนนลาดพร้าวที่มีป้ายรถเมล์ค่อนข้างเยอะ ซึ่งหากป้ายรถเมล์มีมากเกินไปก็จะทำให้รถติดมากขึ้น ซึ่งต้องดู 2 มุม คือป้ายรถเมล์ที่เยอะผู้โดยสารก็ไม่ต้องเดินไกลก็สามารถขึ้นรถเมล์ได้ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนใช้รถประจำทางและหากป้ายรถเมล์มีการกีดขวางกับจุดสำคัญในการก่อสร้างบ้าง ซึ่งในการออกแบบจุดจอดรถควรให้สามารถลดจำนวนป้ายรถเมล์ได้ชั่วคราวเพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างและผู้ที่ใช้รถเมล์จะลำบากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรลำบากมากเกินไป 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง