วันนี้ (10 ก.ย.2562) นายมานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี กล่าวว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 43 ที่สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน มีมติไม่ขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจานของไทย เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 เนื่องจากข้อกังวลจากคณะกรรมการมรดกโลก ทำให้ถูกกลับมาทบทวนใหม่ 3 เรื่อง ได้แก่ การปรับแนวเขตของประกาศพื้นที่มรดกโลก ซึ่งเป็นข้อกังวลของประเทศเมียนมา เพราะยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ไทยเคยเสนออาจกำหนดเขตมรดกโลกในพื้นที่ราชอาณาจักรไทยเท่านั้น เพื่อคลายความกังวลของเมียนมา
แต่ก็มีข้อท้วงติงเรื่องคุณค่าความหลากหลายในพื้นที่ และถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ในระบบนิเวศว่าหากเขตประกาศมรดกโลกมีสัดส่วนลดลงไป 20% คุณค่าจะลดลงหรือไม่ จะลดลงหรือไม่ ในส่วนนี้ทางพื้นที่ก็เตรียมนำข้อมูลที่ได้จากการลาดตระเวนไปนำเสนอ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ด่วน! “ยูเนสโก” เลื่อนรับรองแก่งกระจานมรดกโลกปี 63
พบชุมชนในป่าแก่งกระจานใช้พื้นที่เกือบ 4 หมื่นไร่
นายมานะ กล่าวว่า ส่วนประเด็นต่อมาการจัดการแก้ปัญหาชุมชน ข้อกังวลชุมชนที่อยู่ในแก่งกระจานจะได้รับการแก้ไขหรือดูแลอย่างไร ซึ่งใช้แนวทางการจัดการที่ดิน ภายใต้กฎหมายอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 แต่ขณะนี้ได้ทางแก่งกระจานดำเนินการมาก่อนที่จะ 3 ปีในการสำรวจที่ดินทำกิน การขึ้นรูปแปลงที่ดินทำกิน เปรียบเทียบภาพดาวเทียมก่อนและหลังเข้ามาอยู่
การสำรวจและทำผัง และขึ้นรูปแปลงพื้นที่ทำกินในเขตป่าแก่งกระจาน มีพื้นที่รวม 39,000 ไร่ จาก 4,400 แปลง ซึ่งกรณีที่ดินทำกินชาวบ้านยังกังวลการใช้ประโยชน์ในอุทยานว่าเขาจะได้เป็นเอกสาร หรือมีความมั่นคงอย่างไร
ภาพ:อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
"ไอยูซีเอ็น"ลงพื้นที่พรุ่งนี้ (11 ก.ย.)
นายมานะ กล่าวอีกว่า ส่วนการการขีดเส้นการเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกครั้ง เนื่องจากขณะนี้ไทยอยู่ในในช่วงกระบวนการนำเสนอที่ให้ไทยควรให้คงสถานะไว้ก่อน โดยมีเวลา 3 ปีในการจัดทำเอกสารชี้แจงทำข้อมูลเพิ่มเติม แต่ถ้าทำข้อมูลภายใน 1 ปีก็นำเสนอกลับไปได้ แต่หากยังไม่แล้วเสร็จ เคลียร์บางประเด็นไม่ได้ก็อาจเป็น 2 ปี แต่จะพยายามทำให้เร็วที่สุด
ไอยูซีเอ็น เข้ามาทำความเข้าใจเรื่องข้อห่วงใยเรื่องการจัดการที่ดินทำกิน ซึ่งยืนยันว่าเรื่องการจัดการชุมชนชาวกะเหรียงและชาวบ้านมีแนวทางการจัดการและใช้กฎหมายเดียวกัน
โดยในวันพรุ่งนี้ (11 ก.ย.) เจ้าหน้าที่ไอยูซีเอ็น จะบินสำรวจพร้อมกับเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยพื้นที่เป้าหมายเป็นหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้แก่ บ้านใจแผ่นดิน และบ้านโป่งลึก-บางกลอย พร้อมกับเข้าพูดคุยกับชุมชน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
9 ปี เส้นทาง “แก่งกระจาน” สู่มรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่
ด่วน! เลื่อนพิจารณา "แก่งกระจาน" ขึ้นทะเบียนมรดกโลก พรุ่งนี้