วานนี้ (19 เม.ย.2564) ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Opass Putcharoen ระบุถึงความรุนแรง ของโรค COVID-19 ระลอกนี้ว่า มีความเปลี่ยนแปลงไป เชื้อดุกว่าเดิม อยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานานโดยระบุว่า “ระลอกนี้เชื้อดุกว่าเดิม" เหตุผล 5 เรื่อง คือ
- ปกติโดยทั่วไปถ้าเป็นเชื้อระลอกแรก 7 วันไปแล้ว เชื้อจะน้อยลงแม้ว่าตรวจ PCR บวกแต่จะเพาะเชื้อไม่ขึ้น แต่เชื้อของระลอกนี้ 10 วันแล้วยังเพาะเชื้อขึ้นอยู่ แสดงว่าเชื้ออยู่ในร่างกายได้นานขึ้น
- รอบก่อนๆ ไม่ค่อยเห็นวัยรุ่นที่สุขภาพแข็งแรงเกิดปอดอักเสบ แต่รอบนี้พบมากขึ้นกว่าเดิม
- หลังจากที่ติดเชื้อไปแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ คนที่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรงจะเริ่มมีอาการให้เห็น แต่รอบนี้เร็วกว่าเดิม ไม่ถึงสัปดาห์ก็เริ่มมีอาการมากขึ้น การอักเสบเกิดขึ้นเร็ว การให้ยาต้านไวรัสกับยาสเตียรอยด์ต้องพร้อม การวินิจฉัยปอดอักเสบต้องทำได้เร็ว
- ปริมาณเชื้อในโพรงจมูกและเสมหะมีมากกว่าเดิม เชื้อกระจายได้ง่าย
- สัปดาห์นี้เป็นต้นไป เราจะเห็นเคสหนักในไอซียูมากขึ้น
พบคนเสียชีวิตระลอก 3 แค่ 3 สัปดาห์ 10 คน
จากที่เห็นก็น่าจะสอดคล้องกับข้อมูลในประเทศอังกฤษ ที่มีสายพันธุ์ B117 ระบาด พบว่าควรมีวิธีเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ได้แก่การป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชน ด้วยมาตรการต่างๆ รวมถึงการกระจายวัคซีนที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการลดความรุนแรงของโรค
สอดคล้องกับข้อมูลที่กระทรวงสาธารรสุขรายงานว่าระบาด COVID-19 ระลอก 3 ในเดือนเม.ย.นี้แค่ 3 สัปดาห์ตัวเลขสูง 3 เท่าของการระบาดระลอกแรกที่มีผูป่วย 11 เดือน 4,237 คน ส่วนขณะนี้ระลอกใหม่สะสม 14,851 คน โดยพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากระลอกนี้แล้ว 10 คน คิดเป็นร้อยละ 0.07 ขณะที่ยังมีผู้ป่วยอาการรุนแรงกว่า 20 คน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้ติด COVID-19 ไทย 3 สัปดาห์สูงกว่าระลอกแรก 3 เท่า
WHO ระบุโลกใกล้คุม COVID- 19 ได้
กทม.เปิดไทม์ไลน์สถานที่เสี่ยง COVID-19
สธ.ห่วง COVID-19 ระบาดในหน่วยงาน หลังสงกรานต์
ระลอกนี้เชื้อดุกว่าเดิม จากเคส 200 กว่ารายของระลอกนี้ที่โรงพยาบาล 1. ปกติโดยทั่วไปถ้าเป็นเชื้อระลอกแรก 7 วันไปแล้ว...
โพสต์โดย Opass Putcharoen เมื่อ วันจันทร์ที่ 19 เมษายน 2021