นักไวรัสวิทยาไม่แนะนำ กรณี "เป๊ก สัณณ์ชัย" ฉีดบูสเตอร์วัคซีนเข็ม 5

สังคม
24 ส.ค. 64
06:33
3,340
Logo Thai PBS
นักไวรัสวิทยาไม่แนะนำ กรณี "เป๊ก สัณณ์ชัย" ฉีดบูสเตอร์วัคซีนเข็ม 5
"เป๊ก สัณณ์ชัย เองตระกูล" นักธุรกิจชาย สามีของนักแสดง "ธัญญาเรศ รามณรงค์" หรือธัญญ่า เข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 ที่ประเทศสหรัฐฯ ขณะที่นักไวรัสวิทยาไม่แนะนำชี้ในอนาคตอาจกระตุ้นภูมิไม่ขึ้นและมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อกลายพันธุ์มากขึ้นกว่าคนอื่น ๆ

วันนี้ (24 ส.ค.2564) ขณะนี้หลายประเทศเริ่มฉีดวัคซีนบูสเตอร์โดสเข็ม 3 ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีคนฉีดวัคซีนเข็ม 4 แล้ว โดยอธิบดีกรมควบคุมโรคชี้แจงว่า เป็นกลุ่มที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ (23 ส.ค.2564) นายสัณณ์ชัย เองตระกูล นักธุรกิจ และเป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะสามีของนักแสดง "ธัญญาเรศ รามณรงค์" หรือธัญญ่า  ได้โพสต์ภาพผ่านอิสตาแกรม @pegliyah ระบุว่า ได้บูสเตอร์วัคซีนเข็มที่ 5 แล้ว

 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 

A post shared by Sanchai Engtrakul (@pegliyah)

 
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 ก.ค.2564 นายสัณณ์ชัย เคยโพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านอินสตาแกรม เล่าเหตุผลที่เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาว่า หลังได้รับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม ครบ 1 เดือน จากประเทศไทย จึงตัดสินใจเดินทางมาฉีดวัคซีนโมเดอร์นาจากเข็มแรก และเข้ารับโมเดอร์นาเข็ม 2 เมื่อครบ 1 เดือนพอดี เนื่องจากเคยผ่าตัดเหลือปอดข้างเดียว จึงต้องการกระตุ้นภูมิตามคำแนะนำของแพทย์

หลายคนมากที่ถามเข้ามาว่าจากซิโนแวค เข็ม 2 มาโมเดอร์นา มีอาการอะไรไหม ส่วนตัวผมเองไม่มีอาการอะไรนะครับ ส่วนโมเดอร์นา เข็ม 2 วันนี้รู้สึกอ่อนเพลียนิดหน่อย
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 

A post shared by Sanchai Engtrakul (@pegliyah)

 
ขณะเดียวกัน "ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา" ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana อธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า "ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่จำเป็นต้องถูกกระตุ้นด้วยวัคซีนเยอะขนาดนั้น...ถ้าให้มาก หรือ ถี่เกินไป จะได้โทษมากกว่าประโยชน์"

ดร.อนันต์ อธิบายเพิ่มเติมว่า วัคซีนที่ใช้อยู่ เป็นวัคซีนที่พัฒนามาจากข้อมูลของโคโรนาไวรัส การกระตุ้นร่างกายด้วยวัคซีนของโคโรนาไวรัส ซ้ำ ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนแนวหน้าอย่างน้อย 2 คน เคยให้ความเห็นว่า ภูมิคุ้มกัน อาจจะไม่สามารถปรับมาสร้างแอนติบอดี ต่อไวรัสกลายพันธุ์ ได้ดีเท่ากับคนปกติ ที่ฉีดวัคซีนห่างกันตามวิธีมาตรฐาน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่มีความจำ ถูกกระตุ้นจนไม่อยากเปลี่ยนไปสร้างแอนติบอดี ที่จำเพาะต่อสายพันธุ์อื่นแล้ว

พูดง่าย ๆ ว่า ถ้าวัคซีนเวอร์ชันใหม่ออกมา โอกาสที่จะกระตุ้นไม่ขึ้นมีสูง และความเสี่ยงต่อการติดเชื้อกลายพันธุ์ก็จะมากขึ้นกว่าคนอื่น ๆ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง