หากย้อนกลับไปช่วงปี 47 ขณะนั้น นายวิฑูรย์ นามบุตร และ นายอิสสระ สมชัย รับผิดชอบดูแลภาคอีสาน โดยเฉพาะ จ.อุบลราชธานี ให้กับพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาในช่วงปี 2551 -2552 ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายวิฑูรย์ ได้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และมีข้อกล่าวหาเรื่อง "ปลากระป๋องเน่า" และถูกกล่าวหาว่าทุจริตในการจัดซื้อ และไปแจกชาวบ้านภาคใต้ที่น้ำท่วม จากนั้นจึงลาออกและนายอิสสระ ได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีแทน
ต่อมาในปี 2564 นายวิฑูรย์ ได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากในการเลือกตั้งตอนปี 2562 ถูกจัดให้อยู่ในปาร์ตี้ลิสต์ลำดับท้าย ๆ ทำให้ไม่พอใจและตัดสินใจลาออก
หลังจากนายวิฑูรย์ได้ยื่นลาออกตั้งแต่ 2564 โดยต่อมาได้มีประเด็นดรามาเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เมื่อมีคลิปภาพนายวิฑูรย์ ระบุว่าได้ต่อสายคุยกับพรรคเพื่อไทย ขอลงปาร์ตี้ลิสต์ไม่เกินลำดับที่ 20 กับนายเกรียง กัลป์ตินันท์ แกนนำพรรคเพื่อไทย
ขณะนั้นเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยมีการกล่าวหาว่า แบบนี้ครอบงำพรรคเพราะนายทักษิณ ชินวัตร บงการ จนนายเกรียง ต้องมาปฏิเสธ ต่อมาเรื่องของนายวิฑูรย์กับพรรคเพื่อไทยในทางสาธารณะจึงเงียบไป
แต่ที่ชัดเจน คือ พรรคประชาธิปัตย์ ครั้งหน้าจะหาใครมาดูแล จ.อุบลราชธานี ที่เคยได้ ส.ส.ทั้ง 2 เขตมาอย่างยาวนาน
ทั้งนี้ในพื้นที่ภาคอีสานกับ ส.ส.132 เขตที่เพิ่มใหม่ โดยมีที่นั่ง 2 ที่นั่งที่จ.อุบลราชธานี ของ นายวุฒิพงษ์ นามบุตร ส.ส. อุบลราชธานี หรือ ส.ส.เอ กับ น.ส.บุณย์ธิดา สมชัย หรือ ส.ส.แนน ลูกสาวนายอิสสระ สมชัย
ทั้งนี้มีคำถามว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ทั้ง 2 คนจะย้ายไปสังกัดพรรคไหน โดยในงานวันคล้ายวันเกิดนายเนวิน ชิดชอบ ที่ จ.บุรีรัมย์ก็เห็น น.ส.บุณย์ธิดา ไปร่วมงานด้วย จึงคาดว่าน่าจะย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ขณะที่ นายวิฑูรย์ น่าจะพา นายวุฒิพงษ์ (หลานชาย) ย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทยด้วยเหมือนกัน
ที่ผ่านมา นายอิสสระ และ นายวิฑูรย์ ก็ไม่เคยมีปัญหา ซึ่งน่าจะมีเงื่อนไขภายในพรรคประชาธิปัตย์ ที่ทำให้ร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ต่อไม่ได้และได้พรรคภูมิใจไทยเสนอเงื่อนไขดี ๆ
ในการเลือกตั้งครั้งหน้า จ.อุบลราชธานี จะมีเก้าอี้ ส.ส.เพิ่ม 1 เขต โดยพรรคเพื่อไทยคว้าได้ 7 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ 2 ที่นั่ง และ พรรคพลังประชารัฐ 1 ที่นั่ง
ทั้งนี้ มีการมองว่า พรรคพลังประชารัฐจะยังเป็นคู่แข่งของพรรคเพื่อไทยหรือไม่ ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี โดยคาดว่า คู่แข่งอาจไม่ใช่พรรคพลังประชารัฐแต่อาจเป็นพรรคไทยสร้างไทย โดยพรรคพลังประชารัฐไปสังกัดกับพรรคไทยสร้างไทย ขณะที่บางส่วนย้ายไปสังกัดพรรคสร้างอนาคตไทยของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ก็ย้ายสังกัดอยู่กับพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ ก็เท่ากับว่า พรรคพลังประชารัฐจะได้ 1 ที่นั่ง และก็มีคำถามว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส.ในพื้นที่ภาคอีสานหรือไม่ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า