"จตุพร" ชี้ "ทักษิณ" กลับไทย วันที่ 22 ส.ค.นี้ แค่ข่าวปล่อย หวังกลบกระแส "เศรษฐา" ถูกกล่าวหาปมซื้อขายที่ดิน เชื่อเพื่อไทยไม่เสนอ "เศรษฐา-แพทองธาร" จับสัญญานไม่แถลงจับมือ "พปชร.-รทสช." ส่อแวว “บิ๊กป้อม” นั่งนายกฯ คนที่ 30
การหารือกันนอกรอบ ได้มีการทบทวนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ซึ่งระบุไว้ชัด ในย่อหน้าสุดท้ายว่า มีการพูดถึงการทำประชามติ 2 ครั้งคือ 1 ครั้งก่อน และ 1 ครั้งหลัง ถ้ายืนตามความเห็นเดิมเอาเสียงข้างมากธรรมดา (รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ถือสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก) รอไว้ 180 วัน จะทำรัฐธรรมนูญใหม่ได้ทันหรือไม่ คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับว่าถ้าทำประชามติ 3 ครั้ง ไม่ทันแน่ เพราะรัฐบาลเหลือระยะเวลา 2 ปีเศษ แต่ถ้าความเห็นเป็นอย่างอื่น ถ้าย่อการทำประชามติมาเหลือ 2 ครั้งก็อาจจะทัน
เรื่องเขากระโดง มีปมที่ประหลาดและถูกตั้งคำถามอยู่มาก นั่นคือคำพิพากษาของศาลที่ปรากฎออกมากลับไม่สามารถเป็นข้อยุติได้ กลับกลายเป็นคณะกรรมการตรวจสอบที่ตั้งขึ้นมาภายหลัง เดินหน้าตรวจสอบแล้วมีมติไปคนละทางกับคำพิพากษา ถึงผู้สังเกตการณ์บางคนจะมองว่า สามารถหาทางออกสวย ๆ ได้ เหมือนช่วงทวงคืนเขาใหญ่ของ พล.อ.ประยุทธ์ แต่การยื้อกันแบบนี้ก็นับว่าแปลกอยู่ดี
อย่างที่พูดไปเรื่องของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ตอบคำถามประเด็นการเมืองต่อสื่อมวลชนเมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ นักวิชาการมองว่าเป็นการตอบคำถามแบบเบี่ยงประเด็น ทำเรื่องใหญ่ให้ดูเป็นเรื่องขบขัน ยกตัวอย่างเช่นคำร้องกรณีหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลเข้าบ้านจันทร์ก่อนเสนอชื่อนายกคนใหม่ นาย ทักษิณ ก็บอกไปทานบะหมี่สำเร็จรูป
MOU 44 กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อวางกรอบในการพูดคุยเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมการด้านเทคนิคที่แต่ละประเทศตั้งขึ้น ซึ่งมีหัวข้อว่าจะมีแนวทางในการร่วมกันพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมใต้ทะเลอย่างไร ซึ่งเราต้องหาวิธีนำขึ้นมาใช้เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางพลังงาน จึงต้องตั้งคณะกรรมการทั้งสองประเทศขึ้นมาคุยกัน แต่ต้องยึดหลักสากล เรื่องเขตทางทะเลว่าจะขีดเขตทางทะเลออกไปอย่างไร จึงเป็นเรื่องของคณะกรรมการที่ทั้งสองประเทศจะตั้งขึ้นมาแล้วพูดคุยกัน
วันนี้ (8 พ.ย. 67) รศ. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมืองฯ นิด้า มองการสอบข้อเท็จจริง กรณีนายทักษิณ ชินวัตร พักรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ หลัง กมธ.ความมั่นคงฯ ของสภาผู้แทนราษฎร เรียกสอบหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง พบข้อสงสัยหลายอย่าง ตั้งแต่ไม่รู้ว่าหมอหรือพยาบาลคนใดในเรือนจำ ที่เห็นชอบให้ส่งนายทักษิณออกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ไม่มีใครยอมรับ และบอกว่าเป็นคนไหน ผู้บัญชาการเรือนจำที่ต้องเซ็นเอกสารให้นายทักษิณออก ก็ไม่มาพบ กมธ.ความมั่นคงฯ เช่นเดียวกับตอนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจแล้ว ก็ไม่พบว่ามีหมอคนไหน หรือไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นหมอรักษาให้นายทักษิณ เรื่องนี้ยิ่งสอบยิ่งพบเรื่องแปลกประหลาด
กรณี #ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ถูกตำรวจควบคุมตัว เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เพราะนี่คือทนายคนดังที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเสียเอง และทำให้หลายคนเชื่อมโยงกับคดีดัง อย่างคดีดิไอคอนกรุ๊ป เกี่ยวข้องกับนักการเมือง ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาเรียกตบทรัพย์ 2 คดีนี้เชื่อมโยงกันหรือไม่ วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
เป็นวาระสำคัญที่ครอบครัวชินวัตรต้องจับจ้อง นอกเหนือจากภาระงานของนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ยังมีคำร้องให้ตรวจสอบการเข้าพักรักษาตัวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดที่เกี่ยวข้องพยายามเรียกสอบ เช่นเดียวกับองค์กรอิสระ ตอนนี้ทุกฝ่ายคาดหวังหลักฐานชิ้นสำคัญคือ เวชระเบียน ที่เก็บประวัติการรักษาผู้ป่วย แต่สุดท้ายจะออกหน้าไหน วิเคราะห์กับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
วันนี้ (6 พ.ย. 67) ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ เตือนรัฐบาลไทยต้องระวัง #MOU44 ระหว่าง #ไทย #กัมพูชา โดยเฉพาะหลักฐานจากการแบ่งปันผลประโยชน์ เมื่อใดขุดน้ำมันได้และมีการแบ่งเงินกันคนละ 50% จะเป็นหลักฐานในอีก 30-40 ปีข้างหน้าที่น้ำมันหมดไปให้ศาลโลก
วันนี้ (5 พ.ย. 67) นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา ตั้งข้อสังเกต MOU44 ระหว่างไทย-กัมพูชา แม้รัฐบาล นำโดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ จะออกมายืนยันว่า เกาะกูดเป็นของไทย แต่นายคำนูญก็สงสัยว่าแล้วพื้นที่ทางทะเลรอบเกาะกูดเป็นของไทยด้วยหรือไม่ เพราะมองว่าไทยควรต้องเป็นเจ้าของด้วย นายคำนูณยังตั้งข้อสงสัยการไปยอมรับเส้นเขตแบ่งปันผลประโยชน์ไทย-กัมพูชา ใต้เส้น 11 องศา ไปทางตะวันตก ใน #MOU44 ซึ่งมีพื้นที่กว้างมาก การยอมรับดังกล่าวอาจทำให้ไทยเสียผลประโยชน์ในอนาคต กรณีหากรุ่นลูกหลานจะเจรจาเขตแดน แต่พบว่ารุ่นบรรพบุรุษไปยอมรับเขตแบ่งปันผลประโยชน์แล้ว
จับตาคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ เดิมทีนัดหมายประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดคนใหม่ วันนี้ (4 พ.ย. 67) แต่ล่าสุดเลื่อนออกไป 11 พ.ย. 67 ท่ามกลางการนัดหมายชุมนมคัดค้านที่หน้าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องนี้แม้รัฐบาลจะบอกว่าไม่รู้เรื่อง กรณีการส่งชื่อ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ร่วมชิง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ชื่อนี้ทำงานกับพรรคเพื่อไทยมายาวนาน และมีแนวคิดนโยบายการเงินในทิศทางเดียวกันกับรัฐบาล เป้าหมายที่แท้จริงของเรื่องนี้คืออะไร วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
กรณี MOU44 ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา เมื่อปี 2544 ที่ขณะนี้หลายฝ่ายกังวลว่าอาจทำให้ไทยเสียดินแดนบริเวณเกาะกูดหรือไม่ เพราะกัมพูชาลากเส้นเขตแดนทับเกาะกูด รศ. ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ มองว่าเรื่องนี้มีความล่อแหลม ไทยมีมุมที่ได้เปรียบและเสียเปรียบ จึงต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกรณีเขาพระวิหาร แต่สำคัญที่สุดคือ ทั้ง 2 ประเทศควรเดินหน้าร่วมกันพัฒนาเรื่องพลังงาน
วันนี้ (1 พ.ย. 67) นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ นักวิชาการอิสระ ประเมินสถานการณ์พรรคเพื่อไทย ที่มีทั้งคดียุบพรรค กรณีคำร้องครอบงำพรรค หรือจะกรณีดิไอคอนกรุ๊ปที่โฆษกพรรคพลังประชารัฐ อ้างถึงเทวดาเป็นนักการเมืองในพรรคเพื่อไทย และอีกหลายประเด็นที่กำลังถาโถม ถือเป็นสถานการณ์น่าเป็นห่วงของพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางสัมพันธภาพพรรคร่วมรัฐบาล ที่อาจถูกมองว่าถูกโดดเดี่ยว พูดคุยไม่ลงตัวหลายเรื่อง ปัจจัยอาจส่งให้รัฐบาลเพื่อไทยอยู่ไม่ครบ 4 ปี
กรณีการออกมาแถลงข่าวของ พล.ต.ท. ปิยะ ต๊ะวิชัย โฆษกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) สะเทือนไปทั้งยุทธภพการเมือง นอกจาก “สามารถ เจนชัยจิตรวนิช” ชิงลาออกจากพรรค ทำให้พรรคพ้นข้อครหาไปแล้ว ยังโยนระเบิดไปยังพรรคเพื่อไทยรับช่วงต่อ ตัวย่อต่าง ๆ ที่ พล.ต.ท. ปิยะ กล่าวอ้างว่าเป็นนักการเมืองที่มีความเชื่อมโยงคดีดิไอคอนกรุ๊ป ทำเอาคนพรรคเพื่อไทยเนื้อเต้นต้องรีบออกมาชี้แจง จะเป็นการเมืองแบบใส่ร้าย หรือแง้มข้อเท็จจริงเพื่อโต้กลับทางการเมือง วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
รศ. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมืองฯ นิด้า มองกรณีนิรโทษกรรม ที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ยืนยันว่าจะไม่แตะ ม.112 สะท้อนพรรคเพื่อไทยมีจุดยืนที่โลเล ทำตรงข้ามกับที่เคยพูดนับวันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ หากยังเป็นอย่างนี้ อาจสูญเสียฐานเสียง อีกทั้งเชื่อว่าสุดท้ายรัฐบาลจะผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมไม่สำเร็จ ?
กรณีบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป ที่ส่วนหนึ่งโยงไปถึงนักการเมืองในพรรคพลังประชารัฐ กรณีเรียกรับเงินเพื่อเวลามีปัญหาจะเคลียร์ในชั้นกรรมาธิการให้นั้น ถ้าเป็นไปตามนัดหมาย วันนี้พรรคพลังประชารัฐ จะมีการพิจารณาสมาชิกภาพของสมาชิกพรรค ที่ถูกพาดพิงชื่อไปโยงกับคดีดังกล่าว กรณีดังกล่าวทำให้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เสมือนถูกรุมกินโต๊ะ ทั้งจากคนนอกพรรค คนในพรรค ทว่า อาจมีความช่วยเหลืออย่างลับ ๆ ในกลุ่มพี่น้อง 3 ป. ซึ่งมีสัมพันธภาพแน่นแฟ้นกว่าที่หลายคนคิด วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
วันนี้ (28 ต.ค. 67) รศ. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มองคดีตากใบที่หมดอายุความ 20 ปี ไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา ไม่สามารถตามตัวคนกระทำผิดซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ แต่กลับคดีชุดมลายู ที่หน่วยงานความมั่นคงฟ้อง 9 แกนนำนักกิจกรรม อีกไม่กี่วันจะมีการพิจารณาจะฟ้องร้องหรือไม่นั้น ทำให้ถูกประชาชนมองว่า รัฐกำลังเลือกปฏิบัติในการใช้กฎหมายหรือไม่ และทำให้ไม่ไว้ใจกระบวนการยุติธรรม แต่ทั้งนี้ เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่อยากให้เหมารวมหรือตีตราว่าเป็นการแก้แค้นจากคดีดังกล่าว เพราะไม่มีสัญลักษณ์ที่อยากแก้แค้นในคดีดังกล่าว แต่อาจฝีมือจากบุคคลที่ 3 ก็ได้
ท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อปลายทางกฎหมายนิรโทษกรรมถูกตั้งคำถามเยอะ ส่วนหนึ่งมาจากผู้สนับสนุนในกลุ่มคนเสื้อแดงบางปีก ที่คาดหวังการผลักดันร่างกฎหมายฉบับนี้แบบรวมเอามาตรา 112 เข้าไปด้วย กระแสวิจารณ์จากอดีตคนกันเองมาแรง เพราะ สส.เพื่อไทยร้อยกว่าคน โหวตสวนมติพรรคเมื่อสัปดาห์ก่อน ถ้าเพื่อไทยต้องการรับข้อสังเกตของกรรมาธิการจริงตามที่กล่าวอ้าง ก็ถือว่าการสวนมติพรรคร้อยกว่าคนนี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก ? วิเคราะห์ไปกับ ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส
แม้แกนนำจะพยายามย้ำถึงความสัมพันธ์ สะท้อนผ่านการนัดดินเนอร์กระชับมิตรไม่กี่วันก่อน แต่ไม่อาจลบภาพความเห็นต่างที่เกิดขึ้นในพรรคร่วมรัฐบาล ทั้งประเด็น นิรโทษกรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ชวนวิเคราะห์กับรองศาสตราจารย์พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา นิด้า
รัฐบาลเลือกที่จะออกมาแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่ อายุความของคดีตากใบครบกำหนด จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าที่จะเป็นผลอะไรที่ตามมาหลังจากนี้ต้องคอยติดตาม ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
ดูปฏิกิริยาจากทุกฝ่าย น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะนำผู้ต้องหา หรือ จำเลย คดีตากใบ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ก่อนคดีจะหมดอายุความ หลายฝ่ายเป็นห่วงสถานการณ์หลังจากนั้น ร่วมวิคราะห์กับ ผอ.ศุนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ อ.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
คดีดิไอคอนนอกจากจะกระทบถึงการพิจารณากฎหมายหลายฉบับ ยังสะเทือนหลายวงการ วงการการเมือง ราชการ การคุ้มครองผู้บริโภค การลงทุน ล่าสุดแวดวงนักร้องเรียนโดนพาดพิงกับเขาด้วย ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
หากนำคำร้องที่พรรคเพื่อไทยมากางเทียบกัน จะพบว่ามีหลายประเด็นทับซ้อนกันอยู่ ที่โดดเด่นคือเรื่่องของการครอบงำชี้นำพรรคการเมือง คนเพื่อไทยจะรู้สึกอย่างไรไม่มีใครรู้ แต่เมื่อต้องสื่อสารต่อสาธารณะ พวกเค้าต้องแสดงความมั่นใจไว้ก่อน แต่ว่ากันในทางแทคติกการเมือง ยังมีไม้เด็ดไพ่ตายสำหรับแก้ปัญหาเหล่านี้ เป็นทางเลือกสุดท้ายอยู่เหมือนกัน ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
คดีดิไอคอนเดินเกมเร็ว เมื่อดูจากการวิเคราะห์ของบรรดานักกฎหมายและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ถือเป็นผลงานใหญ่ชิ้นแรกของ พล.ต.อ.กิตต์รัตน์ พันธ์เพชร ในฐานะ ผบ.ตร. ใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ รวบตัวผู้ถุกกล่าวหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ แต่พอหันไปดูอีกด้าน คดีตากใบ จนจะหมดอายุความแล้ว ลำพังตัวจำเลยที่ 1 อยู่ที่ไหน ตอนนี้ยังไม่มีใครรู้ ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
คำร้องของ ธีรยุทธ สุวรรรเกษร ส่งแรงกระเพื่อมทางการเมืองข้ามสัปดาห์ คอการเมืองหลายฝ่ายอาจไม่คิดว่ามันจะง่ายแบบนั้น ถ้าคำร้องฉบับนี้ส่งผลให้เกิดการพลิกกระดานการเมืองอีกครั้งหนึ่ง ทำให้สปอตไลท์ส่องมาทางนาย อนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งยังยืนยันในการสนับสนุนรัฐบาล แต่ด้วยนโยบายที่สั่งเข้มของ มท1. จะถือเป็นการวัดระดับคะแนนนิยมในช่วงนี้หรือไม่ ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
ท่าทีจากพรรคพลังประชารัฐ กรณีคลิปเสียงคล้ายกับเสียงของสมาชิกพรรค สนทนากับผู้บริหาร "ดิไอคอน" โฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวย้ำว่า พรรคไม่ได้นิ่งนอนใจ และพลเอกประวิตร หัวหน้าพรรค ยืนยันมาตลอดว่า หากมีสมาชิกพรรค ไม่ว่าจะมีตำแหน่งใด กระทำผิดกฎหมาย ต้องถูกดำเนินคดีไม่มีการละเว้น ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ผู้ยื่นคำร้องฟ้องพรรคเพื่อไทย เคยมีประวัติยื่นร้องเรียนพรรคก้าวไกลมาแล้ว จนสุดท้ายพรรคก้าวไกลถูกยุบพรรค รอบนี้โมเดลเดียวกัน ไม่ได้ยื่นขอให้ยุบพรรค แต่ขอให้ยุติการกระทำ แต่คำตัดสินของศาลจะนำไปสู่การยื่นร้องยุบพรรคเหมือนสมัยก้าวไกลได้ปล่าว พรรคเพื่อไทยมีควาเมสี่ยงขนาดไหน พูดคุยกับ รศ.เจษฎ์ โทณะวณิก คณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
งานนี้หลายคนไม่เชื่อว่า ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ จะดำเนินการโดยลำพังคนเดียว ชุดข้อมูลมหาศาล 508 หน้า คำร้องที่รวมเอาพฤติการณ์ทั้งหลายของพรรคเพื่อไทยและทักษิณ รวมถึงข้อกล่าวหาที่ครอบคลุมโทษร้ายแรง ทั้งหมดนี้ตีความเป็นอื่นได้ยาก นอกจาก "กฐินหมู่" ติดตามการวิเคราะห์จาก ประจักษ์ มะวงศ์สา บรรณาธิการอาวุโส ในช่วงประจักษ์วิเคราะห์
6 ประเด็น ที่ยื่นฟ้องพรรคเพื่อไทย ของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ เป็นพฤติการณ์ที่เคยมีผู้ร้องเรียนผ่านองค์กรอิสระ เคลื่อนไหว และเรียกร้องมานานแล้ว แต่อะไรที่เป็นน้ำหนัก ให้มั่นใจได้ว่า มีหลักฐานเพียงพอ ในการยื่นเรื่องในช่วงนี้ พูุดคุยกับ ธีรยุทธ์ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ผู้ยื่นคำร้องฟ้องพรรคเพื่อไทย