ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ : ผู้นำยูเครนเยือนเวที G7 กวาดแรงหนุนสู้สงคราม

ต่างประเทศ
22 พ.ค. 66
20:06
412
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ : ผู้นำยูเครนเยือนเวที G7 กวาดแรงหนุนสู้สงคราม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ G7 ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีสิ่งที่โดดเด่นที่สุดอีกอย่างเกิดขึ้น หนีไม่พ้นการปรากฏตัวของผู้นำยูเครนที่เมืองฮิโรชิมะซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุม

การพบปะกับบรรดามหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ทำให้ผู้นำยูเครนได้อาวุธและงบประมาณสนับสนุนด้านการทหารติดมือกลับบ้านไปมากมาย และขณะเดียวกันยังได้โอกาสหว่านล้อมชาติ ที่ยังไม่แสดงท่าทีต่อต้านสงครามอย่างชัดเจนให้หันมาเข้าข้างยูเครนมากขึ้นด้วย

ระยะหลังมานี้โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ปธน.ยูเครน ออกเดินสายเยือนหลายประเทศ เพื่อเรียกร้องการสนับสนุนทางการทหาร ระหว่างที่ยูเครนเตรียมการโจมตี โต้กลับรัสเซียครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ และเวทีการประชุม G7 ซึ่งประจวบเหมาะจัดขึ้นที่เมืองประวัติศาสตร์อย่างฮิโรชิมะ ที่มีบาดแผลจากการถูกทิ้งระเบิดปรมาณูปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ 2 งานนี้จึงกลายเป็นเวทีชั้นเยี่ยมในการเรียกคะแนนความเห็นใจจากมหาอำนาจโลก

ปธน.ยูเครน ยืนไว้อาลัยที่อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ พร้อม นายกฯ ญี่ปุ่น

ปธน.ยูเครน ยืนไว้อาลัยที่อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ พร้อม นายกฯ ญี่ปุ่น

ปธน.ยูเครน ยืนไว้อาลัยที่อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ พร้อม นายกฯ ญี่ปุ่น

ภาพถ่ายดาวเทียมที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เปรียบเทียบเมืองบัคห์มุตระหว่างภาพที่บันทึกไว้ช่วงเดือน พ.ค.2565 ก่อนถูกรัสเซียโจมตี กับภาพที่ถ่ายในเดือน พ.ค. ปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างเกือบทั้งหมด ที่แทบจะราบเป็นหน้ากลอง ก่อนที่ เยฟเกนี พริโกซิน ผู้ก่อตั้งกลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ จะประกาศยึดครองเมืองบัคห์มุตได้อย่างเบ็ดเสร็จเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างที่เซเลนสกีอยู่ที่ฮิโรชิมะ 

ภาพเปรียบเทียบเมืองบัคห์มุตปี 65 และ ปัจจุบัน

ภาพเปรียบเทียบเมืองบัคห์มุตปี 65 และ ปัจจุบัน

ภาพเปรียบเทียบเมืองบัคห์มุตปี 65 และ ปัจจุบัน

อาจจะเรียกได้ว่าเซเลนสกีปรากฏตัวในเวทีผู้นำโลกครั้งนี้ ท่ามกลางเรื่องหนักใจจากสมรภูมิบัคห์มุต ที่รัสเซียออกมากล่าวอ้างชัยชนะ แต่ความช่วยเหลือที่ได้รับอาจจะพอคุ้มค่ากับการเดินทางอยู่บ้าง

สหรัฐฯ ประกาศให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่ยูเครนเพิ่มเติมอีก 375 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 12,900 ล้านบาท ที่ครอบคลุมทั้งจรวดสำหรับระบบยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS กระสุนปืนใหญ่ ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง รวมถึงยานหุ้มเกราะต่างๆ หลังจากผู้นำสหรัฐฯ เพิ่งจะไฟเขียวเปิดทางให้ยูเครนเข้าถึงเครื่องบินขับไล่ทันสมัยอย่าง F-16 ไปหมาดๆ

F-16 อาจไม่ใช่เครื่องบินรบที่ทันสมัยที่สุด แต่ด้วยสมรรถนะที่น้ำหนักเบา บินได้ด้วยความเร็วเหนือเสียง 2 เท่าตัว และมีจำนวนมากกว่า 3,000 ลำ ใน 25 ประเทศทั่วโลก ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าอย่างน้อยๆ F-16 คงช่วยเสริมทัพยูเครนซึ่งปัจจุบันมีเครื่องบินรบในสมัยอดีตสหภาพโซเวียตประจำการอยู่เพียงไม่เกิน 120 ลำเท่านั้น

นอกจากนี้ โจ ไบเดน ปธน.สหรัฐฯ ยังประกาศให้คำมั่นว่าจะอยู่เคียงข้างยูเครนอย่างสม่ำเสมอ และ วลาดิเมียร์ ปูติน ปธน.รัสเซีย จะไม่สามารถทำลายมติของชาติสมาชิก G7 ได้ตามที่หวัง 

นอกจากการสนับสนุนทางการทหารแล้ว เวที G7 ยังช่วยเปิดโอกาสให้ เซเลนสกี ดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูต ผ่านการพบปะกับประเทศที่ร่วมสังเกตการณ์การประชุม แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกก็ตาม

1 ในที่ถูกจับตามองหนีไม่พ้น คือ อินเดีย ซึ่งสานสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซียมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดสงคราม โดยเฉพาะการนำเข้าพลังงานปริมาณมหาศาล และไม่เคยออกปากประณามรัสเซียในการรุกรานยูเครน

ปธน.ยูเครน พบ นายกฯ อินเดีย

ปธน.ยูเครน พบ นายกฯ อินเดีย

ปธน.ยูเครน พบ นายกฯ อินเดีย

แต่ความพยายามของเซเลนสกีครั้งนี้ยังไม่เป็นผลเท่าที่ควร

นเรนดรา โมดี นายกฯ อินเดีย ออกแถลงการณ์ภายหลังการพบปะเซเลนสกีอย่างซึ่งหน้าเป็นครั้งแรก โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเจรจาและการทูต รวมถึงเสนอให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเท่านั้น โดยไม่ขอไปยุ่งเกี่ยวทางด้านการทหารใดๆ 

ไม่ว่ายูเครนจะสร้างพันธมิตรเพิ่มขึ้นในการประชุม G7 ได้สำเร็จหรือไม่ก็ตาม แต่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้กลายเป็นประเด็นหลักของการประชุมครั้งนี้ไปโดยปริยาย และอย่างน้อยๆ ยูเครนก็ได้รับการสนับสนุนอาวุธที่ต้องการ เพื่อเสริมทัพก่อนเปิดฉากโจมตีโต้กลับรัสเซียตามที่คาดหวังไว้

วิเคราะห์โดย : วินิจฐา จิตร์กรี

อ่านข่าวเพิ่ม :

วิเคราะห์ : รัสเซียชนะบัคห์มุต ได้เปรียบจริงหรือ?

เมื่อโลกเผชิญภาวะโลกร้อน จนทำให้ฝนตกนานถึง "2 ล้านปี"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง