ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็กด่วน! 10 แอปมัลแวร์อันตรายบน Android ยอดโหลดทะลุล้านครั้ง

อาชญากรรม
4 ส.ค. 66
13:27
33,420
Logo Thai PBS
เช็กด่วน! 10 แอปมัลแวร์อันตรายบน Android ยอดโหลดทะลุล้านครั้ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือน 10 แอปมัลแวร์อันตราย ห้ามดาวน์โหลดเด็ดขาด เสี่ยงถูกขโมยข้อมูล ขณะที่จุฬาลงกรณ์ แนะเทคนิคป้องกัน เบื้องต้นอย่าคลิกข้อความ pop-up ไม่โหลดโปรแกรมที่ไม่น่าเชื่อถือ

วันนี้ (4 ส.ค.2566) เฟซบุ๊กตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ตำรวจสอบสวนกลาง CIB เผยแพร่ข้อมูลว่า ขณะนี้ตรวจพบแอปที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ซึ่งบางแอปถูกถอด Playstore แล้ว แต่ยังสามารถติดตั้งผ่านช่องทางแอปพลิเคชั่น อื่นได้อยู่ และบางแอปจะอยู่ในรูปแบบ Mini- Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัลโดยมี 10 แอปอันตรายดังนี้

  • Noizz : แอปตัดต่อวิดีโอพร้อมเพลง (100,000,000 downloads)
  • Zapya : แอปแชร์ไฟล์ ย้ายไฟล์ (100,000,000 downloads)
  • VFly : แอปสร้างวีดีโอ (50,000,000 downloads)
  • MVBit : แอปตัดต่อวีดีโอ (50,000,000 downloads)
  • Biugo : แอปตัดต่อวีดีโอ (50,000,000 downloads)
  • Crazy Drop : แอปเล่นเกม รับรางวัล (10,000,000 downloads)
  • Cashzine : แอปเล่นเกม รับรางวัล (10,000,000 downloads)
  • Fizzo Novel : แอปอ่านหนังสือออฟไลน์ (10,000,000 downloads)
  • CashEM : แอปรับรางวัล (5,000,000 downloads)
  • Tick : แอปดูวีดีโอเพื่อรับรางวัล (5,000,000 downloads)

ข้อมูลจากสำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า Malicious Software หรือที่เรารู้จักกันว่ามัลแวร์ (Malware) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของเหล่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิด ที่ถูกออกแบบมาเพื่อมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส (Virus), วอร์ม (Worm), โทรจัน (Trojan), สปายแวร์ (Spyware)

ดังนั้น ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทุกคนควรรู้ลักษณะ และพฤติกรรมการทำงานของ มัลแวร์ในทุกรูปแบบ รวมถึงการป้องกันตัวเองจากมัลแวร์ง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ ลักษณะและพฤติกรรมการทำงานของมัลแวร์ในแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น

  • ­Virus: มักจะแฝงตัวมากับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือไฟล์และสามารถแพร่กระจายไปยังเครื่องอื่น ๆ ได้โดยแนบตัวเองไปกับโปรแกรมหรือไฟล์ดังกล่าว แต่ไวรัสจะทำงานก็ต่อเมื่อมีการรันโปรแกรมหรือเปิดไฟล์เท่านั้น­
  • Worm: สามารถแพร่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ผ่านทางระบบเครือข่าย เช่น อีเมล หรือระบบแชร์ไฟล์
  • Trojan: หลอกล่อผู้ใช้ว่าเป็นโปรแกรมที่ปลอดภัย แต่จริง ๆ แล้วจะทำให้เกิดความเสียหายเมื่อผู้ใช้หลงเชื่อนำไปติดตั้ง โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวว่ามีโปรแกรมอื่นที่อันตรายแฝงตัวมาด้วย
  •  Backdoor: เปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้ามาใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราโดยไม่รู้ตัว
  • ­Rootkit: เปิดช่องทางให้ผู้อื่นเข้ามาติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อควบคุมเครื่อง พร้อมได้สิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ (Root)­
  • Spyware: แอบดูพฤติกรรมและบันทึกการใช้งานของผู้ใช้ และอาจขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น บัญชีชื่อผู้ใช้งาน, รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น พร้อมทั้งส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่ได้ระบุเอาไว้อีกด้วย­
  • Ransomware: ทำการเข้ารหัสหรือล็อกไฟล์ ผู้ใช้จะไม่สามารถเปิดไฟล์หรือคอมพิวเตอร์ได้ จากนั้นก็จะส่งข้อความ “เรียกค่าไถ่” เพื่อแลกกับการถอดรหัสเพื่อกู้ข้อมูลคืนมา

ข้อแนะนำในการป้องกันการติดมัลแวร์

อัปเดตคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ในเครื่องสม่ำเสมอ ติดตั้งโปรแกรมป้อง กันมัลแวร์ (Anti-malware) บนคอมพิวเตอร์ ระมัดระวังการใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่อทั้งหลาย เช่น แฟลชไดร์ฟ (USB) ควรทำการสแกนไวรัสทุกครั้งก่อนใช้งาน

ไม่คลิกข้อความที่แสดงโฆษณาหรือหน้าต่าง pop-up ปลอม (Adware) บนเว็บไซต์ที่เยี่ยมชม เพราะจะเป็นการเริ่มดาวน์โหลดมัลแวร์ จะต้องเช็ก และตรวจสอบก่อนคลิกเสมอไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือเสี่ยงต่อการ มีมัลแวร์แฝงอยู่

หลีกเลี่ยงการเปิดอีเมล รวมไปถึงไฟล์แนบที่ต้องสงสัยใดๆ ที่ส่งมาจากอีเมลที่เราไม่รู้จัก และต้องตรวจสอบทุกครั้งก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง