ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ผ่าขบวนการ “ฮั้วประมูล” บ้านไหนใหญ่ ใครเบื้องหลัง

อาชญากรรม
14 ก.ย. 66
17:12
1,649
Logo Thai PBS
ผ่าขบวนการ “ฮั้วประมูล” บ้านไหนใหญ่ ใครเบื้องหลัง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

“ฮั้วประมูล “ หนังม้วนเดิม แต่นำกลับมาฉายใหม่ เปลี่ยนฉากใหม่ ตัวละครใหม่ หลัง ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ “กองคดีฮั้วประมูล” กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบพบความผิดปกติโครงการก่อสร้างถนนในจังหวัดนครปฐม 2 โครงการที่ส่อเค้าว่า อาจจะมีการฮั้วประมูล

อันเป็นผลจากขยายเครือข่าย “กำนันนก” ประวีณ จันทร์คล้าย ลูกพี่ “หน่อง จันผา” มือยิง “สารวัตรแบงค์” พ.ต.ต.ศิวกร สายบัว อดีต สว.ส.ทล. 1 กก.2 บก.ทล เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ต่อมาพบรายชื่อ กำนันนก ลูกชายผู้ใหญ่โยชน์ หรือ “ลออง จันทร์คล้าย” เป็นหนึ่งกรรมการบริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด และป.พัฒนารุ่งโรจน์ จำกัด

คว้าประมูลงานจากโครงการรัฐ ตั้งแต่ปี 2554-2566 จำนวน 1,544 โครงการ มูลค่ากว่า 7,579 ล้านบาท วงเงินทำสัญญา 6,500 ล้านบาท ทั้งหมด 95 % อยู่ที่ จ.นครปฐม

อ่านข่าว ปมกังขา บริษัท “กำนันนก” ประมูล 2 โครงการสร้างถนนนครปฐม

ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ “กองคดีฮั้วประมูล” กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ “กองคดีฮั้วประมูล” กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ “กองคดีฮั้วประมูล” กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)

เบื้องหลัง “ฮั้วประมูล”ทะลวงถึงทุกช่องทาง

ในแวดวงผู้ที่เคยอยู่ในกลุ่มจัดการฮั้วประมูล ให้ข้อมูลไม่ต่างกันว่า รูปแบบทุจริตของวงการรับเหมาก่อสร้าง หากมีผู้เปิดช่อง รู้เส้นสนกลใน กับเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้ได้งานมา

หากใครมีแบ็กหนุนหลังดีๆ ไม่ว่าเปิดประมูลงานด้วยวิธีไหน E-biding, E-Auction , แบบคัดเลือก , แบบเฉพาะเจาะจง , แบบประกวดราคา, แบบสอบราคา ทุกอย่างย่อมทำได้หมด ถ้าใคร หรือรายไหน รู้จักคนในก็มีความได้เปรียบมาก

บางบริษัท จะมีผู้ทำหน้าที่แค่ไปยื่นซองแข่งราคาเท่านั้น ในพื้นที่เราจะรู้ว่า มีใครบ้าง กลุ่มไหน คนนอกพื้นที่จะเข้ามายาก หรือแทบไม่มีโอกาสเลย และผู้ที่ได้รับงานส่วนใหญ่จะมีบ้านใหญ่ คอยเคลียร์ทางให้ เริ่มตั้งแต่งบประมาณ ถูกจัดสรรเข้ามาในพื้นที่ เขาจะรู้กันกับเจ้าหน้าหน้าที่ พวกนี้คือ "หน่วยล่วงหน้าคอยเคลียร์เส้นทางโครงการประมูลฯการก่อสร้างเอาไว้ให้แล้ว”

ปฎิเสธไม่ได้ว่า นักการเมืองบ้านใหญ่ และบ้านเล็ก รวมทั้งกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น ถือเป็นกลไกหลัก ที่มีบทบาทสำคัญในการกระจาย งานให้ลูกน้องที่มีบริษัทรับเหมาก่อสร้างอยู่ในเครือข่าย

ผู้ที่เคยอยู่ในแวดวงนี้ บอกว่า หลังจากมีการจัดสรรงบประมาณลงไปในแต่ละจังหวัด ก็จะมีข้อมูลว่ามีหน่วยงานใดจะทำอะไรบ้าง เช่น งบก่อสร้างถนน สร้างตึก อาคาร สถานที่ ต่อมาหน่วยงานนั้นๆ ก็จะจัดทำร่างขอบเขตงาน หรือ TOR เพื่อเป็นข้อกำหนดเงื่อนไขในการเสนอราคา

อ่านข่าว “ดีเอสไอ” จ่อสอบ 2 โครงการสร้างถนนบริษัท “กำนันนก” จับตาฮั้วประมูลหรือไม่

การเข้าตรวจค้นบริษัทกำนันนก ที่จ.นครปฐม เพื่อหาความเชื่อมโยงฮั้วประมูลก่อสร้าง

การเข้าตรวจค้นบริษัทกำนันนก ที่จ.นครปฐม เพื่อหาความเชื่อมโยงฮั้วประมูลก่อสร้าง

การเข้าตรวจค้นบริษัทกำนันนก ที่จ.นครปฐม เพื่อหาความเชื่อมโยงฮั้วประมูลก่อสร้าง

พอเริ่มเปิดประมูล ก็จะมีการประกาศ เมื่อก่อนเขาจะใช่วิธีซื้อซองประกวดราคา เคาะราคา แต่ปัจจุบันเป็น E-biding ปกติบริษัทที่เข้ายื่นซองประกวดราคาในจังหวัด ก็จะรู้ว่าใครเป็นใคร เครือข่ายไหน เช่น กรณีบริษัทนี้อยู่ในจังหวัดนี้เข้าไปซื้อซอง เขาก็จะรู้กัน ไม่ว่าอะไร แต่จะส่งลูกน้องไปเจรจา เพื่อขอซื้อซองต่อ บางรายอาจโทรไป ตกลงกันได้เขาก็จ่ายเงินให้ แล้วแต่จะคุยกันให้จบ

แหล่งข้อมูลระบุว่า สิ่งที่รับรู้กันในแวดวงคือ ต้องดูว่าจริงๆ แล้วใคร หรือบริษัทไหนเป็นผู้ไปซื้อ เพราะผู้ที่เข้าไปซื้อต้องพบกันในวันที่มีการชี้ไซต์งานก่อสร้างหรือดูสถานการณ์ ที่ก่อสร้างจริง

ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวสำคัญมาก เนื่องจากการจัดทำร่างหรือทีโออาร์อาร์กำหนดเงื่อนไขว่า ผู้ที่ประสงค์ยื่นเสนอประกวดราคาจะต้องไปดูสถานที่จริง หากไม่ไปดู เขาจะขอสงวนสิทธิฯ โดยตีตกไปเลย ไม่ต้องเข้ามายื่น

โดยผู้ที่เข้ายื่นซองมักจะพบความจริงในวันที่ดูสถานที่ก่อสร้างว่า ใครคือผู้เข้าประมูลได้ ส่วนใหญ่จะรู้ๆอยู่แล้วว่า จังหวัดไหน ใครเป็นเจ้าถิ่นคุม เป็นเครือญาติของนักการเมือง เครือข่ายของใคร

บางครั้งเขาจะมาปรากฎตัว และแสดงตัวให้เห็นในพื้นที่ว่าของเขา บางรายใช้วิธีพูดจาภาษาดอกไม้ ให้ลูกน้องเอาเงินมาให้ และอาจกระซิบว่า ได้เงินแล้ว ขอให้รีบกลับบ้านไปอย่างนี้ก็มี ส่วนจังหวัดไหนที่ดุๆ หน่อย บ้านใหญ่หรือเครือข่ายก็ใช้วิธีจัดการแตกต่างกันไป

จัดโซน “ฮั้วประมูล” แบ่งผลประโยชน์

การสมยอมราคา หรือ ฮั้วประมูล แม้จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 แต่พบว่ายังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่อิทธิพลของนักการเมืองระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ที่มีเครือข่ายกว้างขวางจนถูกจัดให้อยู่ในเขตสีแดง

ร.ต.อ.สุรวุฒิ บอกว่า สำหรับเครือข่ายกลุ่มฮั้วประมูล ตามจังหวัดต่างๆนั้น จากการทำคดีในหลายพื้นที่พบว่า ในภาคอีสานจะมี 4-5 กลุ่ม พวกฮั้วจะรู้จักกันอยู่แล้ว เวลาจะมีการประมูลโครงการขนาดไหน เขาจะมีเขตรับผิดชอบ จังหวัดใคร จังหวัดมัน โดยจะมีหัวหน้าใหญ่ในการจัดโซนภาคนั้นภาคนี้ ไม่มีการข้ามเขตกัน ซึ่งม่ต่างจากวิธีการทำงานของตำรวจท้องที่

เป็นซุ้มเครือข่ายของนักการเมืองหรือไม่ หรือเกี่ยวพันกับบ้านเล็ก บ้านน้อย บ้านใหญ่ นักการเมืองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในจังหวัดนั้นๆ แต่ความผิดคดีประเภทนี้จะต้องมีลูกมือ เจ้าของไม่ดำเนินการเอง อาศัยลูกน้อง เป็นมือเป็นไม้ ทำหน้าที่ข่มขู่คุกคาม ไม่ให้คนเข้ามายื่นซองแข่งราคา

ผอ.กองคดีฮั้วประมูล ระบุว่า การฮั้วประมูลในอดีตจะใช้วิธีการซื้อซองประกวดราคา จากนั้นจะทำคนมีสีไปทำหน้าที่กัน หรืออุ้ม ผู้ที่เข้าไปซื้อซองประมูลราคาออกมา

แต่ปัจจุบันเปลี่ยนการประมูลงานจะใช้ระบบ E-biding คือ ทุกคนที่เข้าไปซื้อซองจะต้องคีย์เข้าไปในระบบ เมื่อถึงวันกำหนด E-biding หรือวันที่เสนอราคาก็จะเป็นวันเดียวกัน เข้าไป biding จะอยู่ที่ไหนก็ทำได้ ซึ่งคนที่ไปซื้อซองไม่มีทางที่ทุกคนจะทราบข้อมูลของราคากลางของการประมูลได้

คำถาม คือ คนที่ไปซื้อซอง หรือเครือข่ายทราบได้อย่างไรว่า มีคนเข้าไปซื้อซอง วิธีการพวกนี้ เมื่อเขารู้ว่าใครซื้อซอง ก็จะไปดำเนินในการจัดการ เช่น บล็อก ส่วนจะบล็อกด้วยวิธีการใด ไม่ทราบ จึงต้องเรียกมาสอบปากคำ

ดังกรณี โครงการทำถนนเส้น หมายเลข 375 สาย อ.ดอนตูม-ต.ลำลูกบัว จ.นครปฐม โครงการนี้มี 32 คนที่เข้าไปยื่น และมา biding จริงแค่ 3 ราย ที่เหลือหายไปไหนหมด เสียเงินซื้อซองแล้ว แต่ทำไมถึงเวลาไม่ไปยื่น นี่คือความผิดปกติที่เกิดขึ้น

อ่านข่าว DSI สอบย้อนหลัง 2 บริษัท "กำนันนก" รายได้ไม่สอดคล้องงบดุล

กองพิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจสอบความเชื่อมโยงคดียิงสารวัตรแบงค์

กองพิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจสอบความเชื่อมโยงคดียิงสารวัตรแบงค์

กองพิสูจน์หลักฐานเข้าตรวจสอบความเชื่อมโยงคดียิงสารวัตรแบงค์

ทุจริต “จัดซื้อจัดจ้าง”ซับซ้อน เพิ่มสูงขึ้น

ปัจจุบันการคอร์รัปชันจัดซื้อจัดจ้างมีความซับซ้อนมากขึ้น ข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า ปีงบประมาณ 2565 มีผู้ยื่นอุทธรณ์การจัดซื้อจัดจ้าง จำนวน 2,046 เรื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี สิ่งที่น่ากังวลคือมีเพียง 415 เรื่อง หรือ 1 ใน 5 เท่านั้นที่อุทธรณ์แล้วชนะ หรือมีเหตุผลสามารถฟังขึ้น

ข้อมูลจากป.ป.ช.ระบุว่า รูปแบบเดิมๆในการฮั้วประมูล มักจะเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะจะเป็นผู้กำหนดวิธีการเลือกให้เอกชนรายใดเป็นผู้ชนะ โดยนักการเมือง ที่เป็นบ้านใหญ่มักจะชอบทำกันมาก หรือเจ้าหน้าที่รัฐจับมือกับเอกชน และใช้วิธีปั่นราคาทำกำไรได้มากที่สุด

นอกจากนี้ยังมีวิธีจัดฮั้ว โดยให้คนนอกที่มีอาชีพจัดฮั้วโดยตรง โดยเฉพาะตามจังหวัดใหญ่ๆ เพื่อเรียกกินค่าฮั้ว และจะเน้นงานที่เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ผู้ยื่นซองประมูลราคามักจะนัดหมายตกลงกันจ่ายเปอร์เซ็นต์ให้ผู้ประมูลรายอื่น เพื่อแลกกับงานประมูลโครงการที่จะได้รับไป

ยังเป็นหนังม้วนยาว ต้องจับตาต่อไปว่า หลังจากคลี่คลายปมคดีดังกล่าวนี้แล้ว คดีฮั้วประมูลจะไปฉายในพื้นที่ไหนต่อ

อ่านข่าว

สืบขุมทรัพย์ “บริษัทกำนันนก” 7 องค์กรรัฐ ใช้บริการ

จ๊อบใหม่ “มือปืน“ “ซุกใต้ปีกนักการเมือง-ผู้มีอิทธิพล 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง