ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มองลอดแว่น 47 ปี “คนเดือนตุลาฯ” ถึง “คนรุ่นใหม่”

การเมือง
10 ต.ค. 66
12:20
1,093
Logo Thai PBS
มองลอดแว่น 47 ปี “คนเดือนตุลาฯ” ถึง “คนรุ่นใหม่”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ครบ 47 ปี จากเหตุการณ์นับแต่ต.ค. 2519-ปัจจุบัน หากวงรอบนี้เปรียบเสมือนอายุคนก็ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน ระหว่างเส้นทางอาจมีทั้ง ทุกข์ สุข เศร้า ขมขื่น ผิดหวัง ไม่ว่ากับตัวเอง สังคม หรือสิ่งแวดล้อม

นพ.วิชัย โชควิชัย อดีตคนเดือนตุลาคม กล่าวว่า อุดมการณ์ของคนเดือนตุลาในอดีตกับปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปตามกฎไตรลักษณ์ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา หากจะให้นิยมคำว่า “อุดมการณ์ของคนเดือนตุลา” ก็ หมายถึง ความคิด แนวทางการต่อสู้ของคนที่อยู่ในเดือนตุลาคม บางคนอาจเปลี่ยนไปบ้าง แต่จุดหมายปลายทาง ยังเหมือนเดิม คือ การทำประโยชน์ของประเทศชาติ

หากย้อนอดีตกลับไป ความเข้าใจประชาธิปไตยของคนเดือนตุลาที่เป็นนักศึกษาในขณะนั้น ประชาธิปไตยดีกว่าเผด็จการแน่นอน แต่ประชาธิปไตยของแต่ละคน มีหลากหลายรูปแบบ บางคนประชาธิปไตยภายใต้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บ้างก็เชื่อว่าไม่ต้องมีพระมหากษัตริย์ บ้างก็บอก รูปแบบการปกครองของไทยต้องเป็นแบบอังกฤษ ญี่ปุ่น สวีเดน

นพ.วิชัย กล่าวว่า ในอดีตตนเคยโดนจับในข้อหา เป็นภัยสังคม ถูกจำคุก 29 วัน แม้ไม่ได้เข้าป่าเหมือนนักศึกษาสมัยนั้น เนื่องจากจบได้ทำงานเป็นแพทย์ในชนบทแล้ว อยู่ จ.มหาสารคาม ทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนให้ข้อมูลประชาธิปไตย กับประชาชนในภาคอีสาน จึงทำให้วันนี้ เข้าใจและเลือกที่จะทำงานขับเคลื่อนในรูปแบบอื่น ไม่จำเป็นต้องมุ่งเรื่องของการต่อสู้หรือการขับไล่เผด็จการ

อดีตคนเดือนตุลาฯ บอกว่า ในฐานะแพทย์จึงมุ่งขับเคลื่อนด้านสาธารณสุข เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ จึงทำให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานได้ทั้งกับระบบประชาธิปไตย และเผด็จการ การทำงานด้านสุขภาพ จะให้ได้ผลสำเร็จจากฝ่ายประชาธิปไตย เป็นไปไม่ได้

อย่างสมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกฯ แม้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนให้ทุกอำเภอมี รพ.เกิดขึ้น ต่างจากสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่มาจากประชาธิปไตยครึ่งใบ ทุกพื้นที่มี รพ.ประจำอำเภอ สัดส่วนของหมอต่อคนไข้ ก็เปลี่ยนไป จาก 1 ต่อ 80,000 คน เหลือ 1 ต่อ 2,000 คน ส่วน ยุครัฐบาลทักษิณ ก็มีส่วนขับเคลื่อน เกิด สสส. และ สปสช.

อ่านข่าว :ย้อนเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง ในเดือน "ตุลาคม"

เหตุการณ์ "14 ต.ค." ในสายของคนรุ่นใหม่

การเมือง “อุบาทว์” ไม่เปลี่ยน

นพ.วิชัย กล่าวว่า การเมืองในปัจจุบันเป็นวงจรอุบาทว์ที่เป็นผลพวงมาจากการยึดอำนาจอย่างยาวนาน เป็นระบบประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์ รัฐธรรมนูญพิกลพิการดูได้จาก อำนาจของสมาชิกวุฒิสภา และองค์กรอิสระ ประชาธิปไตยที่แท้จริงพรรคการเมืองต้องมีความเข้มแข็ง และพัฒนานโยบาย

พรรคการเมืองตั้งยากยุบง่าย ดูได้จากเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น หรือแม้แต่การประกาศนโยบายของรัฐบาล เนื้อหาก็มีน้อยแค่ 14 หน้า ไม่มีการระบุที่มาของแหล่งงบประมาณที่จะนำมาใช้ อย่าง เงินดิจิทัล ที่ถูกคัดค้านแต่ก็ยังเดินหน้า การลดค่าไฟฟ้า ก็มีผลกับความมั่นคงด้านพลังงาน คนไม่เข้าใจว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ลดหนี้เกษตรกรก็สุกเอาเผากิน เป็นความอ่อนแอของพรรคการเมือง ถ้าอยากให้บ้านเมืองดีเข้มแข็งต้องปล่อยให้มีการเลือกตั้ง

มองอย่างเข้าใจ “คนรุ่นใหม่” ในสายตา “คนเดือนตุลา”

ในฐานะอดีตนักต่อสู้เก่า นพ.วิชัย มองคนรุ่นใหม่ว่า มีการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาเปิดเผยคิดอย่างไรก็พูดไปแบบนั้น มีความกล้าหาญ ไม่กลัวตาย ทำเพื่ออุดมการณ์ ไม่กลัวลำบาก เพียงแต่คำพูดอาจระคายหูไม่น่าฟัง จาบจ้วง ผู้ใหญ่เองต้องเมตตาเด็ก และมองอย่างเข้าใจ เพราะพวกเค้าต่อสู้อย่างสันติวิธี

เชื่อว่าคนรุ่นใหม่มีความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยมากกว่าคนในอดีต เพราะมีสื่อ มีแหล่งข้อมูลให้ค้นหามากกว่า ทำให้รู้ข้อมูล และไม่จำเป็นต้องแนะนำว่าเขาควรทำอย่างไร แต่ผู้ใหญ่ในสังคมต้องใจกว้าง 

นพ.วิชัย กล่าวว่า มองโลกและคนรุ่นใหม่ อย่าง นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เข้าใจเด็ก เพราะการแสดงออกของเด็กและเยาวชนเป็นเรื่องเสรีภาพ ไม่เรื่องตามใจหรือไม่ตามใจ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง