ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อุทยานฯ ประกาศจับ "อิกัวนา" ก่อนนิเวศพัง พบ 3 พิกัดประชากรพรึ่บ

สิ่งแวดล้อม
15 พ.ย. 66
14:54
3,471
Logo Thai PBS
อุทยานฯ ประกาศจับ "อิกัวนา" ก่อนนิเวศพัง พบ 3 พิกัดประชากรพรึ่บ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมอุทยานฯ ประกาศจับ "อิกัวนา" หลุดในธรรมชาติ เพื่อควบคุมในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หลังพบแล้ว 3 พื้นที่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี คำคะโนด จ.อุดรธานี อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ห่วงนิเวศพังยอมรับไม่รู้ประชากร พร้อมแจ้งให้คนครอบครองแจ้งด่วน ชงเสนอชะลอนำเข้า

กรณีพบอิกัวนาเขียว สัตว์ป่าต่างถิ่นระบาดในหลายพื้นที่ เช่น พัฒนานิคม จ.ลพบุรี รวมทั้งชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งสร้างความตกใจกับชาวบ้านเนื่องจากจะพบว่ามีปัญหากัดกินพืชผลการเกษตร

วันนี้ (15 พ.ย.2566) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า  ขณะนี้กรมอุทยานฯได้ออกหนังสือเวียนแจ้งไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศขอให้ช่วยตรวจสอบอิกัวนา ที่พบในพื้นที่สาธารณะ และในพื้นที่ธรรมชาติ โดยให้แจ้งสายด่วน 1362 เพื่อประสานเจ้าหน้าที่ในบริเวณใกล้เคียงไปดักจับ เพื่อนำส่งไปดูแลตามสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า 

อ่านข่าว : กองทัพ "อิกัวนา" บุกลพบุรี เก็บขี้หาเชื้อโรค-ใครปล่อยโทษ 6 เดือน

มาตรการเร่งด่วนคือให้จับออกจากธรรมชาติให้เร็วที่สุด เพื่อนำมารวมดูแลในพื้นที่ควบคุม ยอมรับว่าไม่สามารถประชากรที่หลุดรอดหรือเติบโตว่ามีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งแม้จะไม่ใช่สัตว์ดุร้าย แต่ยังไม่มีใครประเมินผลกระทบทางนิเวศที่จะเสียหาย

ประกาศจับตัว-แจ้งครอบครองด่วน

นายอรรถพล กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ขอความร่วมมือผู้ที่ครอบครองอิกัวน่าเขียว ให้มาแจ้งการครอบครองต่อเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้แจ้งต่อสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ในท้องที่รับผิดชอบในพื้นที่ กทม.ให้แจ้งต่อกองคุ้มครองพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่า รวมทั้งจะเสนอต่อคณะกรรมการวิชาการเพื่อขอให้ชะลอการนำเข้าสัตว์ชนิดนี้ชั่วคราวก่อน

ภายในสัปดาห์นี้ จะเชิญนักนิเวศวิทยา ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลาน สมาคมผู้นิยมเลี้ยงสัตว์ชนิดพิเศษ มาหารืออย่างเร็วที่สุด เพราะยังมีประเด็นต่างๆ ทั้งการแจ้งขออนุญาตนำเข้ามาเลี้ยง ส่งออกที่ชัดเจน โดยมีข้อมูลนำเข้าทั้งหมด 11,622 ตัวเท่านั้น

ส่วนที่เพาะขยายพันธุ์และใครเลี้ยงมีมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งงานเชิงวิชาการที่จะตอบว่าสัตว์ชนิดนี้เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่จะกระทบกับกิ้งก่าพันธุ์พื้นเมืองของไทย หรือเข้าไปอยู่ป่าอนุรักษ์แล้วหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องหาคำตอบทั้งหมด 

อ่านข่าว ขีดเส้น 16 มี.ค. แจ้งครอบครองสัตว์ป่าควบคุม 10 ชนิดแรก "สิงโต-กอริลล่า-อนาคอนดา"

อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่ครอบครองสัตว์ป่าต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมาย โดยไม่ปล่อยให้สัตว์ที่อยู่ในครอบครองเป็นอิสระ ซึ่งการปล่อยสัตว์ป่าควบคุมมิโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ต้องเลี้ยงไปตลอดชีวิต และหากไม่ประสงค์จะเลี้ยงให้แจ้งและส่งมอบให้กรมอุทยาน

สำหรับอิกัวนา จากข้อมูลกรมอุทยานแห่งชาติฯ รายงานว่าตั้งแต่ปี 2533-2565 มีการอนุญาตนำเข้าสัตว์เลื้อยคลาน 199 ชนิด ทั้งหมด 238,774 ตัว จาก 72 ประเทศ 6 ภูมิภาค (แอฟริกา ยุโรป เอเชีย อเมริกากลาง อเมริกาเหนือ โอเชเนียร์) ในจำนวนนี้ เป็นอิกัวนา 5,877 ตัว จาก 11 ประเทศ 5 ภูมิภาค (อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง เอเชีย แอฟริกา)

อ่านข่าว : รู้จัก "อิกัวนาเขียว" เอเลียนสปีชีส์ เบอร์ต้น

โดยไทยกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าควบคุมตามมาตรา 9 การนำเข้าและส่งออกต้องไดรับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมอุทยานฯ แต่ที่ผ่านมาไม่ได้กำหนดใหเป็นชนิดที่ต้องแจ้งครอบครองไม่ต้องขออนุญาตเพาะพันธุ์และค้า ตามมาตรา 19 28 และมาตรา 30 และเป็นสัตว์ป่าตามบัญชี 2 ของอนุสัญญา CITES  

ปักหมุดที่ไหนบ้างมีรายงานพบ อิกัวนา

ข้อมูลการพบเห็น เห็นอิกัวนาเขียว อย่างน้อย 3 พื้นที่ 

  • บริเวณพื้นที่ชุมชนใกล้เขาพระยาเดินธง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ยังสามารถประเมินประชากรได้ จากข้อมูลเบื้องต้นมีนักศึกษาปริญญาโทสำรวจประเมินจำนวนประชากร ช่วงระยะเวลา 1 ปี พบอิกัวนาเขียว 300 คร้ัง พบตัวผู้ ตัวเมีย ตัวเต็มวัย วัยรุ่น ตัวเด็ก 
  • บริเวณพื้นที่วัดป่าคำชะโนด อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ประเมินประชากรมาก กว่า 10 ตัว ยังไม่มีการสำรวจในการ

  • ชุมชนหนองยาว อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พบฝูงอิกัวน่า 10 ตัว ลักษณะพื้นที่เป็นไร่ สวนเกษตรกรรมของชาวบ้าน ชาวบ้านบอกว่าเดิมมีคนต่างชาตินำมาเลี้ยง แต่ผ่านมาหลายปีพบลูกๆ หลุดกรงไปเติบโตในธรรมชาติ  

อ่านข่าว

ส.ผู้นิยมสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ คาดอีกัวนา "หลุด" สู่ธรรมชาติ ไม่ใช่การปล่อย

อุทยานฯ ประกาศจับ "อิกัวนา" ก่อนนิเวศพัง 3 พิกัดประชากรพรึ่บ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง