“CPF” เท อนุ กมธ.ปลาหมอคางดำ “ณัฐชา” เผยไม่เชิญแล้ว สัปดาห์หน้าเชิญ สนง.กฤษฎีกา-หน่วยงานประเมินความเสียหายสิ่งแวดล้อม เพื่อแนะให้รัฐฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทำลายระบบนิเวศ เรียกร้องรัฐบาลแสดงความจริงใจในการแก้ไขปัญหา หนุนญัตติตั้ง กมธ.วิสามัญขึ้นมาศึกษา
"เอเลียนสปีชีส์" เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งมีชีวิตที่มาจากต่างถิ่นที่ถูกนำเข้ามาในถิ่นใหม่ ซึ่งเกิดการแพร่พันธุ์จำนวนมาก จนทำให้สิ่งมีชีวิตต่างถิ่นนั้นกลายเป็น "ชนิดพันธุ์เด่น" ซึ่งอาจสร้างความเสียหาย และรุกรานสัตว์ในระบบนิเวศเดิมได้ โดยเอเลียนสปีชีส์ไม่ได้ใช้เรียกแค่ปลาที่มาจากต่างถิ่น แต่ยังรวมไปถึงสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ปีก และพืชบางชนิดอีกด้วย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่กระจายของปลาหมอสีคางดำ เอเลียนสปีชีส์ที่มีเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อระบบนิเวศและการประกอบอาชีพของชาวประมงอย่างมาก ทางภาครัฐจึงได้มีมาตรการการกำจัดปลาหมอคางสีดำ เช่น ห้ามไม่ให้นำเข้า หรือหากพบให้รีบแจ้งทางการทันที ซึ่งมีหลายคนที่ต้องข้อสงสัยว่าปลาหมอสีคางดำเอเลียนสปีชีส์เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศอย่างไร รวมถึงอัตราการขยายพันธุ์ของปลาหมอสีคางดำรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน ? ร่วมพูดคุยกับอาจารย์สรณัฏฐ์ ศิริสวย คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
แผนการจับปลาหมอคางดำ ของประมงจังหวัดสมุทรสาคร วันนี้ (9 ก.ค. 67) ถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะจับปลาหมอคางดำได้เพียง 50 กิโลกรัม ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,000 กิโลกรัม แต่ประมงประมงจังหวัดสมุทรสาคร บอกว่า ในแง่ดีคือทำให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจ ว่าปลาหมอคางดำเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ขณะที่ชาวบ้านต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพราะส่งผลกระทบต่ออาชีพและวิถีชีวิตของชาวบ้าน
‘ปลาหมอคางดำ’ หรือ ‘ปลาหมอสีคางดำ’ เอเลี่ยนสปีชีส์สัตว์สายพันธุ์ต่างถิ่นจากทวีปแอฟริกา ที่ถูกขนานนามว่าเป็นสิ่งมีชีวิต “อันตราย” เพราะความอึด ทนทาน อยู่ได้ทุกสภาพแวดล้อม แถมยังกินสัตว์น้ำตัวเล็กชนิดอื่น ๆ จนหมดเกลี้ยง ชาวประมงและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ในไทยต้องได้รับผลกระทบมายาวนานกว่า 10 ปี ถึงวันที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้แล้ว