ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"เกษตร-บริการ" กระอัก เศรษฐกิจไทยกระเตื้อง รับปรับค่าแรงขั้นต่ำ

เศรษฐกิจ
27 พ.ย. 66
15:55
1,765
Logo Thai PBS
"เกษตร-บริการ" กระอัก เศรษฐกิจไทยกระเตื้อง รับปรับค่าแรงขั้นต่ำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สนค.ชี้ อุตสาหกรรมเกษตร-บริการกระทบหนักสุด หลังค่าแรงปรับขึ้น 400 บาททั่วประเทศในปีหน้า คาดทำเศรษฐกิจไทยกระเตื้อง แค่0.27 – 1.04 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ (27 พ.ย.2566) ในปี2567 คาดว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ระยะแรก 400 บาท เริ่มในเดือนม.ค. ตามนโยบายที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้ แต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้จากฐานอัตราค่าจ้างเดิม 337 บาท เฉลี่ยค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้น 46-72 บาท ตามเขตพื้นที่เศรษฐกิจและจังหวัดท่องเที่ยว 

ครั้งนั้นพรรคเพื่อไทย ระบุว่า หากได้เข้ามาเป็นรัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้ได้ 600 บาททั่วประเทศ   แต่ข้อเท็จจริงในภาวะเศรษฐกิจประกอบกับมีสงครามระหว่างประเทศทำให้นโยบายดังกล่าวอาจไปไม่ถึงฝั่งฝัน

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)วิเคราะห์ผลกระทบของการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำต่ออัตราเงินเฟ้อ เบื้องต้นพบว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและอัตราเงินเฟ้อไม่มากนัก เนื่องจากภาคการผลิตในภาพรวมมีค่าใช้จ่ายจากการใช้แรงงานที่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในสัดส่วนไม่สูงมากเมื่อเทียบกับต้นทุนรวมอีกทั้งมีข้อจำกัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลมีมาตรการลดต้นทุนด้านพลังงาน

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นจะส่งผ่านมายังราคาสินค้าและบริการได้อย่างจำกัด ขณะที่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะสนับสนุนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และการเพิ่มการผลิต (Productivity) ซึ่งจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม

อ่านข่าวอื่นๆ:

แรงกดดันเงินเฟ้อลด คาด กนง.คงดอกเบี้ย 2.50% ยาวถึงปี 67

ส่องนโยบายฐานเงินเดือน 25,000 บ.ทำได้หรือขายฝัน ?

ปัจจุบัน อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของไทยถูกกำหนดโดยคณะกรรมการค่าจ้าง ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล

ค่าจ้างขั้นต่ำที่ผ่านมาอยู่ระหว่าง 328 – 354 บาทต่อวัน หรือเฉลี่ย 337 บาทต่อวันและขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับอัตราใหม่ของคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปี 2567
ตลาดแรงงานไทย

ตลาดแรงงานไทย

ตลาดแรงงานไทย

อย่างไรก็ตามหากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม (เฉลี่ย 337 บาทต่อวัน) ในอัตราระหว่างร้อยละ 5 หรือ 353.85 บาทต่อวัน และร้อยละ 10 หรือ 370.70 บาทต่อวันจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนภาคการผลิตและบริการ

กลุ่มเกษตรกรรม-ภาคบริการ กระทบหนักสุด

โดยภาคการผลิตที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบมาก คือ กลุ่มที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายแรงงานค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับต้นทุนรวมทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มสาขาการเกษตร เช่น การเพาะปลูกยางพารา เพาะปลูกอ้อย ทำสวนมะพร้าว ทำไร่ข้าวโพด ทำไร่มันสำปะหลัง การปลูกพืชผัก และ การทำนา

ส่วนกลุ่มสาขาบริการ เช่น การศึกษา ค้าปลีก-ค้าส่ง บริการทางการแพทย์ และ บริการส่วนบุคคล อย่างซักรีด ตัดผม เสริมสวยโดยต้นทุนจะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.12 – 7.75

สินค้าและบริการ ได้กระทบหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

สินค้าและบริการ ได้กระทบหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

สินค้าและบริการ ได้กระทบหากปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ

"เทคโนโนยี" กระทบน้อยสุด

ขณะที่ภาคการผลิตที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบน้อย คือกลุ่มที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายแรงงานค่อนข้างต่ำในกลุ่มสาขาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต เช่นโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตอุปกรณ์และเครื่องมือวิทยุ โทรทัศน์ และการคมนาคม การผลิตก๊าซธรรมชาติ และ การผลิตยานยนต์ โดยต้นทุนจะเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.03 – 0.65
5กลุ่มสินค้าบริการกระทบสูงสูด

นายพูนพงษ์ กล่าวอีกว่า การเพิ่มขึ้นของต้นทุนภาคการผลิตและบริการ ส่งผลต่อสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อ ซึ่งในภาพรวมระดับราคาเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 0.27 – 1.04 สำหรับสินค้าและบริการที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบสูงสุด 5 อันดับแรก คือ กลุ่มอาหารสำเร็จรูป ข้าว การสื่อสาร ผักสด และผลไม้สด

เนื่องจากมีสัดส่วนน้ำหนักค่อนข้างสูงในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ จะเห็นได้ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิม (เฉลี่ย 337 บาทต่อวัน) ตั้งแต่ร้อยละ 5 - 10 จึงส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อร้อยละ 0.27-0.55 แต่ถ้าผู้ประกอบการเพิ่มต้นทุนค่าจ้างแรงงานทั้งระบบจะส่งผลต่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52-1.04
แรงงานไทย

แรงงานไทย

แรงงานไทย

นายพูนพงษ์ กล่าวว่า การปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ใช้แรงงาน อีกทั้งสนับสนุนการอุปโภค-บริโภคภาคครัวเรือน ให้อุปสงค์ภายในประเทศมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น แต่ผู้ประกอบการต้องสามารถดำเนินธุรกิจได้และไม่ส่งผลต่อภาวะการมีงานทำของผู้ใช้แรงงาน

ดังนั้นภาครัฐอาจพิจารณาสนับสนุนแนวทางการปรับตัวและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องจักร เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพแรงงาน และเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน

อ่านข่าวอื่น:

พุ่งแรง ! ทองขึ้น 100 บาท คาดแรงหนุนดอลลาร์อ่อนตัว

เตรียมรับมือ "ผัก-ผลไม้" ฉลากสินค้าเรือนกระจก หลังญี่ปุ่นเข้มนำร่อง

ก.แรงงานส่งสัญญาณขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-8% ในปี 66

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง