วันนี้ (21 ธ.ค.2566) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT เปิดเผยข้อมูลหัวข้อ "10 คดีคอร์รัปชันแห่งปี 2566" โดย ดร.มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการ ACT โดยระบุว่า "โกงไม่อายใคร ท้าทายไม่เกรงกลัว"
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมราชทัณฑ์ และ ป.ป.ช. เป็นหน่วยงานที่น่ากังขา ขณะที่ตำรวจ ป.ป.ป. ก้าวมาเป็นความหวังใหม่ พฤติกรรมฉ้อฉลแบบย้อนยุคของนักการเมืองกำลังหวนคืน กลไกรัฐหลงอำนาจและซื้อขายได้กลายเป็นโอกาสให้เอกชนบางรายเอาเปรียบสังคม
อ่านข่าว : ทุจริตคอร์รัปชันไทยดิ่ง ! อันดับ 101 โลก " อันดับ 4 ของอาเซียน"
10 คดีคอร์รัปชันในรอบปี 2566 ประกอบด้วย
1.คดีส่วยสินบนกรมอุทยานแห่งชาติ
อดีตอธิบดีถูกจับพร้อมหลักฐานซองเงินค่าวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งและค่ารักษาเก้าอี้ เงินส่วย เงินทอน และกระเช้าของขวัญจำนวนมาก กรมนี้มีงบประมาณปีละ 1.1 หมื่นล้านบาท บุคลากร 4 หมื่นคน ดูแลผืนป่า 73.61 ล้านไร่
อ่านข่าว : "ชัยวัฒน์" เปิดเบื้องหลังอธิบดีกรมอุทยานฯ เรียกรับสินบน
2. คดีทุนจีนเทา
อาชญากรรมข้ามชาติมีเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองสนับสนุน ช่วยเหลือ ปกป้อง นำไปสู่การเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวอื่นๆ เช่น กรณีตู้ห่าวและผับจินหลิง กรณีนายหยู ชิน ซี ที่ตั้งสมาคมเถื่อนเป็นช่องทางจัดหาวีซ่าให้คนจีนเข้าประเทศมากถึง 7 พันคนในช่วงปี 2563 – 2564
กรณีสารวัตรซัว นายตำรวจพัวพันบ่อนออนไลน์เครือข่ายใหญ่ กรณีบ่อนมินนี่และเว็บพนันออนไลน์ 888 ที่มีนายพลตำรวจสายไอทีมีเอี่ยว จนสังคมสงสัยว่า แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่ระบาดเต็มบ้านเต็มเมืองอยู่ได้เพราะนายตำรวจหลายคนไปรับเงินจากขบวนการจีนเทาด้วย ใช่หรือไม่
อ่านข่าว : เปิดอาณาจักรธุรกิจเครือข่ายทุนจีนสีเทา “ตู้ห่าว” หลังถูกอายัดกว่า 4 พันล้าน
3. คดีโกดังพลุเถื่อนระเบิดที่บ้านมูโน๊ะ นราธิวาส
ทั้งที่ตั้งอยู่กลางตลาดและเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษของทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง กอ.รมน. ศอ.บต. จึงเชื่อว่างานนี้ต้องมีคนรับส่วยกินสินบนค่าปิดตามองไม่เห็นแน่นอน
เจ้าของโกดังต้องคดี แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนใดถูกแจ้งข้อหา คนเสียชีวิต 11 คน บาดเจ็บ 389 คน บ้านเรือนเสียหาย 649 หลัง โรงเรียน 4 หลัง แม้ทางการระบุมูลค่าความเสียหายไวเพียง 146 ล้านบาท แต่ค่าเสียหายจริงและความบอบช้ำสำหรับชาวบ้านแล้วประเมินค่ามิได้
อ่านเพิ่ม : โกดังพลุระเบิด "มูโนะ" ราบ-ส่วยโผล่
4. คดีดัง 2 ส.ว. คือ กรณี ส.ว. ซุกกิ๊ก
ก่อเรื่องฉาวซ้อมทหารรับใช้หญิงยศสิบโท สะท้อนการเอาเปรียบหลวงของเครือข่ายผู้มีอำนาจในวงการทหาร ตำรวจและการเมืองที่ให้การอุปถัมภ์พวกพ้อง และอีกคดีคือ ส.ว. ชื่อดังถูกอัยการสั่งฟ้อง 6 ข้อหาพัวพันเครือข่ายอาชญากรข้ามชาติและธุรกิจมืดชายแดนเมียนมา
อุปกิต ปาจรียางกูร ส.ว. แถลงเปิดใจ 17 มี.ค.2566 ระบุไม่ได้มีอิทธิพล-ไม่เคยเกี่ยวข้องยาเสพติด
คดีนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก นอกจากตำรวจแล้วยังมีหน่วยงานอื่นเข้าร่วมสอบสวนมากเป็นประวัติการณ์ เช่น ป.ป.ช. สตง. ดีเอสไอ กรมสรรพากร ป.ป.ง. ป.ป.ท. เป็นต้น
อ่านข่าว : ป.ป.ส.พบทรัพย์สิน "สว.อุปกิต" 80 รายการ พัวพันคดียาเสพติด
5. คดีกำนันนก
คดีกำนันนก นักธุรกิจท้องถิ่นผู้มีอิทธิพล พัวพันการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ธุรกิจสีเทา ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง การฟอกเงิน และเครือข่ายบ้านใหญ่ในจังหวัด
การเข้าตรวจค้นบริษัทกำนันนก ที่ จ.นครปฐม
อ่านข่าว : สั่งฟ้อง "กำนันนก" พร้อมพวก - 16 นายตำรวจ คดีสารวัตรแบงค์
อ่านข่าว : แกะรอย 19 ปี “บริษัทกำนันนก” เบื้องหลังคู่สัญญารับเหมาภาครัฐ
6. คดีหมูแช่แข็งเถื่อน
คดีหมูแช่แข็งเถื่อน มีลักลอบนำเข้าต่อเนื่องมา 3 ปี นับหมื่นตู้คอนเทนเนอร์ ชัดเจนว่าพัวพันพ่อค้านำเข้า ห้างค้าส่ง โรงงานแปรรูปอาหาร แต่ที่หลบในมุมมืด คือ นักการเมืองใหญ่ อดีต รมช. 2 กระทรวง กับอีก 3 หน่วยงานรัฐ คือ กรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ กรมประมง
รมว.เกษตรและสหกรณ์ kick off ทำลายหมูเถื่อนล็อตแรก 10 ตู้ จาก 161 ตู้
อ่านข่าว : DSI ส่งฟ้อง 2 จนท.รัฐคดีหมูเถื่อน-จ่อเรียกสอบ 4 กรรมการบริษัท
7. คดีจับลูกเขยนายชาดา รมช. มหาดไทย
คดีจับลูกเขยนายชาดา ถูกจับเพราะเรียกรับเงินหกแสนบาทจากผู้รับเหมาฯ งานนี้สังคมอยากรู้ว่า รัฐบาลจะกำจัดผู้มีอิทธิพลหรือกำจัดคู่แข่งของผู้มีอิทธิพลได้ก่อนกัน
อดีตนายกเทศมนตรีตำบลตลุกดู่ จ.อุทัยธานี
สำหรับ ลูกเขย "ชาดา ไทยเศรษฐ์" รมช.มหาดไทย ถูกตำรวจกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปป.) เข้าจับกุมในข้อหาเรียกรับสินบนจากผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการระบบประปาหมู่บ้านแบบบาดาล จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการใน ต.ตลุกดู่ 1 โครงการ และใน ต.หาดทนง อีก 1 โครงการ มูลค่าโครงการละ 500,000 บาท
อ่านข่าว : จับ "ลูกเขยชาดา" เรียกรับสินบนสร้างประปาหมู่บ้าน 6 แสนบาท
8. คดีเสาไฟกินรี และโครงการประเภท "คิด ทำ ทิ้ง" ทั่วประเทศ
เช่น เครื่องออกกำลังกาย เครื่องกรองน้ำและโซล่าเซลล์ ลานออกกำลังกายชุมชน เครื่องผลิตน้ำประปา เสาไฟโซล่าเซลล์ ฯลฯ คดีเสาไฟกินรีเฉพาะที่ อบต. ราชาเทวะเพียงแห่งเดียว จัดซื้อไปแล้ว 871 ล้านบาท ทำให้ประเมินว่าทั่วประเทศมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท แต่มากเท่าไหร่นั้นยากจะระบุชัด เพราะจัดซื้อโดยหน่วยราชการและ อปท. ทั่วประเทศ โดยใช้ชื่อโครงการจัดซื้อหรือเรียกชนิดสินค้าแตกต่างกันอย่างมาก
จนปัจจุบันการจัดซื้อเสาไฟกินรียังทำได้ไม่มีข้อห้าม คดีที่ ป.ป.ช. สอบสวนตั้งแต่ปี 2558 ยังไร้บทสรุป สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ต่างไม่มีข้อกำหนดใดออกมา
9. คดีส่วยทางหลวง
สติ๊กเกอร์และขบวนการรีดไถรถบรรทุกมูลค่ากว่าหมื่นล้านบาทต่อปี ทั้งตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง ตำรวจท้องที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนถึงอัยการจังหวัดบางคน
10. กรณีโกงนมโรงเรียน อาหารกลางวันเด็ก ตำราเรียน
(งบประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท) อาหารกลางวันเด็ก (งบประมาณ 2.85 หมื่นล้านบาท) ตำราเรียน (งบประมาณ 5.18 พันล้านบาท)
อ่านข่าว : เครือข่ายเด็กและสตรีเรียกร้อง ศธ. แก้ปัญหาค่าอาหารกลางวัน นร.
เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ระบุว่า ทุกเรื่องมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของทุกคน จึงขอเชิญชวนช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่อง เพราะจากคดีดังกล่าวสะท้อนภาพชัดเจนว่า ห่วงโซ่คอร์รัปชันโกงกินร่วมกันระหว่างข้าราชการ-นักการเมือง-กลุ่มทุนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น
เพื่อหยุดวิกฤตนี้ รัฐบาลต้องใส่ใจจริงจัง ต่อสู้เชิงรุกโดยประกาศให้การต่อต้านคอร์รัปชันเป็นวาระแห่งชาติ จัดตั้งวอร์รูมโดยนายกรัฐมนตรีนั่งหัวโต๊ะทำงานร่วมกับภาคประชาชน
เรื่องน่าสงสัยในกระบวนการลงโทษคนโกง
นอกจากนั้น เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ยังได้ตั้งประเด็นถึง เรื่องน่าสงสัยในกระบวนการลงโทษคนโกง ประกอบด้วย
1. กรมราชทัณฑ์ ลดโทษ ขออภัยโทษ ให้นักโทษคดีคอร์รัปชัน รวมถึงปฏิบัติต่อผู้ต้องขังอย่างเท่าเทียม ไม่มีอภิสิทธิ์ชน เช่น กรณีชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ
2. หลายคดีที่ ป.ป.ช. ชี้ว่ามีมูลความผิดแต่อัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือ สตง. เห็นว่าไม่ผิด หลายคดีที่ศาลตัดสินว่าผิดแต่ให้รอลงอาญา และหน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยทำแค่สั่งลงโทษทางวินัยไม่ร้ายแรง
3. คดีนายอิทธิพล คุณปลื้ม หนีไปต่างประเทศ หลัง ป.ป.ช. ส่งสำนวนถึงอัยการล่าช้ามาก
4. คดีก่อสร้างโรงพักและแฟลตตำรวจ นักการเมืองพ้นผิด แต่ตำรวจติดคุก 8 นาย เช่นเดียวกับคดีรุกป่าเขาใหญ่ นายสุนทรและนางกนกวรรณ วิลาวัลย์ พ้นผิด แต่ข้าราชการติดคุก
5. นักการเมืองครอบครองที่ดินผิดกฎหมาย แม้หลายคนโดนลงโทษแล้ว แต่ยังเหลืออีกมากกว่า 10 คดีในมือ ป.ป.ช. เช่น ครอบครัวนักการเมืองใหญ่รุกที่ดินการรถไฟที่เขากระโดง บุรีรัมย์
เรื่องที่ต้องจับตาในปี 2567
ปิดท้ายด้วย กรณีต้องจับตาในปี 2567 การประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโครงการขนาดใหญ่ ได้แก่
1. การประมูลสีส้ม ล้มและเลื่อนยาวเพราะเจ้าหน้าที่รัฐทำเรื่องไม่ชอบมาพากลซ้ำซ้อน
2. สัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จบการประมูล 5 ปีแล้ว แต่เอกชนผู้ชนะยังขอเจรจาอยู่ โดยไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ ถือเป็นการทำลายหลักพื้นฐานการประมูลงานอย่างเป็นธรรม
3. โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน 1.79 แสนล้านบาท ที่ล่าช้า ยืดเยื้อ มากข้อขัดแย้ง
4. สินบนข้ามชาติไม่คืบหน้า สินบนโรลส์รอยซ์ สวนปาล์มน้ำมันที่อินโดนีเซีย เหมืองทองคำ
5. โครงการรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างและจะประมูลเพิ่มเติม
6. การขยายอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2
อ่านข่าวอื่นๆ
"คมนาคม" คุมเข้ม ถ.พระราม 2 จ่อขึ้นบัญชีดำรับเหมาก่ออุบัติเหตุ
ศาลสูงรัฐโคโลราโดตัดสิทธิ "ทรัมป์" ลงเลือกตั้งขั้นต้น
"ทวี" ยัน "ทักษิณ" ป่วยจริง ปัดออกระเบียบ "คุมขังนอกเรือนจำ" เอื้อ
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
- องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
- ACT
- คอร์รัปชัน
- คอร์รัปชัน2566
- นักการเมือง
- ส.ว.
- สว.
- สส.
- ทุนจีนเทา
- ส่วยสินบน
- สารวัตรซัว
- พนันออนไลน์
- โกดังพลุระเบิด
- กำนันนก
- หมูเถื่อน
- หมูแช่แข็งเถื่อน
- จับลูกเขยชาดา
- เสาไฟกินรี
- ส่วยทางหลวง
- นมโรงเรียน
- ทุจริตงบอาหารกลางวัน
- ข่าววันนี้
- ข่าวล่าสุด
- ข่าวล่าสุดวันนี้
- ข่าวอาชญากรรมวันนี้
- เครือข่ายสารวัตรซัว