จากกรณี หลังเกิดปัญหาคลื่นซัดตะกอนดินท้องคลองลงทะเลในพื้นที่ ของเทศบาลตำบลกะรน จ.ภูเก็ต
อ่านข่าว : พบชิ้นส่วนมนุษย์ยัดตู้แช่ ในตึกย่านบางขุนเทียน - ตร.เร่งตรวจสอบ
วันนี้ (21 ม.ค.2567) เจ้าหน้าที่กองช่าง เทศบาลตำบลกะรน อ.เมืองภูเก็ต ใช้แบ็กโฮขุดตักตะกอนดินท้องคลองและทำคันกั้นตะกอนดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนดำไหลลงทะเล
เทศบาลตำบลกะรน อ.เมืองภูเก็ต ใช้แบ็กโฮขุดตักตะกอนดินท้องคลองและทำคันกั้นตะกอนดิน เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนดำไหลลงทะเล
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังตักตัวอย่างน้ำก่อนไหลลงทะเลมาทำการวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ หรือ ค่าดีโอ (Dissolved Oxygen) พบค่าที่ได้ 3.38 มก.ต่อลิตร ถือว่าปกติ เพราะตามเกณฑ์กรมควบคุมมลพิษ หากค่าดีโอต่ำกว่า 2 มก.ต่อลิตร ถือว่าเป็นน้ำเสีย
อ่านข่าว : ผจว.สุพรรณบุรี สั่งห้ามป้อนอาหารช้างงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์
ผลตรวจตัวอย่างน้ำก่อนไหลลงทะเลมาทำการวัดค่าดีโอ อยู่ที่ 3.38 มก.ต่อลิตร ถือว่าปกติ
ส่วนที่บริเวณชายหาดซึ่งเป็นจุดที่พบตะกอนดิน ถูกน้ำทะเลซัดตะกอนดินท้องคลองไหลลงทะเล ทำให้น้ำทะเลมีสีดำเมื่อหลายวันก่อน และถูกตั้งข้อสังเกตว่า เป็นน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดไหลลงทะเล มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาพักผ่อน และน้ำที่ผ่านการบำบัด และไหลลงทะเล เป็นน้ำใสแล้ว
ร.อ.เจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน กล่าวว่า เทศบาลฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจที่จะแก้ปัญหา แม้น้ำที่ไหลลงทะเลผ่านการพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่น้ำเสีย เทศบาลฯยังแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้กระทบกับการท่องเที่ยว
อ่านข่าว : “โครงการแลนด์บริดชุมพร-ระนอง” กับความกังวลของคนในท้องถิ่น
นายสนั่น รักดำ ผู้อำนวยการกองช่าง เทศบาลตำบลกะรน ระบุว่า การแก้ปัญหาไม่ให้ตะกอนดินท้องคลองไหลลงทะเลทำให้น้ำทะเลเป็นสีดำ เมื่อคลื่นทะเลซัดขึ้นมา ทางกองช่างฯ จะทำการขุดบ่อตกตะกอน จำนวน 5 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้ตะกอนไหลลงทะเล
นอกจากนี้ มีแผนทำแก้มลิง เพื่อพักน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วก่อนปล่อยลงทะเล เชื่อว่า แก้ปัญหาได้ในระดับหนึ่ง รวมทั้งขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงแรม ให้เชื่อมท่อน้ำเสียเข้ารับการบำบัด
ในปี 2567 ได้วางแผนขยายขีดความสามารถของโรงบำบัดน้ำเสียให้รับน้ำเสียเพิ่มขึ้นอีก 3,000 ลบ.ม.ปัจจุบันพื้นที่ ต.กะรน มีน้ำเสียที่เข้าสู่ระบบบำบัดวันละ 14,000 ลบ.ม.ดังนั้นน้ำที่ผ่านการบำบัด แล้วไม่ควรปล่อยทิ้งลงทะเล กักไว้ที่แก้มลิง ก็จะแก้ปัญหาได้
อ่านข่าวอื่น ๆ