- แต่ละช่วงวัย "นึกถึงอะไร" ในช่วงสงกรานต์
- เรื่องเล่าตำนาน "วันสงกรานต์" กับ "ประเพณีสงกรานต์" ใน 4 ภูมิภาค
แคดเมียม คืออะไร
การผลิตแคดเมียมมีมานานแล้ว เป็นโลหะหนัก มีสัญลักษณ์คือ Cd พบปนอยู่กับแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แร่สังกะสี แร่ตะกั่ว หรือทองแดง ในการทำเหมืองสังกะสี จะได้แคดเมียมเป็นผลตามมาด้วย สามารถพบแร่แคดเมียมได้ในอาหาร น้ำ เหมือง และส่วนน้ำทิ้ง น้ำเสีย หรือกลุ่มผู้สูบบุหรี่ และยังสามารถพบกากแร่แคดเมียมในสีที่ผสมใช้กับบ้านหรืออาคาร ประเทศไทยยังไม่มีการผลิตแคดเมียม แต่มีแคดเมียมที่เป็นผลมาจากการผลิตของโรงงานสังกะสี จังหวัดตากในรูปของ Cadmium residue และพบการปนเปื้อนสารแคดเมียมมากในตะกอนดินที่ ห้วยแม่ตาว ต.แม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก ระดับสารแคดเมียมในดินและนาข้าวเกินค่ามาตรฐาน
- ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร ประกาศห้ามเข้าพื้นที่โรงงาน 90 วัน กรณีพบกากแคดเมียม 1.5 หมื่นตัน
- คพ.เร่งตรวจสอบ "สารปนเปื้อนแคดเมียม" สมุทรสาคร
กากแคดเมียม คือ อะไร
กากแคดเมียม คือ ผลพลอยได้ของการทำเหมืองแร่สังกะสี เหมืองตะกั่ว จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตราย เช่นเดียวกับที่พบการลักลอบขนย้ายจากจังหวัดตาก เป็นกากแร่ที่เหลือจากการทำเหมืองสังกะสี-ถลุงโลหะสังกะสี ซึ่งในอดีตพื้นที่จังหวัดตากมีการทำเหมืองแร่สังกะสีและมีโรงประกอบโลหกรรม ของบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) โดยประทานบัตรเหมืองแร่หมดอายุไปแล้ว การทำเหมืองจึงยุติลง
“ประทานบัตร “ หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทำเหมืองแร่ ภายในเขตที่กำหนดในหนังสือสำคัญนั้น
แคดเมียมก่อโรค กระทบสุขภาพ
หากแคดเมียมถูกความร้อนที่ 321 องศาเซลเซียส จะเกิดเป็นควันกระจายสู่สิ่งแวดล้อม เมื่อร่างกายสูดดมเข้าไป จะทำให้เกิดการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ ปวดท้อง ปอด ไต และตับ จะถูกทำลาย ถ้าหากหายใจควันเข้าไปในปอด จะมีอาการเจ็บคอ หายใจสั่น มีเสมหะเป็นเลือด น้ำหนักลด โลหิตจาง การหายใจจะลำบากมากขึ้นจนถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด
ในอดีต ชาวญี่ปุ่นบริโภคอาหารทะเล ข้าว อาหาร ที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียมที่ถูกปล่อยจากโรงงานสารเคมีผ่านระบบระบายน้ำเสีย ทำให้มีผู้ได้รับสารปนเปื้อนจำนวนมาก เกิดอาการเจ็บป่วยอย่างทรมาณบริเวณแขน ขา สะโพก ฟัน อาการเหล่านี้สะสมนานถึง 20-30 ปี จนทำให้ร่างกายเดินไม่ไหว เกิดการกดทับของกระดูกสันหลัง เมื่อได้รับแคดเมียมสะสมมากๆ จะสังเกตเห็นวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน ซึ่งจะขยายขึ้นไปเรื่อยๆจนอาจเต็มซี่ ถ้าขนาดของวงยิ่งกว้างและสียิ่งเข้ม ก็แสดงว่ามีแคดเมียมสะสมมาก จนเรียกชื่อโรคนี้ว่า "อิไต-อิไต (Itai-Itai disease)" ที่แปลว่าเจ็บโอ๊ยๆ
ผู้ป่วยจากโรคอิไตอิไต
"แคดเมียมออกไซด์" เป็นสารก่อมะเร็งที่ไตและต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อไตเกิดโรคไตอย่างรุนแรง ทำให้สูญเสียประสาทการดมกลิ่นและทำให้ เลือดจาง ถ้าได้รับปริมาณมากระยะสั้นๆ จะมีอาการจับไข้ หนาวๆ ร้อนๆ ปวดศีรษะ อาเจียน อาการนี้จะเป็นได้นานถึง 20 ชั่วโมงแล้วตามด้วยอาการเจ็บหน้า อก ไอรุนแรง น้ำลายฟูม ดังนั้น เมื่อใดมีไอของแคดเมียม เช่น จากการเชื่อมเหล็กชุบ ควรใช้หน้ากากป้องกันไอและฝุ่นของแคดเมียม หรือสารประกอบแคดเมียม ในขณะทำงาน
แคดเมียมปนเปื้อนในอากาศ - อาหาร
มนุษย์จะได้รับแคดเมียมจากอาหาร อากาศ น้ำ และจากใบยาสูบ สําหรับผู้ไม่สูบบุหรี่ แหล่งทีมาที่มนุษย์รับสารแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายที่ สําคัญ คือ จากการบริโภคอาหาร เนื่องจากส่วนประกอบของอาหาร เช่น พืช ผักจะสะสมแคดเมียมในปริมาณสูงถ้าปลูกในดินที่ มีการปนเปื้อนของแคดเมียม หรือใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนแคดเมียมรด ทั้งนี้เพราะพืชสามารถดูดซึมแคดเมียมไว้ได้ดีกว่าโลหะอื่นๆ
นอกจากนั้น อาหารทะเลที่ได้จากแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม เช่น ได้จากทะเลที่ใกล้แหล่งอุตสาหกรรม
ส่วนผู้ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมจะได้รับแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายทางหายใจในรูปของฝุ่นหรือควัน ถ้ามีการปนเปื้อนของแคดเมียมที่มือหรือผู้สูบบุหรี่ในขณะทํางานอาจเข้าทางปากได้
แคดเมียมเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทาง
1. ทางปาก โดยการบริโภคอาหารทีมีการปนเปื้อนของแคดเมียม เช่น อาหารทะเล พืชผัก
2. ทางจมูก โดยการหายใจเอาควัน หรือ ฝุ่นของแคดเมียมเข้าไป เช่น ในเหมืองสังกะสี
การรักษาเบื้องต้น หากร่างกายได้รับแคดเมียมจากการ บริโภคอาหาร ให้ปฏิบัติดังนี้ ดื่มนมหรือบริโภคไข่ที่ตีแล้ว เพื่อลดการระคายเคืองของทางเดิน อาหาร หรืออาจทําให้ถ่ายท้องด้วย Fleet's Phosphosoda (เจือจาง 1:4 ด้วยนํ้า) 30-60 มิลลิกรัม เพื่อลดการดูดซึมแคดเมียม
เมื่อรับแคดเมียมเข้าร่างกาย
เมื่อรู้ว่ามีความเสี่ยงหรือมีสารโลหะหนักในร่างกายจำนวนมาก แนะนำให้ตรวจหาสารโลหะหนัก ซึ่งปัจจุบันก็มีการตรวจง่ายๆ โดยไม่ต้องเจาะเลือด เช่น การตรวจด้วยเครื่อง Oligoscan เป็นการตรวจวัดระดับแร่ธาตุและโลหะหนักระดับเนื้อเยื่อ
โดยมากอาการจะเป็นแบบไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หรือนอนไม่หลับ บางครั้งมีความรู้สึกว่าสมองล้า ลืมง่าย หรือความคิดสร้างสรรค์เรื่องงานลดลง แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เบาหวาน เป็นต้น จะทำให้อาการแย่ลงหรือว่าการรักษาไม่สำเร็จผลอย่างที่ควรจะเป็น บางครั้งผู้ที่ได้รับสารพิษโลหะหนักอาจจะพบว่ามีอาการภูมิแพ้แบบไม่ทราบสาเหตุ หรือมักจะมีอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน
ลักษณะอาการหลังรับแคดเมียมแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. เฉียบพลัน กรณีหายใจเอาไอหรือฝุ่นของฝุ่นของแคดเมียมที่มีอยู่ในอากาศเข้าไปเป็นจำนวนมาก อาการ คือ เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ไอ เจ็บหน้าอก เหงื่อออก สั่น กรณีเข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานจะเกิดอาการคลื่นเหียน อาเจียน และท้องร่วงคล้ายอาหารเป็นพิษ
2. เรื้อรัง เกิดจากการได้รับแคดเมียมจากการหายใจ รับประทาน หรือดูดซึมผ่านทางผิวหนังเป็นประจำ เมื่อแคดเมียมเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของโลหิตแล้วจะไปทำลายปอดทำให้ปอดบวม ทำลายตับและไต แคดเมียมส่วนหนึ่งจะไปเคลือบอยู่ตามเหงือกและคอฟัน อาการเรื้อรังของโรคแพ้พิษสารแคดเมียม มีอาการเจ็บหัวเข่า ปวดตามกระดูกทั่วร่างกาย ปัสสาวะสีขาวข้นเนื่องจากไตถูกทำลาย ปริมาณปัสสาวะและเลือดผู้ป่วยเปลี่ยนไป กระดูกเปราะเพราะถูกทำลาย
การกำจัดหรือล้างสารพิษโลหะหนักในร่างกาย ทำได้โดยการให้สารทางหลอดเลือด เพื่อที่จะไปจับกับโลหะหนักออกจากร่างกาย ซึ่งวิธีนี้มีการใช้ยาวนานมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันยังมีที่ใช้อย่างแพร่หลายทางพิษวิทยาอยู่ แต่ว่าต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
แคดเมียมปนเปื้อนในดินทำอย่างไร
การปนเปื้อนแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะการปนเปื้อนแคดเมียมในพื้นที่เพาะปลูก เพราะแคดเมียมไม่สามารถถูกย่อยสลายได้ และสามารถถูกสะสมผ่านทางห่วงโซ่อาหารได้ ดังนั้นจึงต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการบำบัดพื้นที่ปนเปื้อน ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ได้รับการยอมรับและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ วิธีการทางชีวภาพ โดยเฉพาะการใช้พืชในการบำบัดดินปนเปื้อน แต่การใช้พืชในการบำบัดยังมีประสิทธิภาพที่จำกัด
จึงมีการนำจุลินทรีย์ต้านทานแคดเมียมบางสายพันธุ์ ที่มีความสามารถในการช่วยส่งเสริมการเติบโตของพืช หรือช่วยในการละลายหรือเคลื่อนที่แคดเมียมให้หลุดออกมาจากดิน ซึ่งเพิ่มโอกาสให้พืชสามารถดูดดึงแคดเมียมขึ้นไปสะสมในพืชได้มากขึ้นรวมทั้งการที่พืชเติบโตดีขึ้นจะมีมวลชีวภาพที่มากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ดีในการนำพืชไปใช้ในการบำบัดโลหะหนักในดิน
กระบวนการนี้ สามารถเรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบำบัดโลหะหนักในดินด้วยพืชโดยการเติมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Bioaugmentation-assisted phytoextraction)
ที่มา : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
แคดเมียมใช้ทำอะไร
1. นำมาใช้ในการชุบโลหะ ใช้แคดเมียมเคลือบบนแผ่นเหล็ก ทองแดง อะลูมิเนียม ชุบด้วยไฟฟ้า (Electroplating) โลหะที่ได้จากการชุบนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องบิน รถยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วิทยุ
2. ใช้ผสมกับโลหะอื่น เป็นโลหะผสม (Alloy) เพิ่มความเหนียวและทนทานต่อการสึกกร่อน
3. ใช้ร่วมกับโลหะนิกเกิล (Nickel) ทำแบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟได้ใหม่ เช่น แบตเตอรี่เครื่องคิดเลข
4. ใช้เป็นเม็ดสีในอุตสาหกรรม
5. สารประกอบแคดเมียมใช้ทำสารกำจัดเชื้อรา สารกำจัดแมลง สารกำจัดหนอน
6. ใช้ในการผลิตหลอดฟลูออเรสเซ็นส์
ข้อมูลจาก : สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
อ่าน : สะพรึง! ซุกกากแร่แคดเมียม 1.5 หมื่นตัน สั่งห้ามเข้าใกล้อาคารเก็บ
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
- แร่แคดเมียม
- สารแคดเมียม
- สารก่อมะเร็ง
- สมุทรสาคร
- ลอบขนแร่แคดเมียม
- สารตะกั่ว
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- โรคอิไต อิไต
- อาการแคดเมียม
- พิษของแคดเมียม
- แคดเมียม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- กาก แคดเมียม
- แคดเมียมประโยชน์
- แคดเมียมเกิดจากอะไร
- ข่าวแคดเมียมวันนี้
- ข่าวแคดเมียมล่าสุด
- ข่าววันนี้
- ข่าววันนี้ล่าสุด
- สารแคดเมียมทำให้เกิดโรค
- แคดเมียม คือ
- แคดเมียม อันตราย
- ข่าวสมุทรสาคร ล่าสุด
- ข่าว สมุทรสาคร
- โรงงาน สมุทรสาคร
- กากแคดเมียม