วันนี้ (9 เม.ย.2567) วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ประจำปีภาษี 2566 ซึ่งกรมสรรพากร เปิดให้ยื่นแบบ ได้ 2 ช่องทาง คือ การยื่นแบบฯ ด้วยกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทั่วประเทศ ซึ่งได้สิ้นสุดการยื่นเมื่อวันที่ 1 เม.ย.2567 ที่ผ่านมา
- ยื่นภาษี 2566 วันสุดท้ายวันไหน หากไม่ทันต้องทำอย่างไร
- รายได้ขนาดไหน ต้องจ่ายภาษีให้รัฐ - แนะวิธียื่นภาษีออนไลน์ 2566 ทำตามได้ทุกขั้นตอน
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและยังไม่ได้ยื่น ยังสามารถยื่นแบบออนไลน์ผ่านระบบ e-filing ที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th ได้อีกช่องทางหนึ่ง จนถึงวันนี้ โดยสามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ช่องทางจ่ายภาษีออนไลน์
สำหรับวิธีการชำระภาษีนั้น แต่ละช่องทางกำหนดเวลาต่างกัน
1.ชำระผ่าน E-payment
เปิดให้บริการ 06.00 - 22.00 น. ยกเว้น
- ธนาคารซิตี้แบงก์ เปิดให้บริการ 06.00 - 15.30 น.
- ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส เปิดให้บริการ 09.00 - 17.00 น.
- ธนาคารดอยซ์แบงก์ เปิดให้บริการ 06.00 - 17.00 น.
- ธนาคารกสิกรไทย เปิดให้บริการ 06.00 - 21.30 น.
2.ชำระผ่าน Internet Credit Card
- ธนาคารกรุงเทพ เปิดให้บริการ 06.00 - 22.00 น.
- ธนาคารกสิกรไทย เปิดให้บริการ 06.00 - 20.30 น.
- ธนาคารทหารไทยธนชาต เปิดให้บริการ 06.00 - 20.00 น.
- ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดให้บริการ 06.00 - 20.30 น.
3.ชำระผ่าน ATM on Internet
- เปิดให้บริการ 06.00 - 22.00 น.
4.ชำระผ่าน บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์
- เปิดให้บริการ 06.00 - 22.00 น.
5.ชำระผ่าน Mobile Banking
เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
6.ชำระผ่าน ATM
- เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
7. ชำระผ่าน Internet Banking
- เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
8. ชำระผ่าน QR Code
- เปิดให้บริการถึงเวลา 22.50 น.
9. Counter ของหน่วยรับชำระภาษี (Bank และ Non Bank)
- ตามช่วงเวลาของแต่ละหน่วยรับชำระภาษี
- รู้ยัง! เงินสมทบประกันสังคม "ลดหย่อนภาษี" ได้
- เช็ก 5 กลุ่ม ค่าใช้จ่ายวัยทำงาน ใช้ลดหย่อนภาษี ปี 2566
วิธีการผ่อนจ่ายภาษี
สำหรับผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี 2566 และต้องชำระภาษีเพิ่ม จำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
- งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
- งวดที่ 2 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1
- งวดที่ 3 ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2
ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็น รายงวด และต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
สรรพากรแจงคืนภาษีช้า "ติดคอขวด-พบทุจริต"
ขาช็อปฟัง! Easy e-Receipt ลดภาษี 5 หมื่นเริ่ม 1 ม.ค.-15 ก.พ.67