“ไก่ขาวดอกแค” พันธุ์ไก่พื้นเมืองลูกผสม พัฒนาปรับปรุงพันธุ์จากไก่ศรีวิชัย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอาหารและโปรแกรมอาหาร สามารถลดระยะเวลาเลี้ยง เพิ่มคุณภาพซาก ยกระดับการผลิตไก่พื้นเมือง ตรงกับความต้องการของตลาด
จากโจทย์ปัญหาการผลิตไก่พื้นเมืองของกลุ่มเกษตรกรบ้านวังฆ้องพัฒนา ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช ในด้านอัตราการเจริญเติบโตช้า คุณภาพซากไม่สม่ำเสมอ บวกกับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของคณะวิจัย สู่การพัฒนาพันธุ์ไก่พื้นเมืองลูกผสม ภายใต้ชื่อ “ไก่ขาวดอกแค” ไก่ทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริโภค โดยพัฒนาปรับปรุง พันธุ์จากไก่ศรีวิชัย ซึ่งเป็นไก่พื้นเมืองภาคใต้
จากข้อมูลงานวิจัยพบว่า สามารถแก้ปัญหาลดอัตราการเปลี่ยนอาหาร เป็นน้ำหนักตัวลงได้ 25 เปอร์เซ็นต์ ลดระยะเวลาการเลี้ยง 35 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มปริมาณเนื้อหน้าอก ใช้การเพาะ ขยายพันธุ์ด้วยตู้ฟักไข่ทำให้แม่ไก่ 1 ตัว สามารถผลิตลูกไก่ได้เพิ่มขึ้นจากการฟักไข่ธรรมชาติได้ 50-60 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้การเลี้ยงไก่พื้นเมือง ตันทุนหลักกว่า 70% คือ ค่าอาหาร การนำเทคโนโลยีอาหารและโปรแกรมอาหารสำหรับไก่พื้นเมือง ทำให้เกษตรกรเข้าใจชนิดอาหาร การประกอบสูตรอาหาร การให้อาหารให้ตรงกับความต้องการในแต่ละช่วงอายุ จัดการวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่น โดยประยุกต์ความรู้ทางวิชาการให้สอดคล้องกับองค์ความรู้เดิมของเกษตรกรประโยชน์ของนวัตกรรมต่อเกษตรกรและชุมชน
อ่านข่าว : มหกรรมเทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อชุมชนไทยยั่งยืน 4 ภาค ตั้งเป้าปี 70 สร้างนวัตกร 5 คน/ตำบล
ภายใต้ทุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับ พื้นที่ (บพท.) ปีงบประมาณ 2563 การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตไก่ดำบ้านเขาหลัก จ.ตรัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เกิดผลผลิตที่สำคัญ คือระบบการผลิตลูกพันธุ์ที่ได้คุณภาพสูง โดยมีนวัตกรรมที่พร้อมใช้คือ “นวัตกรรมตู้ฟักไข่ไอโอทีและโปรแกรม การให้อาหาร” จนสามารถขยายผลไปยังการผลิตไก่พื้นเมืองได้
รวมทั้งได้รับจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประเภททุนวิจัยพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อดำเนินงานวิจัยเรื่อง ศักยภาพ การผลิตและการตลาดของไก่พื้นเมืองลูกผสม
ดร.ณปภัช ช่วยชูหนู นักวิชาการด้านสัตวศาสตร์ จากคณะเกษตรศาสตร์ มทร.
ดร.ณปภัช ช่วยชูหนู นักวิชาการด้านสัตวศาสตร์ จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.) หนึ่งในทีมนักวิจัย เปิดเผยถึงที่มาชื่อ “ไก่ขาวดอกแค” ว่ามาจากดอกแคฝรั่ง ซึ่งเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของชาวเกษตรไสใหญ่ รวมทั้งตัวไก่ที่มีขนสีขาวเหมือนดอกแค โดยจุดเด่นคือเนื้อจะนุ่ม แน่น ไม่เหนียว แต่ยังคงรสชาติไก่พื้นเมือง
การพัฒนาพันธุ์ไก่พื้นเมืองลูกผสม “ไก่ขาวดอกแค” ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 10-12 สัปดาห์ก็สามารถขายได้ จากเดิมที่เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองใช้ระยะเวลาเลี้ยงถึง 16 สัปดาห์
ดร.ณปภัช ยังกล่าวว่า การนำเทคโนโลยีอาหารและโปรแกรมอาหารมาปรับใช้ ทำให้เกษตรกรเข้าใจชนิดอาหาร การประกอบสูตรอาหาร โดยกลุ่มเกษตรกร สามารถจัดการโปรแกรมอาหารในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแต่ละช่วงอายุได้อย่างเหมาะสม ส่งผลต่อคุณภาพชากที่ดีเป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถลดระยะเวลาเลี้ยง
รวมทั้งมีการจัดการวัตถุดิบอาหารในท้องถิ่นที่พอเหมาะ เช่น แหนแดง หยวกกล้วย หญ้าเนเปียร์ หญ้าหวานอิสรเอล หญ้ารูซี่ ที่กินเสริมร่วมกับอาหาร รวมถึงหนอนแมลงวัน หนอนแมลงวันลาย ให้กินเสริมหรือใช้ผสมอาหารเพื่อ ทำให้ต้นทุนในการผลิตไก่พื้นเมืองแต่ละรอบการผลิตลดลง ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 15 %
ส่วนด้านการตลาด เกษตรกรนิยมขายไก่เป็นให้กับพ่อค้าส่ง ซึ่งจะตกที่ราคา 80-90 บาท /กิโลกรัม จึงได้ส่งเสริมช่องทางการจำหน่าย ให้เกษตรกรขายเป็นไก่ชำแหละ ส่งตรงกับผู้ประกอบการ ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าขายได้ในราคา 140-160บาท/กิโลกรัม
อ่านข่าว : “ปลาใส่อวน” เมืองคอน อัพเกรดสู่ผลิตภัณฑ์ Zero Waste ยกระดับเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้
ปรีดา ขุนแก้ว ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านวังฆ้องพัฒนา ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช
จากนวัตกรรมขยายผลวิจัยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) สู่นวัตกรชุมชน โดย ปรีดา ขุนแก้ว ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านวังฆ้องพัฒนา ต.สามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า
กลุ่มเกษตรกร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำนา และเลี้ยงไก่พื้นเมืองเป็นอาชีพเสริมรายได้ แต่ทางกลุ่มประสบปัญหาเรื่องคุณภาพชาก อัตราการเจริญเติบโตช้า
จากเดิมเลี้ยงไก่ 100 ตัว จะให้อาหารวันละ 3 กระสอบ และต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 20-22 สัปดาห์ ทำให้มีต้นทุนสูง
“ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกร 10 ครัวเรือน และเลี้ยงไก่พื้นเมืองครัวเรือนละ 50-100 ตัว เกษตรกรเข้าใจในเรื่องการให้อาหารกับไก่ที่เหมาะสมแต่ละช่วงอายุ ส่งผลทำให้ไก่โตเร็ว มีคุณภาพซากดี ขายได้ราคา อีกทั้งระยะเวลาในการเลี้ยงน้อยลง ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น”
อ่านข่าว :
ชาวบ้านกังวล “เขื่อนพูงอย” ทำน้ำมูลเท้อ-แก่งตะนะจม-เมืองอุบลฯ ท่วม
"ไร่สับปะรด" ลำปาง แล้งหนัก คาดผลผลิตลดลง
"กล้วยหอมทองเพชรบุรี" เปลือกบาง นุ่มฟู GI ใหม่ บุกตลาดญี่ปุ่น