ความเป็นมา "เรือพระราชพิธี" ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ไลฟ์สไตล์
1 ก.ค. 67
11:24
3,560
Logo Thai PBS
ความเป็นมา "เรือพระราชพิธี" ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ในเดือน ตุลาคม 2567 จะมีพระราชพิธีสำคัญของประเทศไทย นั้นคือ งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

กำหนดการจัดให้มีขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 พระราชพิธียิ่งใหญ่ที่พสกนิกรชาวไทยและชาวต่างชาติต่างรอคอยที่จะเฝ้าชม รูปแบบขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้ว ความยาว 1,200 เมตร กว้าง 90 เมตร ใช้กำลังพลประจำเรือรวม 2,200 นาย

ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างทุ่มเทแรงกายและแรงใจเพื่อให้ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สมพระเกียรติ โดยเตรียมความพร้อมการอนุรักษ์ซ่อมแซมเรือพระราชพิธีและอาภรณ์ภัณฑ์เครื่องประกอบ 52 ลำ รวมถึงการซักซ้อมฝีพายเรือในพระราชพิธี

สำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี ด้วยการตกแต่งรายละเอียด เช่น วาดลวดลาย ติดกระจกเกรียบกระจกสีทำจากแร่ดีบุก เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

สำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี ด้วยการตกแต่งรายละเอียด เช่น วาดลวดลาย ติดกระจกเกรียบกระจกสีทำจากแร่ดีบุก เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

สำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี ด้วยการตกแต่งรายละเอียด เช่น วาดลวดลาย ติดกระจกเกรียบกระจกสีทำจากแร่ดีบุก เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

ในครั้งนี้ กรมศิลปากรได้ดำเนินการอนุรักษ์เรือพระราชพิธี ซึ่งมีสถานะเป็น "โบราณวัตถุ" และการประดับตกแต่งเรือพระราชพิธี ด้วยการลงรักปิดทอง ประดับกระจก โดยฝีมือช่างชำนาญการ จากสำนักช่างสิบหมู่ การบูรณะเรือเน้นรูปแบบศิลปะที่คงความดั้งเดิม งดงาม ซึ่งเป็นงานที่อาศัยทักษะชั้นสูง และวิทยาศาสตร์ผสมผสานกัน ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่เดือน เมษายน ที่ผ่านมา

สำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี  เตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

สำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี เตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

สำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี เตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

กองทัพเรือซักซ้อมฝีพายเรือในพระราชพิธี ซึ่งการพายเรือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะต้องแสดงท่าพายให้งดงามและเข้มแข็ง รวมถึงฝีพายทุกนายต้องฟังเสียงเห่เรือเพื่อร้องรับตามจังหวะ ทำให้เกิดความพร้อมเพรียง 

การเตรียมความพร้อม การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหารในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

การเตรียมความพร้อม การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหารในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

การเตรียมความพร้อม การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหารในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

ท่วงท่าการพาย ยังคงเป็นไปตามโบราณราชประเพณี แต่ได้พัฒนาท่าให้มีความสวยงามมากขึ้น โดยใช้เทคนิคปัจจุบันเข้ามาเสริม เช่น ใช้เอ็นมาคลึง และใช้เส้นเอ็นเป็นมาตรฐาน สำหรับการยกพายขึ้นพ้นน้ำทำมุม 45 องศา ซึ่งเป็นท่าที่ใช้กับเรือพระที่นั่ง เพื่อให้ฝีพายคุ้นชินกับระยะและจังหวะ ทำให้สง่างามพร้อมเพรียง

การเตรียมความพร้อม การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหารในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

การเตรียมความพร้อม การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหารในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

การเตรียมความพร้อม การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหารในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

ริ้วขบวนพระราชพิธีเรือพระราชพิธีอันวิจิตรงดงาม ที่มีเพียงประเทศไทยประเทศเดียวในโลก ชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเฝ้ารอคอยรับชม ถือเป็นความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติ และครั้งนี้จะเป็นอีกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในการสืบสานประเพณีการจัดขบวนเรือพระราชพิธี 

ภาพการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นการฝึกซ้อมใหญ่ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562

ภาพการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นการฝึกซ้อมใหญ่ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562

ภาพการฝึกซ้อมขบวนเรือพระราชพิธีในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยเป็นการฝึกซ้อมใหญ่ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2562

หากย้อนกลับไปในหน้าประวัติศาสตร์ "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" มีประวัติความเป็นมายาวนาน เปรียบดังมรดกแห่งวัฒนธรรมไทยอันล้ำค่าคู่แผ่นดินไทย 

เกี่ยวกับ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 

คำว่า "พยุหยาตรา" (พะ-ยุ-หะ-ยาด-ตรา) หมายถึง กระบวนทัพ มีทั้งกระบวนทางบก เรียกว่า "สถลมารค" และ กระบวนทางน้ำ เรียกว่า "ชลมารค"  

นับแต่โบราณกาลการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทย นอกจากการเสด็จพระราชดำเนินทางบก ที่เรียกว่า "พยุหยาตราทางสถลมารค" แล้ว การเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือ "พยุหยาตราทางชลมารค" 

บรรยากาศการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 วันที่ 12 ธ.ค. 62

บรรยากาศการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 วันที่ 12 ธ.ค. 62

บรรยากาศการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. 2562 วันที่ 12 ธ.ค. 62

"ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" มีมาแต่โบราณ เป็นริ้วขบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการพระราชพิธี  สืบทอดตั้งแต่ สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ จวบจนปัจจุบัน 

ข้อมูลจากกองทัพเรือ อธิบายว่า ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี เชื่อว่าเริ่มจากการที่พระร่วงได้นำเรือออกไปลอยกระทง หรือกระทำพิธี "จองเปรียง" ณ กลางสระน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามเพ็ญเดือนสิบสอง

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : กองทัพเรือ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : กองทัพเรือ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : กองทัพเรือ

ต่อมา สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเมืองเกาะล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงเก่าจึงต้องอาศัยเรือ ในการสัญจรไปมา รวมทั้งในเวลารบทัพจับศึกก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฏว่ามีการสร้างเรือรบมากมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในเวลาบ้านเมืองปราศจากศึกสงครามได้ใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ์กันเป็นนิจ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ราษฎรว่างจากการทำนา จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาลประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน

พระเจ้าแผ่นดินจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แหน เพื่อให้ไพรพลได้รื่นเริงในการกุศล จึงจัดเป็นประเพณีที่แห่เสด็จกฐิน

ภาพจากเว็บไซต์ หน่วยราชการในพระองค์

ภาพจากเว็บไซต์ หน่วยราชการในพระองค์

ภาพจากเว็บไซต์ หน่วยราชการในพระองค์

ในอดีต ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่าง ๆ ทั้งส่วนพระองค์ พระราชพิธี ตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน การอัญเชิญพระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง ตลอดจนการต้อนรับราชทูตจากต่างประเทศ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ได้แก่ ขบวนพยุหยาตราเพชรพวง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีการจัดขบวนอย่างยิ่งใหญ่ รวมจำนวนเรือในขบวนได้ถึง 113 ลำ โดยจัดขบวนออกเป็น 5 ตอน คือ ขบวนนอกหน้า ขบวนในหน้า ขบวนเรือพระราชยาน ขบวนในหลัง และขบวนนอกหลัง

นับตั้งแต่มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อคราวฉลองพระนครครบ 150 ปี พ.ศ.2475 ในรัชกาลที่ 7 แล้ว ไม่ปรากฎหลักฐานว่าได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอีกเลย 

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : กองทัพเรือ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : กองทัพเรือ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพจาก : กองทัพเรือ

จนในปี พ.ศ.2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟูประเพณีเสด็จพระราชดาเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคขึ้นอีกครั้ง หลังว่างเว้นมานานถึง 50 ปี นับตั้งแต่การสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้สืบต่อเนื่องยาวนาน

การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งแรกในรัชกาลรัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2500 ซึ่งเป็นปีที่ทางราชการได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้น และได้จัดให้มีขบวนเรือพระราชพิธีอัญเชิญพระพุทธรูป ไตรปิฏก และพระสงฆ์ แห่ไปตามลำแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นการเฉลิมฉลอง ขบวนครั้งนี้เรียกว่า "ขบวนพุทธพยุหยาตรา" การจัดรูปขบวนเรือคล้ายรูปขบวนพยุหยาตราน้อย แต่ไม่ครบ เนื่องจากเรือพระราชพิธีชำรุดเสียหายไปบ้าง

สู่รัชสมัยในหลวงรัชกาลที่ 10 มีพระราชพิธีครั้งสำคัญการเสด็จเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 

เรือพระราชพิธี งดงามตระการตา

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค มีการจัดเตรียมเรือพระราชพิธี ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำสำคัญ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 รวมทั้ง เรือพระราชพิธีอื่น ๆ เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง เป็นต้น รวม 52 ลำ

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

"เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" เป็นเรือพระที่นั่งชั้นสูงสุด ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชินี โดยเมื่อปี 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้เสด็จโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพิธีพระบรมราชาภิเษก

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ทราบได้จาก บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ที่ส่งประพันธ์ไว้ว่า

สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม

"เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์" ลำปัจจุบันนี้ เป็นเรือสร้างใหม่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยมี พล.ร.ต.พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนาวาสถาปนิกผู้ต่อเรือสุพรรณหงส์ โดยจัดให้มีการประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454

โขนเรือเป็นรูปหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง หมายถึง เรือที่เป็นเครื่องประดับยศ เป็นเรือพระที่นั่งชั้นสูง มีโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นใดประทับเป็นแต่บางครั้ง โปรดฯ ให้เป็นเรือทรงผ้าไตรหรือผ้าทรงสะพักพระพุทธรูป หรือพานพุ่มดอกไม้ เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์

หัวเรือพระที่นั่งนี้มี "โขนเรือ" เป็นรูปหัวของ "หงส์" ลำตัวเรือทอดยาวคือส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ ลงรักปิดทองประดับกระจก มีพู่จามรีห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ตอนกลางลำเรือทอดบัลลังก์กัญญา หรือ บุษบกไว้สำหรับเป็นที่ประทับ

ภาพพิธีบวงสรวงเรือพระราชพิธี วันที่ 11 กรกฎาคม 2562

ภาพพิธีบวงสรวงเรือพระราชพิธี วันที่ 11 กรกฎาคม 2562

ภาพพิธีบวงสรวงเรือพระราชพิธี วันที่ 11 กรกฎาคม 2562

เรือมีความยาวตลอดลำ 44.90 เมตร กว้าง 7.17 เมตร ลึก 0.94 เมตร ใช้กำลังพลรวม จำนวน 71 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 64 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 50 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนขานยาว 1 นาย คนถือฉัตร 7 นาย และเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 7 นาย

ในปี 2535 องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ได้พิจารณามอบรางวัลเรือโลก แก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยคณะกรรมการองค์การ World Ship Trust เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เหรียญรางวัลมรดกทางทะเล ขององค์การเรือโลกประจำปี พ.ศ.2535 (The World Ship Trust Heritage Award "Suphannahong Royal Barge")

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่ อธิบดีกรมศิลปากร

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

"เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์"  เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในขบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 ชื่อของเรือมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า "อเนกะชาตะภุชงฺคะ" แปลว่า งูหลากหลายชนิด สอดคล้องกับ "โขนเรือ" ที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ

"นาคะ" หรือไทยเรียกว่า "นาค" เป็นเทพในฮินดูปกรณัมปรัมปรา บางครั้งก็ปรากฏในพระพุทธศาสนาด้วย นาคที่เป็นเทพหรือทิพยนาคเป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าหลายองค์ของศาสนาฮินดูโยงใยกับนาคหรือที่ปรากฏในรูปร่างของงู หรืองูเทพ (งูทิพย์) 

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : รัฐบาลไทย

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : รัฐบาลไทย

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ภาพจาก : รัฐบาลไทย

รูปแบบของงูหรือนาคตัวเล็ก ๆ จำนวนมากที่หัวเรือเช่นนี้ น่าจะหมายถึงนาคที่มีจำนวนนับพันซึ่งเป็นเหล่าบรรดานาคที่กำเนิดจากมหาฤษีกัศยปะและนางกัทรุ นาคเหล่านี้อาศัยอยู่ในโลกบาดาล เรียกว่า นาคโลก แปลว่า โลกของนาคทั้งหลาย ตามปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ

ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปพญานาคตัวเล็ก ๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ

เรือมีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึก 0.91 เมตร ใช้กำลังพลรวม 82 นาย แยกเป็น กำลังพลประจำเรือ จำนวน 75 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 61 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนถือฉัตร 7 นาย คนขานยาว 1 นาย และเจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวัง 7 นาย

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช หัวเรือจำหลักรูปพญานาค 7 เศียร ลงรักปิดทองประดับกระจก ท้องเรือภายในทาสีแดง ภายนอกทาสีเขียว กลางลำเรือเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปหรือผ้าพระกฐิน

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อนนฺตนาคราชะ มาจากคำ 3 คำ คือ อนนฺตะ (แปลว่า ไม่สิ้นสุด นิรันดร) นาคะ (แปลว่า นาค หรือ งู) ราชะ (แปลว่า เจ้านาย หรือพระราชา) ดังนั้นคำนี้จึงแปลได้ว่า อนันตะ ราชาแห่งนาค หรืองูทั้งหลาย

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ภาพจาก : รัฐบาลไทย

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ภาพจาก : รัฐบาลไทย

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ภาพจาก : รัฐบาลไทย

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำแรกสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่เริ่มใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารคในสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏชื่อว่า เรือพระที่นั่งบัลลังก์อนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชลำปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6 และเริ่มใช้ครั้งแรก เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2457

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โดยปกติแล้วใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐิน ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรือมีความยาว 44.85 เมตร กว้าง 2.58 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 1.87 เซนติเมตร กินน้ำลึก 31 เซนติเมตร 

ใช้กำลังพลรวม จำนวน 72 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 69 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝึพาย 54 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนถือฉัตร 7 นาย คนขานยาว 1 นาย พนักงานเห่เรือ 1 นาย และเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 3 นาย

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 

กรมศิลปกร ร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักพระราชวัง สร้างเรือลำนี้ใหม่ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในมหามงคลวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539  

โดยได้นำโขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัซกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือพายและคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับศิลปกรรมของเรือทั้งหมด

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางกระดูกงูเรือ ณ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2537

และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (พระราชอิสริยยศ ขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีปล่อยเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ลงน้ำ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2539

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

นารายณ์ทรงสุบรรณ มีความหมายเดียวกันกับ พระวิษณุทรงครุฑ เนื่องจาก นารายณะ (ไทยเรียก นารายณ์) เป็นพระนามหนึ่งของพระวิษณุ ส่วนสุบรรณ ก็เป็นชื่อเรียก ครุฑ หรือ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ

ลักษณะโขนเรือ โขนเรือจำหลักรูปพระวิษณุประทับยืนบนครุฑ พระวรกายคล้ำ ในพระกรทั้ง 4 ทรงถือ จักร สังข์ คทา และตรีศูล ประทับบนครุฑยุดนาคหรือครุฑที่จับนาค 2 ตัวชูขึ้น ที่หัวเรือเบื้องใต้ครุฑเป็นช่องสำหรับใส่ปืนใหญ่ กลางลำเรือทอดบังลังก์กัญญาและมีแท่นประทับสำเรือ ภายนอกท้องเรือภายในแดง

ส่วนท้ายเรือ มีลักษณะคล้าย ท้ายเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช แต่ส่วนเหนือมาลัยท้าย เป็นสร้อยหางครุฑ ปลายหางสุดของท้ายเรือเป็นกนกหางครุฑ ท้องลายของท่อนหางเป็นขนครุฑ

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

ลำเรือ ทำจากไม้ตะเคียนทอง แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกตลอดทั้งลำเรือ มีลวดลายเป็นลายพุดตาน สีพื้นเรือหรือสีท้องเรือเป็นสีแดงชาด ใช้ตัวบัลลังก์กัญญาเรือ เช่นเดียวกับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นลวดลายแกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก

แผงพนักพิง แกะสลักลวดลาย เป็นรูปครุฑยุดนาค ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายในเหมือนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ลูกแก้วรับขื่อ เป็นไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก เสาสองต้นทาสีดำ

ส่วนพายกับฉาก ลงรักปิดทอง การวางฉัตร ให้เว้น 2 กระทง ต่อ 1 ฉัตร ผ้าดาดหลังคากัญญาเรือ เป็นทองแผ่ลวด ลายโคมแย่ง ลงรักปิดทอง ประดับกระจก พื้นแดงลายจั่ว และลายผ้าม่านโดยรอบ ประดับด้วยทองแผ่ลวด

ขนาดของเรือ มีความยาว 44.30 เมตร ความยาวแนวน้ำหนักบรรทุกเต็มที่ 34.6 เมตร ความกว้าง 3.20 เมตร ความลึก 1.10 เมตร กินน้ำลึก 0.4 เมตร ระหว่างน้ำบรรทุกขับเต็มที่ 20 ตัน  

ใช้กำลังพลรวม 71 นาย แยกเป็นกำลังพลประจำเรือ 64 นาย ประกอบด้วย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย ฝีพาย 50 นาย คนถือธงท้าย 1 นาย พลสัญญาณ 1 นาย คนถือฉัตร 7 นาย คนขานยาว 1 นาย และเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง จำนวน 7 นาย

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

นอกจากนี้ เรืออสุรวายุภักษ์ : จัดว่าเป็นเรือรูปสัตว์ โขนเรือ สลักเป็น "รูปยักษ์" กายเป็นนกสีคราม ปิดทองประดับกระจก

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร : โขนเรือสลัก "รูปขุนกระบี่" ปิดทองประดับกระจก ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2510

เรือครุฑเหินเห็จ : ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรจึงนำโขนเรือเดิมมาซ่อมแซมขึ้นใหม่จนถึงปัจจุบัน

เรือเอกชัยเหินหาว : โขนเรือเขียนลวดลายเป็น "รูปจระเข้หรือเหรา" เรือลำนี้ได้ถูกระเบิดเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2487 และทำการตกแต่งซ่อมแซมตัวเรือใหม่เมื่อปี พ.ศ.2508

ในปัจจุบันกรมศิลปกร ได้ขึ้นทะเบียน "เรือพระที่นั่ง" ไว้เป็นมรดกของชาติ และยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี" เมื่อปี 2517 โดยเรือพระราชพิธีเป็นเรือที่ใช้สำหรับประกอบพระราชพิธีทางชลมารค หรือที่เรียกว่า "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" ถือเป็นพระราชพิธีดั้งเดิมสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

กรมศิลปากร ในความดูแลของสำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี เตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

กรมศิลปากร ในความดูแลของสำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี เตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

กรมศิลปากร ในความดูแลของสำนักช่างสิบหมู่ เข้าซ่อมบำรุงเรือพระราชพิธี เตรียมความพร้อมให้กับ การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี

บรรดาเรือพระราชพิธีต่าง ๆ ที่จัดแสดงและเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือครุฑเหินเห็จ, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร, เรืออสุรวายุภักษ์, เรือเอกชัยเหินหาว

สำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธีอยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือเมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดเสียหาย

ในปี 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือจึงมอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซม ดูแลรักษา บรรดาเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในพระราชพิธี โดยติเรือพระราชพิธีเป็นเรือที่ความสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงสวยงาม และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม และประการสำคัญ ยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่าง ๆ สืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ระหว่างการดำเนินงานบูรณะเรือของช่างสิบหมู่ ก่อนพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 นี้ 

ภายใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมเรือพระราชพิธี 4 ลำ และเรือรูปสัตว์ 4 ลำ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี และชมการฝึกฝีพาย ณ บ่อเรือแผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ ในวันราชการ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 2 กรกฎาคม  2567 ระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ 

 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ ระหว่างวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2567 กองทัพเรือ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต อัญเชิญเรือพระที่นั่ง จำนวน 3 ลำ ประกอบด้วย

  • เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
  • เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
  • เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช 

จัดแสดงแบบผูกทุ่น ประกอบกาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมทั้งจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ณ บริเวณท่าราชวรดิฐ ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ

พิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี

วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ  มีเรือพระราชพิธี เข้าร่วม 8 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์, เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9, เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชง, เรือเอกชัยเหินหาว, เรือครุฑเตร็จไตรจักร, เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

พิธีประกอบด้วย พิธีสงฆ์ การบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ และการเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ โดย ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เจิมเรือ ปิดทอง ผูกผ้าสี คล้องพวงมาลัย โปรยข้าวตอกดอกไม้ เพื่อบวงสรวงแม่ย่านางเรือ และรำบวงสรวงโดยกรมศิลปากร

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

นอกจากนี้ ยังทำพิธีบวงสรวงเรือพระราชพิธีอีก 6 ลำ ได้แก่ เรือเอกชัยหลาวทอง เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง และเรืออสุรปักษี โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี ที่ โรงเรือพระราชพิธี ท่าวาสุกรี อีกด้วย

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

สำหรับการบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ เป็นพิธีกรรมในการยอมรับนับถือและให้การคารวะบูชาต่อพระภูมิเจ้าที่ที่ปกปักรักษา คุ้มครอง ป้องกันสถานที่นั้น ๆ พิธีกรรมเป็นการสวดอาราธนาบารมี พระพุทธานุภาพ พระธรรมานุภาพ พระสังฆนุภาพ เทพพรหมเทวา

รวมถึงเท้าจตุมหาราช ผู้เป็นใหญ่ในทั่วทิศทั้ง 4 ลงมาประทับ ณ สถานประกอบพิธี และพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ เป็นความเชื่อแต่โบราณว่าเรือทุกลำมีแม่ย่านางเรือสิงสถิตอยู่ คอยปกปักรักษา คุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวง ก่อนออกเรือทุกครั้ง หรือการนำเรือไปใช้งานจึงมักกระทำพิธีบูชาแม่ย่านางเรือก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค.2567

ในการเสด็จโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นประเพณีที่มีมายาวนาน นับเป็นความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย ที่มีประเพณีอันงดงามและเป็นที่ประจักษ์ แด่สายตาของชาวต่างชาติ และในปีนี้ทุกคนจะไดรับชมความสวยงาม และความยิ่งใหญ่ของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการจัดงานเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 อีกครั้ง ในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 

อ้างอิงข้อมูล : กองทัพเรือ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี, กรมศิลปากร, หน่วยราชการในพระองค์, พระลาน 

 

 อ่านข่าว : คลัง" ปรับเกณฑ์ ThaiESG จูงใจลดภาษี 3 แสน ถือครอง 5 ปี

ครม.ไฟเขียว "โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง" ช่วยชาวนา ไร่ละ 500 บาท

"ทนายอนันต์ชัย" แจ้ง 6 ข้อหาเด็ก 8 ขวบเชื่อมจิต-ทนาย-ทีมแอดมิน

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง