7 ข้อค้านเพิกถอน "ป่าทับลาน" 2.6 แสนไร่ห่วงเปลี่ยนมือ

สิ่งแวดล้อม
27 มิ.ย. 67
14:12
308
Logo Thai PBS
7 ข้อค้านเพิกถอน "ป่าทับลาน" 2.6 แสนไร่ห่วงเปลี่ยนมือ
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เปิดเหตุ 7 ข้อกังขาเพิกถอนป่าทับลาน 265,286 ไร่ ห่วงถูกเปลี่ยนมือคนครอบครอง พื้นที่ติดคดีบุกรุกกลายเป็นที่ดินชอบด้วยกฎหมาย หลังกรมอุทยานฯเปิดรับฟัง 28 มิ.ย.-12 ก.ค.นี้

กรณีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 265,286 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยจะเริ่ม 28 มิ.ย.-12 ก.ค.นี้

วันนี้ (27 มิ.ย.2567) นายภานุเดช เกิดมะลิ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะเพิกถอนป่าผืนใหญ่ของทับลานถึง 265,286 ไร่ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี

อ่านข่าว มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ค้านเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในอุทยานฯทับลาน 2.6 แสนไร่

ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ยืนยันว่ามูลนิธิสืบฯ ไม่ได้คัดค้านเพราะไม่เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาในพื้นที่ทับลาน แต่ค้านในมิติกระบวนการ ซึ่งในพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติพ.ศ.2562 มีมาตรา 64 ซึ่งใช้กฎหมายมาแก้ชุมชนในป่า และยังมีมิติของการดูแลพื้นที่ของชุมชนควบคู่กันไป 

พื้นที่บุกรุกติดคดี-ได้รับประโยชน์

แต่กรณีการเพิกถอนทับลาน ทางคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) มีมติเสนอมาที่รัฐบาล และให้มีการรบฟีงความเห็นและห่วงพื้นที่ตรงนี้จะถูกแบ่งแยก รบบนิเวศในบริเวณนี้จะได้รับผลกระทบ และโอกาสที่จะเปลี่ยนมือและคนเข้าครอบครองพื้นที่สูงมาก

ตอนนี้พื้นที่ทับลานมีแปลงคดีที่บุกรุกอยู่จำนวนมาก ซึ่งการเพิกถอนกลับรวมพื้นที่นี้ออกทั้งหมด ดังนั้นในเชิงกฎหมาย พื้นที่ผิดกฎหมายจะทำให้พื้นที่ถูกเพิกถอนทั้งหมด จะเอื้อประโยชน์ให้กับคนเข้าไปครอบครอง

อ่านข่าว ขีดเส้น 2 เดือนยุติพิพาทที่ดินใช้วันแมปนำร่อง "เขาใหญ่-เกาะเสม็ด"

เมื่อถามว่ายังมีโอกาสรับฟังหรือทบทวนได้หรือไม่ นายภานุเดช กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ผ่านกระบวนการต่างๆจากคทช.ตามไทม์ไลน์ หากผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นมาแล้ว จะรวมความเห็นจะเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) และต้องการเพิกถอน และประกาศกฤษฎีกา และประกาศเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. ซึ่งที่ผ่านมาก็มีปัญหาออกเอกสารสิทธิไม่ชอบ

อ่านข่าว กรมอุทยานฯ ยืนยันแผนที่แนวเขตเขาใหญ่ถูกต้อง

หวั่นโมเดลเพิกถอนป่าเขาค้อ-เกาะเสม็ด-เชียงใหม่ 

เมื่อถามว่าหากเพิกถอนป่าทับลานได้จะถูกใช้เป็นโมเดลพื้นที่ป่าอื่นๆหรือไม่ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า ขณะนี้กรมอุทยานฯ มีการสำรวจพื้นที่นี้ทั่วประเทศ จะออกกฎีกาเป็นโครงการแก้ปัญหาชุมชนในป่า แต่พอมีเคสทับลานเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นห่วงว่าจะถูกใช้ในป่าอื่นๆด้วย

โดยเฉพาะโซนเข้าค้อ จ.เพชรบูรณ์ เกาะเสม็ด จ.ระยอง และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีการใช้มาตรา 64 เพราะพื้นที่ป่ากลายเป็นเมืองคล้ายกับว่ามีความต้องการสูงใช้กลไกในการเพิกถอนได้ 

ถือว่าเป็นเคสใหญ่และไม่เป็นปกติ เพราะที่ผ่านมาจะเพิกถอนเพื่อทำอ่างเก็บน้ำ และทำถนน แต่เคสทับลานไม่ใช่เพิกกถอนอย่างเดียว แต่ให้ประกาศเพิ่มพื้นที่ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ก็พื้นที่ใช้ประโยชนอยู่แล้ว กลับจะไปสร้างความขัดแย้ง  

ก่อนหน้านี้ทางมูลนิธิสืบฯ เคยทำหนังสือให้ชะลอ ไปยังคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ และการคัดค้านด้วยทำหนังสือ และขอพูดพูดคุยกับนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช แต่ยังไม่ได้คิวเนื่องจากติดภารกิจ 

อ่านข่าว ปลัด ทส.ยันพื้นที่อุทยาน​ "ชัยวัฒน์"​ มีอำนาจถอดหมุด​ ส.ป.ก. ปัดมีใบสั่ง

เปิดเหตุผล 7 ข้อกังวลเพิกถอนป่า 265,286 ไร่  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทางมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมีข้อกังวลว่า การจัดการของภาครัฐในลักษณะนี้ อาจส่งผลกระทบต่อแนวการเชื่อมต่อระบบนิเวศของสัตว์ป่า และเพิ่มความรุนแรงความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น ดังนี้ 

  • เห็นชอบการใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขต ปี พ.ศ.2543 ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 (ONE MAP)เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน หรือไม่ อย่างไร
  • เมื่อปรับเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์เป็น ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะสามารถแก้ไขปัญหา ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน หรือไม่ อย่างไร
  • มั่นใจหรือไม่ว่า ราษฎรที่ได้รับประโยชน์ในพื้นที่เป็นเกษตรกรที่อยู่อาศัยทำกินในพื้นที่มาดั้งเดิมและจะสามารถควบคุมดูแลไม่ให้มีการซื้อขายเปลี่ยนมือไปอยู่ในมือของนายทุน
  • การใช้แนวเขตเมื่อปี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ป้องกันการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า มาใช้เป็นแนวเขตของอุทยานแห่งชาติทับลาน ขัดต่อวัตถุประสงค์เริ่มแรกของการสำรวจจัดทำแนวเขตเมื่อปี พ.ศ.2543 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2541 หรือไม่
  • จะเป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการเพิกถอนพื้นที่ป่าอนุรักษ์แห่งอื่น ๆ อีกหรือไม่ อย่างไรในเมื่อพื้นที่อื่นๆ ก็มีชาวบ้านที่อ้างว่าขาดแคลนที่ดินทำกิน และมีสิทธิ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ เพราะเป็นประชาชนคนไทยเช่นกัน
  • เป็นการขัดต่อนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่กำหนดให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์และเพื่อเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 40% ของพื้นที่ประเทศ หรือไม่ อย่างไร
  • จะส่งผลต่อสถานภาพการเป็นพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติของกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่จากการถูกลดคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV) ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโก (UNESCO)หรือไม่
     

อ่านข่าวอื่นๆ

ความหวังคนสิ่งแวดล้อม "จิระศักดิ์-ชีวะภาพ" นั่งว่าที่ สว.ชุดใหม่

One Map คืออะไร มีแล้ว "ใคร" ได้ประโยชน์ ?

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง