ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไทยจ่อเผชิญ “ลานีญา” ปลาย ส.ค.นี้ ทำฝนตกหนัก-น้ำมาก

ภัยพิบัติ
9 ส.ค. 67
20:43
7,312
Logo Thai PBS
ไทยจ่อเผชิญ “ลานีญา” ปลาย ส.ค.นี้ ทำฝนตกหนัก-น้ำมาก
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปลายเดือน ส.ค.นี้เป็นต้นไปหน่วยงานด้านน้ำเตือนให้พื้นที่ลุ่มต่ำเตรียมยกของขึ้นที่สูง เพราะจะเป็นช่วงที่ไทยเผชิญกับฝนตกหนัก คาดว่าจะมีน้ำท่วมรุนแรงเฉพาะบางพื้นที่

วันนี้ (9 ส.ค.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ "เอลนีโญ" ไปสู่สภาวะ "ลานีญา" ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศในประเทศไทย โดย “ลานีญา” เป็นปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามสุดขั้วกับ “เอลนีโญ” ต้นปี 2567 เผชิญกับเอลนีโญ ทำให้ไทยฝนตกน้อย อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นและอากาศร้อนจัด จนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายจากภัยแล้งเป็นวงกว้าง

แต่ “ลานีญา” จะทำให้ปริมาณฝนที่ตกลงมามากกว่าปกติและอุณหภูมิจะต่ำกว่าปกติ อากาศเย็นขึ้นไม่ร้อนแล้ว แต่สภาวะนี้จะทำให้ไทยเกิดฝนตกหนัก คาดว่าจะเริ่มเข้าสู่ลานีญาช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้เป็นต้นไป ในบางพื้นที่หากกายภาพของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอาจถูกน้ำท่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ยกตัวอย่าง ภาคกลางพื้นที่ลุ่มต่ำแม่น้ำเจ้าพระยา หากเปรียบเทียบลักษณะกายภาพหลังจากน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 แทบทุกจังหวัดมีการก่อสร้างพนังป้องกันน้ำท่วม ล้อมพื้นที่เขตเศรษฐกิจไว้หมดแล้ว เมื่อ “ลานีญา” ทำให้ฝนตกหนัก น้ำฝนทั้งหมดจะถูกบีบบังคับให้ลงไปในแม่น้ำ ไม่สามารถกระจายไปตามที่ต่าง ๆ ได้ หรือแม้แต่เข้าทุ่งรับน้ำทั้ง 11 ทุ่งที่ผ่านมาก็ติดปัญหาใช้งานไม่ได้จริง จึงจะทำให้พื้นที่ลุ่มต่ำน้ำเอ่อท่วมสูงขึ้น โดยในปี 2567 พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำคาดว่าจะถูกน้ำท่วมเกือบ 2 เมตรใกล้เคียงปี 2554 เฝ้าระวังขนของขึ้นที่สูงไว้ตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค.นี้

อ่านข่าว : เตือนพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ "อยุธยา-อ่างทอง" รับมือน้ำเหนือ

ส่วนอีกหนึ่งพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซากคือ ริมคลองโผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง กรมชลประทานได้แจ้งเตือนให้ชาวบ้านเตรียมรับมือแล้ว ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่หวั่นว่าคันดินพนังป้องกันน้ำท่วมจะเป็นปัญหาซ้ำรอยเดิม เพราะหากคันดินแตกจะยิ่งสร้างความเสียหายหนัก

เวลานี้มีการก่อตัวของพายุในมหาสมุทรแปซิฟิกลูกที่ 5 ชื่อ “พายุไต้ฝุ่นมาเรีย” จะเคลื่อนตัวไปทางญี่ปุ่น ไม่มีผลต่อประเทศไทย ส่วนพายุจรในช่วงนี้ยังไม่มี แต่หลังจากนี้ไปไทยจะเริ่มได้รับอิทธิพลจาก “ลานีญา” ซึ่งจะทำให้มีฝนมาก น้ำมาก ฝนเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติประมาณร้อยละ10-20

ขณะที่ ทีมกรุ๊ป ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการน้ำ ประเมินทิศทางความเสียหายรุนแรง โดยคาดว่าจะมีพื้นที่จมบาดาลเกือบ 300,000 ไร่ และคาดว่าลานีญาจะลากยาวอยู่กับไทยนานถึง 6 เดือน จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าตั้งแต่กลางเดือน ส.ค.เป็นต้นไป จะมีความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่จะมีผลต่อไทย แม้ยังไม่มีสัญญาณพายุเข้าไทยมากกว่า 2 ลูก แต่ก็มีเวลาไม่ถึง 1 เดือนที่จะรับรับมือ “ลานีญา” ที่จะทำให้มีฝนมากช่วงปลายปี

อ่านข่าว

รอดหรือจมบาดาล ? ไทยลุ้น "น้ำท่วม" 2567

อากาศแปรปรวนจ่อเผชิญ "ลานีญา" ระวัง "ฝนตกหนักสุดขั้ว"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง