เกิดฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากท่วมหมู่บ้าน ต.แม่ยวมน้อย อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้มีบ้านเรือนประชาชนถูกน้ำพัดพังหลายหลัง เบื้องต้นไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ขณะที่สะพานเชื่อมหมู่บ้านขาดไม่สามารถสัญจรได้ เตือนเฝ้าระวังน้ำยวมเพิ่มระดับสูงต่อเนื่อง
รายงานล่าสุด จาก #สหภาพยุโรป เผยว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุด และ 10 เดือนที่ผ่านมา อุณหภูมิโลกทุกเดือนทำสถิติร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อเทียบกับปีก่อน ชมรายการจับตาสถานการณ์ ที่ www.thaipbs.or.th/program/khaoTieng/episodes/101028
สภาพอากาศทั่วไทยร้อนจัดต่อเนื่องตั้งแต่เข้าสู่เดือนเมษายนที่ผ่านมา แนวโน้วจากนี้อุณหภูมิจะเพิ่มสูงกว่านี้อีกหรือไม่ วิกฤตภัยแล้งรุนแรงยาวนานที่ไทยกำลังจะเผชิญ ปัญหาสภาพภูมิอากาศวิปริตแปรปรวน และการออกแบบนโยบายเพื่อเตรียมรับมือ พูดคุยกับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
WMO รายงานว่า "เอลนีโญ" อ่อนกำลังลง เปลี่ยนสถานะ สู่ "ลานีญา" ในช่วงเดือนหน้า ด้านหน่วยวิจัยเศรษฐกิจในไทย ประเมินว่า ในเดือนกันยายน - ธันวาคม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากกว่าภัยแล้ง ชมย้อนหลัง รายการจับตาสถานการณ์ (26 มี.ค. 67) ได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/khaoTieng/episodes/100736
ทั่วโลกสภาพอากาศแปรปรวนสูง อุณหภูมิผิวน้ำไม่เหมือนเดิม ทั้งกระแสน้ำเย็น - กระแสน้ำอุ่น ส่งผลโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ประกอบปัจจัยโลกร้อน ยิ่งทำให้ความถี่ของปรากฎการณ์ "เอลนิโญ" ร้อนแล้ง และ "ลานีญา" น้ำมากคำนวณยาก เพราะเกิดถี่และรุนแรงกว่าเดิม จนบางครั้งประเทศที่เปราะบางก็ปรับตัวไม่ทัน แต่ที่น่ากังวลความผันผวนของอากาศที่ร้อนจัดจาก "เอลนิโญ" ปี 67 อาจพลิกกลับมาเป็นปรากฎการณ์ "ลานีญา" ติดตามชมรายการสถานีประชาชนย้อนหลังได้ทาง www.thaipbs.or.th/People
เอลนีโญกับลานีญามีผลอะไรกับโลกของเราบ้าง ภัยแล้งในบ้านเรามีผลกระทบมาจากเอลนีโญหรือไม่ แล้วเกษตรกรควรจะแก้ปัญหาและเตรียมรับมือภัยแล้งอย่างไร ติดตามชมประเด็นรู้เท่ารู้ทัน ในช่วง "วันใหม่ ไทยพีบีเอส" วันอังคารที่ 30 กรกฎาคมนี้ ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live