หอการค้า ชี้บาทแข็ง ฉุด "ส่งออก-ท่องเที่ยว" เสียหาย 1.3 แสนล้าน

เศรษฐกิจ
23 ก.ย. 67
18:39
99
Logo Thai PBS
หอการค้า ชี้บาทแข็ง ฉุด "ส่งออก-ท่องเที่ยว" เสียหาย 1.3 แสนล้าน
หอการค้า ชี้บาทแข็งระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ฉุด "ส่งออก-ท่องเที่ยว" เสียหาย 1.3 แสนล้าน บี้แบงก์ชาติ-คลัง เร่งแก้ อย่าหลุด 34 บาท เตรียมถกทีมเศรษฐกิจรัฐบาลแก้ปัญหาด่วน

วันนี้ (23 ก.ย.2567) นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยจะทำหนังสือขอเข้าพบและหารือปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังเผชิญ โดยเฉพาะค่าเงินที่ผันผวนหนัก อยากให้เร่งดูแลเรื่องค่าบาทแข็งเร็วและรุนแรง กำลังส่งผลกระทบต่อภาคเอกชนอย่างหนักก็จะขอเข้าพบกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเร็ว เพื่อหารือว่าจะดูแลอย่างไร ให้ไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก เพราะหากยืดเยื้ออาจกระทบต่อเป้าส่งออกไทยที่ปีนี้คาดว่าจะโตได้2-3% และมองว่าค่าเงินบาทไม่ควรแข็งค่าเกิน 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

หอฯจะเข้าพบเพื่อหารือกับ รัฐมนตรีทุกกระทรวงและทีมกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่คาดว่าหลังประชุมนัดแรกวันที่ 24 ก.ย.นี้

นายสนั่น กล่าวอีกว่า เห็นด้วยกับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ที่จะช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะเป็น มาตรการที่กระทบต่อคนส่วนใหญ่ทั้งการลดค่าใช้จ่าย และมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ

การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านเงิน 1 หมื่นบาท ในระยะเร่งด่วนโดยช่วยกลุ่มเปราะบาง จะทำให้เกิดการใช้จ่ายทันที

สำหรับมาตรการ ระยะสั้น หอการค้าฯ ยังเห็นว่าสามารถดึงกำลังซื้อจากประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ โดยได้เสนอโครงการคูณสอง ดึงกำลังซื้อจากประชาชนโดยรัฐมีส่วนสนับสนุนกึ่งหนึ่ง ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้สูง ยังอยากเห็นการนำเอามาตรการจูงใจทางภาษี เช่น Easy E-Receipt เข้ามากระตุ้นการจับจ่ายในช่วงที่เหลือของปี โดยใช้งบประมาณภาครัฐไม่มาก แต่กระตุ้นกำลังซื้อและดึงเงินประชาชนที่มีความพร้อมใช้จ่าย จะช่วยดึงเศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว ควรเร่งทำทันทีก่อนเข้าเทศกาลปีใหม่

ขณะที่มาตรการสำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการเร่งแก้หนี้ ทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะหนี้ที่เป็นอุปกรณ์ทำมาหากินของผู้ประกอบการรายย่อย เช่น รถกระบะที่มีแนวโน้มถูกยึดสูง รัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการเฉพาะเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มนี้ให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินได้

ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว เช่น หนี้นอกระบบ หอการค้าฯ มีแผนที่จะเข้าพบนายพิชัย ชุณหวชิระรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อพูดคุยและหาแนวทางที่เหมาะสมในการออกมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

นอกจากนี้ อยากฝากถึงรัฐบาลในการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 และ 2568 โดยเฉพาะงบการลงทุนและก่อสร้าง ส่วนนี้จะมีส่วนสำคัญในการช่วยให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ ทั้งนี้ ภาคเอกชนในนาม กกร. กำลังจัดทำสมุดปกขาวเพื่อยื่นให้นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล เพื่อการผลักดันตามข้อเสนอของภาคเอกชน คาดยื่นภายใน 2 สัปดาห์จากนี้

ด้านนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยได้รับการร้องเรียนและข้อเสนอจากสมาคมและผู้ส่งออกจำนวนมาก ประสานให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย สร้างสมดุลค่าเงินบาทกับประเทศคู่ค้าคู่แข่งไม่ให้มีช่องห่างแข็งค่าสองเกินไป

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

โดยนับจากปี 2540 เป็นครั้งแรกที่ค่าเงินบาทแข็งค่ารวดเร็ว รุนแรง ในระยะเวลาสั้นๆ และแข็งค่าเกินสถานการณ์ที่ควรเป็น และยังไม่ทราบว่า ทิศทางค่าเงินบาทจะแข็งค่านานเพียงใด ซึ่งหากเทียบต้นปีนี้ค่าบาทอยู่ที่ 37 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แต่วันนี้บาทอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับแข็งค่าแล้ว 14-15% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก และภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ

"เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น ค่าใช้จ่ายสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะสูงขึ้นตาม ทำให้การท่องเที่ยวไทยกลายเป็นจุดหมายที่มีราคาสูง และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาไทยจะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เพราะรู้สึกว่าสินค้าและบริการแพงขึ้นกว่าปกติและอาจจะเลือกไปยังประเทศที่มีค่าเงินอ่อนกว่าและคุ้มค่ามากกว่า"

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอีกว่า หากค่าเงินบาทแข็งค่าเฉลี่ย 1% ต่อปี กระทบรายได้ผู้ประกอบการในภาคการส่งออกเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี อาจมีผลกระทบต่อรายได้ผู้ส่งออกเกือบ 1 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นกว่า 0.5% ของ GDP ปกติ

ค่าเงินบาทที่ผันผวนในปัจจุบันจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยโดยทันที โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลัก หรือ Local Content อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร

ทั้งนี้การที่ค่าเงินบาทผันผวนจะส่งผลกระทบใน 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ขีดความสามารถในการแข่งขัน ค่าเงินบาทที่ผันผวนจะทำให้ลดขีดความสามารถในการส่งออกเป็นมาก โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิตที่ใช้ในอุตสาหกรรมเกษตรและประมงจะปรับสูงขึ้นทันที 10 % ส่งผลให้ผู้ผลิตและแปรรูปในไทยอาจต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตาม ซึ่งจะทำให้ลดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก เนื่องจากผู้ซื้อจะหันไปหาสินค้าจากประเทศอื่นที่มีราคาถูกกว่า

การวางแผนการผลิตและการตลาด หากค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตและแปรรูปอาจไม่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดหรือการผลิตได้ทันเวลา ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และความไม่แน่นอนและเพิ่มความเสี่ยงทางธุรกิจส่งออกเนื่องจากความผันผวนของค่าเงิน ความผันผวนของค่าเงินสร้างความไม่แน่นอนในตลาด การลงทุนและการวางแผนธุรกิจจะยากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการไม่กล้าลงทุนในโครงการใหม่หรือขยายตลาด ส่งผลให้ขาดโอกาสในการพัฒนาและเติบโตในอุตสาหกรรมของไทยอย่างเหมาะสม

หอการค้าฯ จึงขอให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่กำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ผันผวนอย่างรุนแรงจนเกินไป และดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคา

และส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ มีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพื่อหาจุดแข็งและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตนเอง ตลอดจนการสร้างความยั่งยืนและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางการค้า โดยมีภาครัฐเป็น Facilitator และต้องหารือร่วมกับเอกชนอย่างต่อเนื่อง

อีกทั้งจะต้องแบกรับการปรับค่าแรงงาน 400 บาท นั้น ภาคเอกชนเรามองว่าปีนี้ไม่ควรที่จะขยับค่าจ้างแรงงานแล้ว เพราะปีนี้ได้ปรับมาแล้ว 2 รอบ และสภาพธุรกิจและตลาดการค้ายังไม่เอื้ออำนวย ที่จะปรับค่าแรง หรือแบกรับค่าใช้จ่ายใดๆที่เพิ่มขึ้น แม้มองว่าบาทแข็งดีต่อนำเข้า แต่ต้องดูเรื่องภาระในประเทศที่เพิ่มขึ้น การผลิตเพื่อส่งออกแต่ได้รับรายได้ลดลงจากค่าบาท และยังต้องแข็งขันได้ยากกับประเทศที่ค่าเงินเขาไม่ได้แข็งกว่าไทย หรือ อ่อนค่ากว่า

ส่วนมาตรการดูแลบาท ทางการคลังและการเงินต้องหารือกัน เอกชนเราไม่รู้หลอกว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เรารู้ว่าเมื่อบาทแข็งกว่าประเทศอื่น เราเหนื่อยต่อการเจรจาและคุมราคาขาย เพื่อไม่เกิดการขาดทุนในอนาคต ปีนี้อาจรอดแต่ปีหน้าจะแย่ตั้งแต่ไตรมาสแรกได้ ค่าบาทยังแข็งและรัฐไม่ถอยเรื่องปรับค่าแรงงาน 400 บาท ควรยึดความเห็นไตรภาคี

ทั้งนี้ หอการค้าฯ ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสินค้าราคาถูก ไม่มีคุณภาพที่ไหลทะลักเข้ามาในประเทศ สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

โดยได้หารือและอยู่ระหว่างการประสานความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ในการติดตามดูแลสินค้าไทย-จีน และจัดทำโครงสร้างการค้าที่เป็นธรรมทั้ง 2 ประเทศ เป็นต้น

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ขณะที่นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การประเมินเบื้องต้น หากค่าเงินบาทยังแข็งค่าเฉลี่ย 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จะกระทบต่อรายได้ภาคส่งออกและท่องเที่ยวประมาณ 1.3 แสนล้านบาท นับจากเดือนพ.ค.-ธ.ค. 2567

ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจโลก โดยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกลงแบบเร็ว-แรงที่ 0.50% จากอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5.25-5.50% สู่ 4.75-5.00% ซึ่งหอการค้าฯ เห็นว่าน่าจะถึงเวลาที่ กนง. ควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทไม่แข็งค่าจนเกินไป ซึ่งจะช่วยเอื้อให้ผู้ประกอบการภาคการส่งออก และภาคท่องเที่ยวและบริการ สามารถที่แข่งขันได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับความกังวลของภาคเอกชนในการติดตามอัปเดตสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น หอการค้าไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินมูลค่าความเสียหายกรณีสถานการณ์น้ำท่วม ปี 2567 ประมาณ 21,577 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 0.12% ของ GDP (ข้อมูล ณ 18 ก.ย.67) (สมมติให้สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายภายใน 15 วัน)

ทั้งนี้ จากการประเมิน พบว่า ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมถึง 18,226 ล้านบาท รองลงมาเป็นภาคบริการ เสียหาย 3,260 ล้านบาท และภาคอุตสาหกรรมเสียหาย 91 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในหลายจังหวัดเริ่มคลี่คลายจากระดับน้ำที่ลดลง ดังนั้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญทันทีหลังสถานการณ์ระดับน้ำลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติ คือ การช่วยเหลือ ซ่อมแซม และฟื้นฟู

อ่านข่าว:

ประชาชน 99.05% หนุน "หวยเกษียณ" คลังชง ครม.ช่วง ต.ค.นี้ 

น้ำท่วมไม่กระทบ ! จับตา”ข้าวไทย”เสี่ยงเสียแชมป์ “เวียดนาม”

ITD ระดมสมองผู้นำรัฐ-เอกชน ทำแผนขับเคลื่อน 4 อุตสาหกรรม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง