วันนี้ (24 ต.ค.2567) หลังจากน.ส.แพทองธารชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงขอโทษที่ทำเนียบรัฐบาล กรณีคดีตากใบที่จะหมดอายุความในวันพรุ่งนี้ (25 ต.ค.) ซึ่่งครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ พร้อมกับระบุถึงกรณีที่ไม่สามารออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อต่ออายุความในคดีสลายการชุมนุม เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญ
- "แพทองธาร" ขอโทษคดีตากใบ-ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ออกพ.ร.ก.
- แสงสุดท้าย "ตากใบ" โศกนาฏกรรม ในวันคดีใกล้หมดอายุความ
หนังสือสรุปที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อ 24 ต.ค.2567
เรื่องขอหารือประเด็นการออกพระราชกำหนดเพื่อต่ออายุความในคดีสลายการชุมนุมหน้าสถานี ตำรวจภูธรตากใบ จ.นราธิวาส ส่่งให้กับสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เนื้อหาอ้างถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีขอหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า การออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อต่ออายุความในกรณีดังกล่าวนั้นสามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอเรียนในหลักการว่า การตรากฎหมายตาม
รัฐธรรมนูญ อันมีผลเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลนั้น โดยหลักต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
ส่วนการตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เป็นข้อยกเว้น และเมื่อเป็นข้อยกเว้นแล้ว
การดำเนินการจึงต้องยึดตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ โดยเคร่งครัด มิฉะนั้นจะเป็นการตราพระราชกำหนดที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ บัญญัติให้ตรา พ.ร.ก.ได้เฉพาะ 2 กรณีเท่านั้น
แจงปมตรา พ.ร.ก.ไม่เข้าเกณฑ์รัฐธรรมนูญ
โดยกรณีที่หนึ่ง เป็นไปตาม มาตรา 192 กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วน อันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย
สาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
ส่วนกรณีที่สอง เป็นไปตามมาตรา 174 กล่าวคือ ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากร หรือเงินตรา ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน
นอกจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรา พ.ร.ก.ที่ต้องปรากฎโดยชัดแจ้งตามที่กล่าวมาแล้ว พ.ร.ก.ที่จะตราขึ้นย่อมต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ตามนัยมาตรา 26 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญด้วย
กรณีที่หารือว่าการตรา พ.ร.ก.เพื่อต่ออายุความในกรณีดังกล่าวสามารถกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อพิจารณาจากหลักการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
ข้างต้นแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า
กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการตรา พ.ร.ก.ตามมาตรา 172 และมาตรา 174 ส่วนเนื้อหาที่เป็นการต่ออายุความเฉพาะคดี อันเป็นการตรากฎ หมายขึ้น เพื่อให้บังคับใช้แก่คดีดังกล่าวเป็นการเฉพาะ ไม่ได้มุ่งหมายที่จะขยายอายุความในคดีลักษณะเดียวกันเป็นการทั่วไป จึงไม่สอดคล้องกับมาตรา 26 วรรคสอง
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังอาจเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลตามมาตรา 27 วรรคสามของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและหลักกฎหมายอาญาญาญาสากลด้วย
อ่านข่าว
ทหาร-มท.1 ห่วงมือที่สาม ป่วนภาคใต้ ก่อนคดีตากใบหมดอายุความ
ระเบิดใกล้ที่ว่าการอำเภอ-สภ.ปะนาเระ อาคารเสียหาย ไม่มีคนเจ็บ