หน่วยปฏิบัติการพิเศษจังหวัดนราธิวาส เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ 22 นาย ดูแลความความปลอดภัยพื้นที่ศาลจังหวัดนราธิวาส ซึ่งจะมีการแถลงปิดคดีตากใบในวันนี้ (28 ต.ค.) ขณะที่ "รอมฎอน" เดินหน้าหลังยื่นญัตติด่วนในสภาฯ โอน กมธ.ทหาร ศึกษาแนวทางเยียวยาฟื้นฟูเพิ่มเติม
วานนี้ (30 ต.ค. 67) พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีคดีตากใบหมดอายุความ แต่ตำรวจไม่สามารถตามตัวจำเลยมาดำเนินคดีได้ โดยยืนยันว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปี ของคดีตากใบ ตำรวจดำเนินการทุกวิถีทางแล้ว ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า หลังคดีหมดอายุความเพียง 2 วัน หนึ่งในผู้ถูกออกหมายจับ ซึ่งเป็นปลัดอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม กลับมาปฏิบัติหน้าที่ โดยที่ก่อนหน้านี้ตำรวจไม่สามารถติดตามตัวได้ ผบ.ตร. ยอมรับว่า อาจทำให้เกิดข้อครหา หรือการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ แต่ยืนยันว่า ตำรวจทำเต็มที่แล้ว และขอประชาชนอย่านำเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียวมาชี้วัดการทำงานของตำรวจ
วันนี้ (29 ต.ค. 67) ผศ. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวกรณีคดีตากใบหมดอายุความ 20 ปี ไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 67 โดยไม่สามารถตามตัวจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้เลย ว่า กฎหมายไทยไม่สากล ในต่างประเทศอย่างญี่ปุ่น หากจำเลยหลบหนีคดีอายุจะความหยุดทันที “อายุความในต่างประเทศคือการเร่งรัดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเร่งดำเนินคดี มุ่งคุ้มครองเหยื่อ ไม่ใช่คุ้มครองผู้ต้องหา ของไทยแม้จำเลยหนี อายุความยังนับต่อ ยิ่งส่งเสริมการหนีคดี พอหมดอายุความก็กลับมาทำงานใหม่ เป็นเรื่องต้องแก้ไข” ส่วนกรณีการหยุดอายุความกฎหมายตอนนี้ที่มีนั้น ผศ. ปริญญา กล่าวว่า ต้องกรณีคอร์รัปชันที่ ป.ป.ช. ฟ้อง แต่ในคดีอาญา หากจะให้หยุดอายุความ ต้องแก้มาตรา 95 แต่แก้แล้วจะให้มาใช้กับกรณีตากใบ คงยาก เพราะขาดอายุความไปแล้ว “แม้คดีตากใบขาดอายุความไปแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าศาลยกฟ้อง และแม้ตามหลักของรัฐธรรมนูญยังระบุว่าอดีตจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา แต่การที่จำเลยหนีคดีจนทำให้อายุความขาด ก็เป็นมลทินที่เขาหนีคดี” ผศ. ปริญญา กล่าวอีกว่า เสนอให้แก้ มาตรา 95 ในกฎหมายอาญาของไทย แนวทางที่ 1.อาจให้หยุดอายุคดีอาญาลง ถ้าศาลรับฟ้องแล้ว หรือจำเลยหนี หรือ 2.คดีคอร์รัปชัน หรือคดีที่เป็นความผิดต่อประชาชน ต่อประเทศ ต้องไม่มีอายุความ อย่างไม่ว่าเวลาจะผ่านไป 30-40 ปี หากจับตัวได้ ก็ต้องนำมาดำเนินคดี
ชวนคุยประเด็นร้อน...วันสุดท้ายก่อน "คดีตากใบ" หมดอายุความ "ร่าง พรบ.ประชามติ - แก้รัฐธรรมนูญ - ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม" 3 เรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องขับเคลื่อน แต่เพื่อไทยโหวตคว่ำ "รายงานศึกษานิรโทษกรรม" ที่เสนอโดยเพื่อไทย ! สารพัด "คำร้องยุบพรรค" กับระเบิดรอบตัวเพื่อไทย แล้วออปชัน "ยุบสภา" จะมีอะไรบ้าง
วานนี้ (28 ต.ค. 67) ศาลจังหวัดนราธิวาส พิจารณาคดีตากใบนัดสุดท้าย จำหน่ายคดีหลังหมดอายุความ ซึ่งครอบครัวผู้สูญเสีย คดีตากใบ ระบุว่า ชาวบ้านได้ลุกขึ้นมาต่อสู้อย่างเต็มที่ ด้วยกระบวนการยุติธรรมแล้ว แต่ผู้ต้องหาไม่มามอบตัว แต่กลับแสดงตัว หรือกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หลังคดีหมดอายุความแล้ว สะท้อนให้เห็นระบบความยุติธรรมแบบไทย ๆ ที่คนที่ก่อคดีทำให้มีผู้เสียชีวิต สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ เมื่อหนีจนคดีหมดอายุความ
วันนี้ (28 ต.ค. 67) รศ. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มองคดีตากใบที่หมดอายุความ 20 ปี ไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. ที่ผ่านมา ไม่สามารถตามตัวคนกระทำผิดซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ แต่กลับคดีชุดมลายู ที่หน่วยงานความมั่นคงฟ้อง 9 แกนนำนักกิจกรรม อีกไม่กี่วันจะมีการพิจารณาจะฟ้องร้องหรือไม่นั้น ทำให้ถูกประชาชนมองว่า รัฐกำลังเลือกปฏิบัติในการใช้กฎหมายหรือไม่ และทำให้ไม่ไว้ใจกระบวนการยุติธรรม แต่ทั้งนี้ เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่อยากให้เหมารวมหรือตีตราว่าเป็นการแก้แค้นจากคดีดังกล่าว เพราะไม่มีสัญลักษณ์ที่อยากแก้แค้นในคดีดังกล่าว แต่อาจฝีมือจากบุคคลที่ 3 ก็ได้
รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง นายภูมิธรรม เวชยชัย ยอมรับว่า เป็นห่วงเหตุความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หลังคดีตากใบหมดอายุความ จึงมีข้อกำชับให้เจ้าหน้าที่ เฝ้าระวังสถานการณ์ ไม่เพียงแต่พื้นที่ภาคใต้ แต่ยังหมายถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่ต้องเฝ้าระวังการเคลื่อนไหวแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ชมคลิปข่าวเที่ยงที่ www.thaipbs.or.th/program/Middaynews/videos/clip