เหตุการณ์ตากใบ 2547 เป็นหนึ่งในเหตุความรุนแรงนำไปสู่การสูญเสียชีวิตของประชาชนถึง 85 คน จนถึงขณะนี้ทั้งครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้รอดชีวิต ต่างยังคงต่อสู้เพื่อความยุติธรรม แม้เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี แต่การเรียกร้องยังคงไม่สิ้นสุด และดูเหมือนไม่มีใครถูกดำเนินคดี
"แพทองธาร" ขอโทษคดีตากใบ ยันรัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ แจงเหตุไม่เข้าเกณฑ์ออก พ.ร.ก.เพื่อต่ออายุไม่ได้ ชี้ไม่เข้าเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ ขณะที่ "ภูมิธรรม" ย้ำ เมื่อคดีหมดอายุความทุกอย่างก็ต้องจบไปตามกฎหมาย ย้ำ สมัย "พล.อ.สุรยุทธ" เป็นนายกฯ สั่งยกเลิกคดีไปหมดแล้ว
งงกับ พ.ร.บ. และ พ.ร.ก. กันใช่ไหม ? ความต่างของทั้งสองคืออะไร ? แม้จะเป็น "กฎหมาย" แต่กระบวนการและเหตุผลในการตรากฎหมายต่างกันอย่างสิ้นเชิง พ.ร.บ. ต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาอย่างละเอียด แต่ พ.ร.ก. ออกโดยรัฐบาลหรือ ครม.เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
พรุ่งนี้ (25 ต.ค. 67) คดีตากใบจะหมดอายุความแล้ว ที่หมายถึงการรอคอย 20 ปี ของครอบครัวผู้เสียสูญเสีย ว่าจะนำตัวผู้ต้องหาในคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้หรือไม่ ขณะที่ ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ยกระดับรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
แม้เหลืออีก 3 วัน "คดีตากใบ" จะหมดอายุความ แต่ รศ.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านการต่างประเทศและการเมือง เชื่อว่ายังทันหากจะนำตัวจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งนอกจากขั้นตอนของตำรวจสากล ยังมีช่องทางพิเศษคือการแลกเปลี่ยนผู้ต้องหาระหว่างกัน แต่ทั้งหมดนี้ ต้องอาศัยความจริงใจ และความรับผิดชอบของรัฐบาล
รศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ จากคณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มองฉากทัศน์หลัง "คดีตากใบ" หมดอายุความ หากไม่มีจำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม อาจจะทำให้ความเชื่อมั่นของคนในพื้นที่ต่อรัฐบาลลดน้อยลง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชาติ