ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิชาการประเมินทิศทางเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 ชี้สูสีสุดเป็นประวัติการณ์

การเมือง
6 พ.ย. 67
09:43
0
Logo Thai PBS
นักวิชาการประเมินทิศทางเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 ชี้สูสีสุดเป็นประวัติการณ์
นักวิชาการประเมิน การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สูสีที่สุดเป็นประวัติการณ์ ระบุ มีรัฐสวิงสเตท 7 รัฐที่เป็นตัวตัดสิน ขณะที่ประเด็นผู้อพยพโจทย์ใหญ่กำหนดอนาคตผู้นำสหรัฐฯ

วันนี้ (6 พ.ย.2567) ศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่าสหรัฐอเมริกา มี 50 รัฐ โดยประมาณ 40 รัฐ ที่เลือกพรรคพรรคเดโมแครต และ พรรคริพับลิกัน แน่ๆ นอกจากนี้มีรัฐสวิงสเตท 7 รัฐ โดยในการเลือกตั้ง 2-3 ครั้งที่ผ่านมามีการกลับไปกลับมาใน 7 รัฐนี้ ซึ่งเมื่อปี 2016 โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นฝ่ายชนะ แต่ในปี 2020 โจ ไบเดน ชนะ ซึ่งทำให้ประเมินได้ยากว่าใน 7 รัฐนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ

อ่านข่าว : เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หมู่บ้านแรกนับคะแนน "ทรัมป์-แฮร์ริส" เท่ากัน

ศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 สูสีที่สุดเป็นประวัติการณ์

สำหรับผลโพลโดยรวมทั้งประเทศ ทุกสำนักให้ คามาลา แฮร์ริส มีคะแนนนำนิดหน่อย แต่ไม่ใช่ตัวตัดสิน ซึ่งตัวตัดสินคือสวิงสเตท 7 รัฐนี้ที่เฉือนกันไปมา เป็นที่น่าสังเกตว่า จากผลโพลที่ไปสำรวจ คนอเมริกันจำนวนหนึ่งไม่บอกว่าเลือกใครจริงๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลโพลคาดเดายาก และมองว่าสูสี

ส่วนปัจจัยที่ทำให้คนอเมริกันออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเยอะมาก กว่า 82 ล้านเสียง ซึ่งคาดว่าเป็นผลพวงจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ที่เกิดในช่วงโควิด-19 ทำให้คนประชาชนปรับตัวในการให้ใช้บัตรทางไปรษณีย์ได้ และครั้งนี้หลายรัฐได้เปลี่ยนกติกาให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งล่วงหน้าด้วยตัวเอง ทำให้ในวันเลือกตั้งจริงคนไม่แออัด ซึ่งอาจจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้คงไปเลือกตั้งมากกว่าครั้งที่แล้วหรือไม่ ซึ่งการเลือกตั้งล่วงหน้าครั้งที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 60-70 ล้านคน 

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้เป็นตัวแทนของพรรคริพับลิกัน ทั้งนี้แกนนำหลายคนไม่ได้พอใจทรัมป์ ทั้งนี้มองว่า ทรัมป์ แทบจะเป็นผู้นำลัทธิ ซึ่งเมื่อไปสำรวจคนริพับลิกันปรากฏว่าไม่มีใครสู้ทรัมป์ได้เลย อย่างครั้งนี้ทรัมป์ก็มาโดยการทำไป primary election ดังนั้นในระบบพรรคการเมืองอเมริกันไม่มีหัวหน้าพรรค ทุกคนต้องผ่านมาเลือกตั้งสมรภูมิ ซึ่ง ทรัมป์ ก็ชนะเลือกตั้งมาโดยตลอด ในแง่ดีคือ ทรัมป์ จะคุ้นเคยกับประชาชน ดังนั้นฐานเสียงของทรัมป์จะมีประมาณ 30%ในขณะที่แฮร์ริสไม่ได้ผ่าน Primary election เพราะขึ้นแทนไบเดน ซึ่งจะทำให้คนจำนวนหนึ่งไม่รู้จักแฮร์ริสดีพอ

ศ.ดร.สิริพรรณ ยังประเมินว่า ส่วนเรื่องเพศในที่สุดจะเป็นประเด็นหัวใจที่เป็นตัวตัดสิน และแฮร์ริสเองจะดึงพลังหญิงมาสู้กับทรัมป์ได้หรือไม่ และทรัมป์เองมีจุดยืนที่ค่อนข้างชัดเจนที่ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง แม่จะบอกว่าไม่ได้คัดค้านก็ตาม ซึ่งผู้หญิงจำนวนไม่น้อยจะมองว่าทรัมป์เป็นตัวปัญหาในการตัดสินใจในการเลือกชีวิตของตนเอง ทำให้แง่หนึ่งอาจจะส่งผลกับแอร์ริส แต่จะมีผู้ชายจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะกลุ่มคนที่เคร่งศาสนามองว่าสิทธิ์ของผู้หญิงที่มากเกินไป จะไปลดทอนสิทธิ์ของผู้ชาย

อ่านข่าว : สหรัฐฯ-จีน โจทย์ท้าทายประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 47

ประเด็น "ผู้อพยพ" โจทย์ใหญ่กำหนดอนาคตผู้นำสหรัฐฯ

การเลือกตั้งครั้งนี้จะซับซ้อนกว่าครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแอร์ริสเป็นลูกครึ่งอินเดียกับจาเมกา ในแง่หนึ่งมองว่าคนกลุ่มน้อยจะเทคะแนนให้ แต่เมื่อใกล้ถึงวันเลือกตั้งความไม่ชัดเจนเริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนอพยพที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาที่ถูกกฎหมาย มองว่า แฮร์ริส และรัฐบาลไบเดน ไม่มีความเด็ดขาดมากพอในการจัดการปัญหาผู้อพยพ ซึ่งมองว่าพันธมิตรเดิมของเดโมแครตเปลี่ยนไป และพันธมิตรเดิมของทรัมป์ อาจเทใจจากทรัมป์มาเลือกแฮร์ริสได้เช่นกัน

อ่านข่าว :

เปิดประวัติ "คามาลา แฮร์ริส" ตัวเต็งชิงเก้าอี้ ปธน.สหรัฐฯ

"พิธา" มองนโนบายเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 ไทยได้ทั้งประโยชน์-ความเสี่ยง 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง