กรณี OPPO และ Realme ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ ติดตั้งแอปพลิเคชันสินเชื่อที่สร้างความเสียหายให้กับผู้บริโภคจำนวนมาก จนล่าสุดได้ระงับใช้แอปพลิเคชัน Fineasy และสคบ.เรียก 2 บริษัทมือถือแจง
วันนี้ (15 ม.ค.2568) บริษัท ออปโป้ ไทยแลนด์ จำกัด ส่งอีเมล์ แจ้งสื่อมวลชน ยกเลิกงานเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่กะทันหัน ก่อนงานจะเริ่มเพียง 15 นาที โดยไม่แจ้งเหตุผล และไม่แจ้งกำหนดจัดงานใหม่ ซึ่งเดิมงานนี้จะมีผู้บริหารของออปโป้ มาร่วมเปิดตัวด้วย
ขณะที่ในร้านค้าทางการของออปโป ไม่ว่าจะทางลาซาด้า หรือช้อปปี้ จะไม่สามารถดูข้อมูลโทรศัพท์รุ่นต่างๆ ที่วางขายได้ มีแค่ข้อมูลเตรียมเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ แต่เหลือแค่รุ่นเดียวที่ยังขายอยู่ทางช้อปปี้
พร้อมทั้งมีแถลงการณ์ไทม์ไลน์ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสัญญาว่าพรุ่งนี้ (16 ม.ค.) จะปล่อยอัปเดตทาง OTA เพื่อถอนการติดตั้งแอปโดยไม่ต้องไปที่ศูนย์บริการ
อ่านข่าว กสทช.ขีดเส้น OPPO-Realme ลบแอปฯ กู้เงิน 16 ม.ค.นี้
โดยผลกระทบชัดเจนที่เกิดขึ้น หลังจาก OPPO และ Realme เข้าให้ข้อมูลกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา และได้รับการขอความร่วมมือให้งดจำหน่ายโทรศัพท์รุ่นที่มีการติดตั้งแอปสินเชื่อความสุข และฟินอีซี
นายอนุพงษ์ เจริญเวช ผอ.ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ชี้แจงว่า ตัวแทนทั้ง 2 บริษัท ยังไม่ได้ให้ข้อมูลในเชิงลึก ยังไม่สามารถสรุปตัวเลขผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน ทั้ง Fineasy และสินเชื่อความสุข
อ่านข่าว เปิดแนวทางเอาผิด OPPO-Realme ติดตั้งแอปฯ กู้เงิน
ส่วนประเด็นที่ค่ายมือถือ อ้างว่า แอปพลิเคชันเงินกู้ ถูกติดตั้งมาจากโรงงานผลิตในจีน นายอนุพงษ์ บอกว่า สคบ.ยังไม่ปักใจเชื่อ และกำลังศึกษากฎหมายว่า หน่วยงานของไทย สามารถเชิญผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน ในต่างประเทศ มาให้ข้อมูลได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ บริษัทตัวแทนในไทย ต้องรับผิดชอบ
ทาง สคบ.ให้มือถือทั้ง 2 ยี่ห้อ ตรวจสอบว่ามีโทรศัพท์มือถือ ที่ติดตั้งแอปฯ เงินกู้กี่เครื่อง เพราะขณะนี้มีผู้เสียหายร้องเรียนกับ สคบ.แล้ว 10 คน เป็นกลุ่มที่มีแอปพลิเคชันติดมากับเครื่อง ไม่สามารถลบออกได้ จึงกังวลว่า จะถูกนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่ผิด
วันนี้ น.ส.จิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นัดตัวแทนบริษัท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือ ซึ่งสคบ.จะนำข้อมูลที่ได้วันนี้ไปชี้แจง และได้เชิญปคบ.มาร่วมหารือด้วย เพื่อดูข้อกฎหมาย ดำเนินการกับคนปล่อยกู้ และพิจารณาเรื่องการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดด้วย
สำหรับการติดตั้งแอปพลิเคชันจากโรงงานของโทรศัพท์มือถือ เป็นประเด็นในโลกตะวันตกจากความกังวลก็คือเรื่องความเป็นส่วนตัว เนื่องจากแอปจะเก็บข้อมูลการใช้งานไว้
เมื่อช่วงเดือน ก.พ.2566 มีการเปิดเผยผลการวิจัยของทีมวิจัย 3 คน จากมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ ร่วมกับนักวิจัย ม.ทรินิตี้ ศึกษามือถือ 3 ค่าย คือ วันพลัส เสี่ยวมี และออปโป เรียลมีพบว่า มือถือทั้ง 3 ยี่ห้อนี้มีการลงแอปในตัวเครื่อง และเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าในประเทศจีนไว้เยอะมาก
ข้อมูลที่เก็บมีตั้งแต่เลขอิมมี่เครื่อง สัญญาณจีพีเอส ข้อมูลผู้ใช้งานอย่างหมายเลขโทรศัพท์ รูปแบบการใช้งานแอปพลิเคชัน การส่งข้อมูลระยะไกลของแอป ประวัติการโทร ประวัติข้อความ
และเมื่อนำเครื่องออกนอกประเทศ แอปก็ยังคงเก็บข้อมูล และถึงขั้นติดตามโลเคชั่นของผู้ใช้งานแต่ละคนได้ ไม่ใช่แค่เป็นการเก็บจากตัวแอปที่ติดตั้งจากโรงงานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ให้บริการเครือข่าย ก็เก็บข้อมูลลักษณะนี้ด้วยเช่นกันจะมีซิมการ์ด หรือไม่มีซิมการ์ดก็สามารถเก็บข้อมูลได้
พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท
มือถือฝังแอปฯ กู้เงิน เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.คอม
.) กล่าวว่า ผลตรวจสอบแอปพลิเคชันเงินกู้ ถูกติดตั้งมากับ "ตัวปฏิบัติการคัลเลอร์โอเอส" ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่กำหนดเอง พัฒนาโดยบริษัทมือถือ ซึ่งพฤติการณ์ที่พบเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 13 จำหน่ายหรือเผยแพร่ ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้น โดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกิน 20,000