ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปลาหมอคางดำ 4n ส่งผสมพันธุ์ให้ลูกเป็นหมันตัดวงจรแพร่ระบาด

Logo Thai PBS
ปลาหมอคางดำ 4n ส่งผสมพันธุ์ให้ลูกเป็นหมันตัดวงจรแพร่ระบาด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ข่าวดีทีมวิจัยกรมประมง ผลิตปลาหมอคางดำ 4n เพื่อผสมพันธุ์ปลาหมอคางดำ 2n ให้ลูกเป็นหมัน สำเร็จเป็นครั้งแรก

วันนี้ (6 ก.พ.2568) นายอัครา พรหมเผ่า รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ กล่าวว่า หลังจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ พ.ศ.2567–2570

ขณะนี้กรมประมงประสบความสำเร็จในโครงการวิจัยการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำ โดยใช้เทคนิคการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซมจากเดิมที่มีจำนวนชุดโครโมโซมตามธรรชาติ 2 ชุด หรือ 2n ให้เป็นปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด หรือ 4n

ทีมวิจัยกรมประมง ประสบความสำเร็จในการผลิตปลาหมอคางดำ 4n เพื่อผสมพันธุ์ปลาหมอคางดำ 2n ให้ลูกเป็นหมันสำเร็จเป็นครั้งแรก

ทีมวิจัยกรมประมง ประสบความสำเร็จในการผลิตปลาหมอคางดำ 4n เพื่อผสมพันธุ์ปลาหมอคางดำ 2n ให้ลูกเป็นหมันสำเร็จเป็นครั้งแรก

ทีมวิจัยกรมประมง ประสบความสำเร็จในการผลิตปลาหมอคางดำ 4n เพื่อผสมพันธุ์ปลาหมอคางดำ 2n ให้ลูกเป็นหมันสำเร็จเป็นครั้งแรก

โดยจะนำปลาหมอคางดำ 4n ตัวผู้ ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำเพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำซึ่งมีชุดโครโมโซม 2n ในธรรมชาติ และลูกปลาหมอคางดำที่ได้จากการผสมในลักษณะนี้ จะได้ลูกปลาที่มีชุดโครโมโซม 3 ชุดหรือ 3n มีลักษณะที่เป็นหมันไม่สามารถสืบพันธุ์ได้

สำหรับการดำเนินการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซมปลาหมอคางดำในครั้งนี้ ใช้การเหนี่ยวนำด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 40 °C เป็นระยะเวลา 5 นาที เวลา 80 นาทีหลังผสม ได้ปลาหมอคางดำอายุ 3 เดือนจำนวน 1,112 ตัว มีจำนวนปลาหมอคางดำที่มีขนาดที่เหมาะสมสำหรับติดเครื่องหมาย PIT tag ได้ 703 ตัว

อ่านข่าว ฟ้องเอาผิด “ปลาหมอคางดำ” ระบาด เรียกค่าเสียหาย 2.4 พันล้าน

ตรวจจำนวนชุดโครโมโซมด้วยเครื่อง flow cytometer พบรูปแบบที่มีการแสดงผลเป็นโครโมโซม 4n จำนวน 20 กลุ่มตัวอย่าง

ตรวจจำนวนชุดโครโมโซมด้วยเครื่อง flow cytometer พบรูปแบบที่มีการแสดงผลเป็นโครโมโซม 4n จำนวน 20 กลุ่มตัวอย่าง

ตรวจจำนวนชุดโครโมโซมด้วยเครื่อง flow cytometer พบรูปแบบที่มีการแสดงผลเป็นโครโมโซม 4n จำนวน 20 กลุ่มตัวอย่าง

รวมทั้งเก็บตัวอย่างเลือดด้วยวิธี pool sample ทั้งหมด 135 กลุ่มตัวอย่าง จากปลาหมอคางดำ 551 ตัว เพื่อตรวจจำนวนชุดโครโมโซมด้วยเครื่อง flow cytometer พบรูปแบบที่มีการแสดงผลเป็นโครโมโซม 4n จำนวน 20 กลุ่มตัวอย่าง ตรวจสอบยืนยันจำนวนโครโมโซมรายตัวเรียบร้อย 1 กลุ่มตัวอย่าง

ขณะนี้ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี จ.เพชรบุรี อยู่ระหว่างตรวจสอบยืนยันผลรายตัวจนครบ 20 กลุ่มตัวอย่าง ภายในเดือน มี.ค.นี้
นายอัครา พรหมเผ่า รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายอัครา พรหมเผ่า รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายอัครา พรหมเผ่า รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ขณะเดียวกันคณะทำงานได้ดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการเหนี่ยวนำโครโมโซม เพิ่มเติมจำนวน 9 รูปแบบ โดยมีการตรวจสอบจำนวนชุดโครโมโซมเป็นระยะ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มจำนวนปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซมให้เหมาะสมและเพียงพอเพื่อขยายปล่อยลงแหล่งน้ำ ควบคุมจำนวนปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติต่อไป

ด้านนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังรายงานความก้าวหน้าโครงการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ ที่ ศูนย์ วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี 

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง

โดยได้ดำเนินการปล่อยปลาหมอคางดำเพศผู้ที่มีโครโมโซม 4n เข้าผสมกับปลาหมอคางดำตัวเมียที่มีโครโมโซม 2n ในหน่วยทดลองเพื่อศึกษาการเข้าคู่ผสมพันธุ์ และความสามารถในการแข่งขันการเข้าคู่ผสมพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีชุดโครโมโซม 3n ซึ่งมีลักษณะเป็นหมันต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้มอบพันธุ์ปลากะพงขาวที่เป็นปลาผู้ล่าในธรรมชาติ ตามมาตรการเเก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ มาตรการที่ 1 ให้เกษตรกรนำไปปล่อยในเเหล่งน้ำธรรมชาติเเละบ่อที่ถูกบุกรุกเพื่อกำจัดเเละควบคุมปริมาณปลาหมอคางดำในพื้นที่เพชรบุรี

อ่านข่าว

กลับมาระบาด ชาวประมงหยุดล่าปลาหมอคางดำ เหตุไม่คุ้มทุน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง