ซีพีเอฟทำหนังสือแจงสื่อ หลังถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย 2.4 พันล้านบาทวานนี้ ว่าเป็นต้นเหตุการระบาดของปลาหมอคางดำระบาด ระบุพร้อมเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ด้าน กาย-ณัฐชาชี้เมื่อรัฐแก้ไขได้ไม่มีประสิทธิภาพ แนะให้เกษตรกรมรวมกลุ่มฟ้องแพ่งเอง
อนุกรรมาธิการ อว. เรียกสภาทนายความหารือ ความคืบหน้ากรณีฟ้องคดีแพ่ง ผลกระทบปลาหมอคางดำ ให้กับประชาชนในแต่ละจังหวัด ขณะที่การประชุมวันนี้(19 ก.ย. 67) "กรมประมง" ส่งรายงาน ยืนยันผลวิเคราะห์พันธุกรรมปลาหมอคางดำ ที่ระบาดใน 6 จังหวัด ของประเทศไทย ตรงกับดีเอ็นเอปลาหมอคางดำ จากประเทศต้นทางในแอฟริกา
ชาวประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา นำปลาชนิดต่าง ๆ รวมถึงปลาหมอคางดำ ที่จับได้ มาจำหน่ายที่ศูนย์รวมปลาน้ำจืดภาคตะวันออก ตำบลบางตีนเป็ด อ.เมือง ซึ่งเป็นจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท แต่พบว่าจำนวนปลาหมอคางดำ ที่ชาวประมงนำมาจำหน่ายมีไม่มากเหมือนปลาชนิดอื่น เนื่องจากการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังมีจำนวนไม่มาก
จากประเด็นปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำที่ได้รับการติดตามและได้รับความสนใจจากประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มแรกก็ได้รับรู้กันว่ามันสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศตามแหล่งน้ำธรรมชาติในหลายพื้นที่ และตอนนี้ก็ได้ทราบว่ามันเข้าไปสร้างปัญหาแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง กุ้ง ปู ปลา หรือกลุ่มชาวประมงท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ตามหวังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก บางรายลงทุนไปร่วมแสน แต่เก็บผลผลิตขายได้หลักพัน นอกนั้นคือปลาหมอคางดำเป็นตัน ๆ ที่ไม่มีมูลค่าอะไร แม้ตอนนี้จะยังมีการพยายามพิสูจน์ความจริงถึงต้นตอที่ทำให้พวกมันหลุดมาตามแหล่งน้ำ จนสร้างปัญหาทุกวันนี้ วันนึงเมื่อความจริงปรากฏชัด ย่อมต้องมีคนรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นให้แก่เหล่าเกษตรกรและชาวประมงที่ประสบปัญหา แต่จะใช้หลักกฎหมายอย่างไรในการดำเนินการ ร่วมพูดคุยกับ ทนายพีท พีรภัทร ฝอยทอง ชมย้อนหลังรายการ "วันใหม่วาไรตี้" ในช่วง "รู้ทันกันได้" ได้ที่ www.thaipbs.or.th/WanmaiVarietyRuTanKanDai
แม้จะมีการส่งรายงานสืบหาต้นต้อการระบาดของปลาหมอคางดำให้กระทรวงเกษตรฯแล้ว แต่อธิบดีกรมประมงปฏิเสธที่จะเปิดเผยรายละเอียด ขณะที่การรับซื้อกิโลกรัมละ 15 บาท มีคำยืนยันจากรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรว่าขั้นตอนการขายไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องยื่นหลักฐานใดๆ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวยืนยันตัวตน จนถึงตอนนี้รับซื้อไปแล้ว 2.2 หมื่นกิโลกรัม
วันนี้ (1 ส.ค. 67) เป็นวันแรก ที่มีการเปิดจุดรับซื้อปลาหมอคางดำ กิโลกรัมละ 15 บาท ผู้รับซื้อบางราย ใน จ.สมุทรสาคร สะท้อนปัญหาและเตรียมยกเลิกเข้าร่วมโครงการ เพราะขาดทุน และรอเงินจากรัฐนาน 15 วัน ขณะที่เกษตรกรต้องพลาดหวัง ตัดสินใจขายในราคา 8 บาทเช่นเคย
ครม. ทุ่มงบ 450 ล้านบาท วาง 7 มาตรการ แก้ปัญหาแพร่ระบาด "ปลาหมอคางดำ" ตั้งเป้าจบในปี 2570 โดยมีมาตรการ คือ การเร่งการจับปลาหมอคางดำ ส่งปลาผู้ล่า เช่น ปลากระพง ลงไปยังแหล่งน้ำที่พบการระบาด นำปลาหมอคางดำทำเป็นปุ๋ยหมัก น้ำปุ๋ยชีวภาพ และทำปลาร้า หรือปลาป่น ป้องกันการแพร่กระจายข้ามแหล่งน้ำ ส่วนแผนระยะกลางและระยะยาวจะใช้เทคโนโลยีด้านการเหนี่ยวนำโครโมโซมไปหมอคางดำให้เป็นหมัน